โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์การบรรลุธรรมของภิกษุณีที่ได้รับเอตทัคคะในพระพุทธศาสนาเถรวาท: กรณีศึกษาพระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี และพระกุณฑลเกสีเถรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Enlightenment of the Foremost Bhikkhunis in Theravāda Buddhism: A Case Study of Kīsa Gotami, Patācārā and Kuṇḍalakesī
  • ผู้วิจัยแม่ชีสถิตาภรณ์ กสิพันธ์
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2ผศ.พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา24/02/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50537
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 120

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาประวัติพระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรีและพระกุณฑลเกสีเถรีที่ได้รับเอตทัคคะในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การบรรลุธรรมของพระภิกษุณีที่ได้รับเอตทัคคะในพระพุทธศาสนาเถรวาท กรณีศึกษาพระกีสาโคตมีเถรี พระปฏาจาราเถรี และพระกุณฑลเกสีเถรี งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคัมภีร์ โดยศึกษาตัวอย่างพระเถรีที่ได้รับเอตทัคคะ 3 รูป จากทั้งหมด 13 รูป

           ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทคือการบรรลุในระดับ โลกุตตรธรรม 9 ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ที่พระอริยบุคคลสามารถกำจัดตัณหา ตัดกิเลส  ละสังโยชน์ รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งประวัติของพระเถรีที่มีความตั้งใจจะบวช ปรารถนาที่จะได้รับการยกย่องในเอตทัคคะและเข้าสู่นิพพาน ได้แก่ พระกีสาโคตมีเถรีบรรลุธรรมด้วยการนั่งพิจารณาแสงเปลวประทีปได้รับยกย่องเอตทัคคะฝ่ายผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง พระปฏาจาราเถรีบรรลุธรรมด้วยการยืนพิจารณาตักน้ำล้างเท้า 3 ครั้งได้รับยกย่องเอตทััคคะฝ่ายผู้ทรงพระวินัย และพระกุณฑลเกสีเถรีบรรลุธรรมด้วยการยืนพิจารณาการไหลของน้ำได้รับยกย่องเอตทัคคะฝ่ายผู้รู้ฉับพลัน คุณวิเศษที่ได้ของพระเถรีทั้ง 3 รูป คือปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The objectives of the study consisted as follows: (1) to investigate enlightenment in Theravāda Buddhism; (2) to explore the history of the foremost Kīsa Gotami, Patācārā, and Kuṇḍalakesī in Theravāda Buddhism; and (3) to analyze the enlightenment of the foremost bhikkhunis in Theravada Buddhism on a case study of Kīsa Gotami, Patācārā, and Kuṇḍalakesī. A documentary research method was used in the study by investigating three of the thirteen foremost therī (elder nuns).

According to the findings of the study, enlightenment in Theravada Buddhism is defined as enlightenment in the lokuttara-dhamma (nine supermundane states), comprising magga (the four paths), phala (the four fruitions), and Nibbāna. In these states, through insight and tranquil meditation, the noble ones were able to get rid of taṇhā (craving), kilesa (defilements), and saṃyojana (fetters), and realized ariyasacca (the four noble truths). Therī, who had the intention to ordain, wished to be the best, and attained Nibbāna, were: Kīsa Gotami, who became enlightened through contemplation of the flickering lights and received the title lūkhacīvaradharānaṃ (foremost wearers of coarse robes); Patācārā, who became enlightened through contemplation of the water that she used to wash her feet three times and received the title vinayadhārikā (foremost keeper of the monastic disciplinary rules among the nuns); and Kuṇḍalakesī, who became enlightened through contemplation of flowing water and received the title khippābhiññā (foremost nun in quick deep knowledge). The extraordinary qualities of the three therī were paṭisambhidā (the four ways of dsicriminating knowledge), vimokkha (the eight states of liberation), and abhiññā (the sixfold superknowledge).

 

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ