โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    เกณฑ์ตัดสินความสุขทางศีลธรรมของพุทธทาสภิกขุ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษCriteria to Judge Moral Happiness of Buddhadasa Bhikkhu
  • ผู้วิจัยพระมนตรี กตสาโร (ทวีแก้ว)
  • ที่ปรึกษา 1พระครูโกศลศาสนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา29/02/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50552
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 119

บทคัดย่อภาษาไทย

          วิทยานิพนธ์เรื่อง “เกณฑ์ตัดสินความสุขทางศีลธรรมของพุทธทาสภิกขุ” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1.ศึกษาเกณฑ์ตัดสินความสุขในพุทธปรัชญาเถรวาท 2.ศึกษาความสุขตามแนวคิดของพุทธ ทาสภิกขุและ 3.วิเคราะห์เกณฑ์ตัดสินความสุขทางศีลธรรมของพุทธทาสภิกขุ การวิจัยนี้เป็น การศึกษาเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า พุทธปรัชญาเถรวาทใช้แนวคิดเรื่องประโยชน์เป็นเกณฑ์ตัดสินความสุข โดยพิจารณาจาก ประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งประกอบด้วย ประโยชน์ตนเป็นการกระทำที่ส่งผลต่อตนเองเป็นหลัก ต่อมา ประโยชน์ผู้อื่นกรณีนี้มองว่าเป็นการกระทำที่ตนเองต้องเสียสละและทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์ ไม่ว่า จะเป็นประโยชน์ต่อคนกลุ่มน้อยหรือมากก็ตาม สุดท้ายคือประโยชน์ทั้งสอง ถ้าได้ทั้งสองถือว่าดีที่สุด เพราะการกระทำนั้นเกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย ความสุขตามแนวคิดของพุทธทาสภิกขุนั้นเป็นความสุขที่แตกต่างกันไปเป็นลำดับขั้น ประกอบด้วย สุขเพราะไม่เบียดเบียน การไม่เบียดเบียนถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตตาม รูปแบบของสังคม เพราะการจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุขได้นั้นจะต้องขจัดซึ่งการเอารัดเอาเปรียบ และการข่มเหงรังแกผู้อื่น ในกรณีนี้อาจมองได้ว่าสุขเพราะไม่เบียดเบียนนั้นเป็นความสุขทางศีลธรรม เชิงสังคม พิจารณาจากการกระทำที่ส่งผลต่อตนเองและบุคคลอื่นเป็นจำนวนมาก ลำดับต่อมาคือสุข เพราะไม่กำหนัดในกาม และสุขเพราะไม่มีอหังการ มมังการ เรียกอีกอย่างว่า ความสุขทางศีลธรรม เชิงปัจเจก พิจารณาได้จากการกระทำที่มุ่งความสุขเฉพาะตนเป็นหลัก ด้วยการ ลด ละ เลิก สิ่งที่ เรียกว่ากิเลส ตัญหา และความมีตัวมีตน ซึ่งถือเป็นแนวทางการปฏิบัติทางศาสนา      

          เกณฑ์ตัดสินความสุขทางศีลธรรมของพุทธทาสภิกขุ เป็นการตัดสินโดยใช้สิ่งที่เรียกว่า อุดมคติ ซึ่งเป็นศีลธรรมแบบไม่ยึดติดหรือคาดหวังต่อสิ่งตอบแทน โดยใช้จิตสำนึกอันบริสุทธ์ ดังนั้น พุทธทาสภิกขุจึงมีความเห็นแย้งกับความคิดของพุทธปรัชญาเถรวาท และนักปรัชญาอย่าง อริสโตเติ้ล และจอห์น สจ๊วต มิลล์ ในเรื่องของการกระทำต่อความคาดหวัง แต่ไม่ได้เห็นแย้งต่อการส่งผลของการ กระทำ ผู้วิจัยเห็นด้วยกับเกณฑ์ตัดสินความสุขทางศีลธรรมของพุทธทาสภิกขุแบบอุดมคติ เพราะ ความสุขทางศีลธรรมที่เป็นอุดมคติของพุทธทาสภิกขุนั้นได้แสดงให้เห็นว่าการเป็นคนดีมีศีลธรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยความคาดหวังหรือยึดติดกับประโยชน์และความสุขที่จะได้รับจากบุคคลอื่น แต่การ ทำความดีนั้นจะต้องมาจากจิตใจอันบริสุทธิ์ ซึ่งแตกต่างจากมุมมองที่ว่า การทำความดีเพื่อผู้อื่นนั้น เพื่อหวังให้ผู้อื่นดีตอบ เมื่อพิจารณาแล้วก็ไม่ต่างจากการกระทำที่คาดหวังซึ่งสิ่งตอบแทน หรือต่างฝ่าย ต่างต้องตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยคิดว่าเป็นบุญคุณ อย่างนี้เรื่อยไปไม่จบไม่สิ้น ทั้งหมดนี้แสดงให้ เห็นว่า อุดมคติของพุทธทาสภิกขุนั้นมุ่งเน้นให้บุคคลทำความดีโดยไม่ยึดติดและไม่คาดหวังสิ่งตอบ แทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีในการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบกลุ่มคนหรือหมู่คณะในสังคมยุคปัจจุบัน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          This thesis entitled ‘Criteria to Judge Moral Happiness of Buddhadasa Bhikkhu’ has three objectives: 1 ) to study the criteria for judging happiness in Theravada Buddhist philosophy, 2 ) to study happiness according to the idea of Buddhadãsa Bhikkhu, and 3) to analyze the criteria for judging the moral happiness of Buddhadãsa Bhikkhu. This research employed the documentary research methodology. The research results were found that the concept of utility has been used by Theravada Buddhist philosophy for judging happiness through the consideration of the gained utility comprising of one’s benefit mainly affecting oneself and other’s benefit where it is viewed through one’s performance of duty that one has sacrificed to benefit other. It clearly shows that whether it is conducive to benefit small or big group of people, it finally benefits both and thereby being held as the utmost one because such an act gives rise to certain benefit to both parties. As far as the happiness being accorded with Buddhadãsa Bhikkhu’s idea is concerned, it varies depending upon its levels comprising of happiness arising out of non-harming; this level is marked as the starting point in living life according to social formation because in being able to make a society happy the exploitation and harming others need to be got rid of. In this case, such happiness may be regarded as the social moral happiness where it is considerably viewed through the action that affects oneself and other as a whole. After that the happiness is caused by non-lust and the state which is without the thing called ‘ahaṃkara and Mamaṃkara’, in other words, it is called ‘individual moral happiness’; this is viewed from the action aiming at individual happiness through reducing, abandoning and stopping what is called ‘attachment’and ‘self’ suggested by religious ways of life. When it comes to the criteria for judging moral happiness of Buddhadãsa Bhikkhu, such criteria are called ‘ideal criteria’ where its morality embraces non- attachment or reciprocity through the utilization of pure consciousness. Therefore, viewed from this angle, it shows that Buddhadãsa Bhikkhu argued against Theravada Buddhist philosophical ideas including Aristotle’sand John Stewart Mill’s ones in action towards certain expectation, but did agree with the results of such an act. In this research, a researcher entirely agrees with Buddhadãsa Bhikkhu’s criteria for judging the moral happiness which is somehow held as the ideal one because it proves that to be moral one no longer requires any expectation or attaches to certain benefit and happiness returned by others, but to be moral one necessitates pure mind which is different from the view that to do good to other is to expect the returning of it, if so, once properly considered, such an act is not different from the action done for the sake of reciprocity or mutual reciprocity in the form of gratitude. Under this situation, it falls into the endless circle of action. Suffice it to say that the ideal of Buddhadãsa Bhikkhu lays great emphasis on the doing good without any attachment and expectation by which it is clearly regarded as the absolute goodness while living together as the group or community of people in the age of present society. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ