-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhadhamma Application for People’s Political Participation Promotion at Mahasorn Sub-District, Ban Mee District, Lopburi Province
- ผู้วิจัยพระมหาสมัคร อติภทฺโท (นาซิน)
- ที่ปรึกษา 1ดร.สุมาลี บุญเรือง
- ที่ปรึกษา 2รศ.อนุภูมิ โซวเกษม
- วันสำเร็จการศึกษา01/03/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50557
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 482
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 358 คน โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X บาร์=3.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการไปใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง (X บาร์ = 3.79) รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง (X บาร์ = 3.04) และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านการแสดงประชามติและประชาพิจารณ์ (X บาร์ = 2.60) ตามลำดับ
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พบว่า ประชาชนที่มีเพศและอายุ ต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญตามสมมติฐานที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลมหาสอน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี พบว่า 1) ประชาชนขาดความเข้าใจในด้านหลักอปริหานิยธรรม ทำให้การเลือกตั้งจึงยังมีเรื่องการทุจริตเกิดขึ้นเป็นประจำ 2) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาไปติดต่อกับทางราชการหากไม่ใช่เหตุจำเป็น 3) ประชาชนมองว่าการเข้าไปมีทำกิจกรรมในชุมชนไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง จะเข้าไปมีส่วนร่วมเมื่อเดือดร้อนหรือมีปัญหาเท่านั้น ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงหลักอปริหานิยธรรมว่า เป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญในการบริหารบุคคลและสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และสามารถนำไปใช้ได้กับประชาชนทั่วไปจนถึงผู้บริหารประเทศ 2) ควรเพิ่มช่องทางการติดต่อประสานงาน เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการ รับทราบปัญหาของประชาชน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงด้วยการจัดประชุมสัมมนาในชุมชน 3) ควรสร้างจิตสำนึกความร่วมแรงร่วมใจกันในสังคมให้มีความสามัคคี และยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ด้วยการนำหลักอปริหานิยธรรมมาประยุกต์ใช้
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
Objectives of this research were: 1. To study the level of political participation promotion of Mahasorn Sub-District people. Ban Mi District Lopburi Province 2. To compare people's opinions on the people’s political participation promotion of Mahasorn Sub-District. Ban Mi District Lopburi Province, classified by personal factors and 3. To study the problems, obstacles, and suggestions for the application of Budda-dhamma principles application to promote people’s political participation of Mahasorn Sub-District, Ban Mi District, Lopburi Province, conducted by the mixed methods. The quantitative research using questionnaires with the whole reliability value at 0.983 as a tool for data collection from 358 samples, eligible voters of 3,384 people and randomly selected from Mahasorn Sub-District. Ban Mi District Lopburi Province using Taro Yamane's formula. Statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. Hypothesis was tested by t-test, F-test, and one-way analysis of variance. The differences of the mean values were compared by the Least Significant Difference (LSD) method. The qualitative research, data were collected from document and by in-depth-interviewing 8 key informant and analyzed by content descriptive interpretation.
Findings of Research were as follows.
1. The level of public opinion on people’s political participation promotion of Mahasorn Sub-District. Ban Mi District, Lopburi Province, by overall was at middle level (X bar=3.14). Each aspect was found that the aspect that participated the most was the exercise of rights and participation in elections. (X bar=3.79), followed by political information perception (X bar=3.04), and the aspect that was participated the least was the performance of referendums and public hearings. (X bar=2.60) respectively.
2. The comparison of people’s opinions on Buddha-dhamma principles application for people’s political participation promotion was found that people with different genders, ages, by overall did not have different opinions, therefore, rejected the set hypothesis. People with different level of education, career and incomes had different opinions on people’s political participation at significantly different level according to the set hypothesis at 0.05, so the set hypothesis was accepted.
3. Problems, obstacles, and suggestions regarding the application of Buddhist principles to promote political participation of the people of Maha Son Subdistrict. Ban Mi District Lopburi Province found that 1) people lacked understanding of the principles of Aparihaniyadhamma. As a result, corruption still occurs regularly in elections. 2) Most people rarely have time to contact the government unless it is a necessary matter. 3) People view that participating in activities in the community is not their duty. Will only participate when suffering or having problems. Suggestions found: 1) Knowledge and understanding of the principles of Aparihaniyadhamma should be given that it is an important principle in managing personnel and creating unity among the group. and can be used by the public up to the country's administrators. 2) Should increase communication channels and coordinate to create a variety of Acknowledge the problems of the people as well as publicize it thoroughly by organizing meetings and seminars in the community. 3) Should create a sense of unity in society. and adhere to the common interests rather than personal interests with the application of the principle of AparihaNithamma
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|