-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษPeople’s Political Perception affecting the Election of Bangkok Council Members, khlong Sam War District, Bangkok
- ผู้วิจัยนายสำเริง ราชฉวาง
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุรพล สุยะพรหม
- วันสำเร็จการศึกษา01/03/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50559
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 538
บทคัดย่อภาษาไทย
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยการประยุกต์หลักสุจริตธธรรม ใช้ระเบียบวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. ระดับการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง (X บาร์ = 3.42,) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (X บาร์= 3.91,) อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง (X บาร์= 3.31,) 3) อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง (X บาร์= 3.04,) อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ
2. ปัจจัยหลักสุจริตธรรม มีอิทธิพลต่อการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่าปัจจัย หลักสุจริตธรรม เป็นตัวแปรอิสสระโดยมีองค์ประกอบคือ ด้านกายสุจริต ด้านวจีสุจริต ด้านมโนสุจริต มีอิทธิพลต่อการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยองค์ประกอบทั้งหมดของปัจจัยหลักสุจริตธรรม ร่วมกันอธิบายความผันแปรของการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้ร้อยละ 1.32
3 การประยุกต์หลักสุจริตธรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร สรุปพบว่า ด้านติดตามข่าวสารการเลือกตั้งนั้นส่วนใหญ่จะเป็นไปในลักษณะของชี้นำของหน่วยงานทางราชการ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับข่าวสารการเลือกตั้ง ข่าวสารการเลือกตั้งขาดการประชาสัมพันธ์ในกิจจกรรมของการเลือกตั้ง การติดตามข่าวสารการเลือกตั้งยังอยู่ในกรอบที่จำกัด โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้กำหนด ปัจจัยด้านกายสุจริต และปัจจัยด้านวจีสุจริต มีอิทธิพลต่อการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยที่ปัจจัยด้านกายสุจริต และปัจจัยด้านวจีสุจริต สามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของการรับรู้ทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้ถึงร้อยละ 90.40 และเมื่อพิจารณาอิทธิพลเป็นรายปัจจัย พบว่า ปัจจัยกายสุจริต มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน เท่ากับ 0.395 และปัจจัยด้านวจีสุจริต มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานเท่ากับ 0.67
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this thesis are: 1. To study the level of political perception of the people that affect the voting of Bangkok Assembly members. 2. To study the factors affecting the exercise of voting for members of the Bangkok Assembly. 3. To study people's political perceptions that affect the voting of Bangkok Assembly members. Khlong Sam Wa, Bangkok by applying the principles of honesty and fairness. The research methodology is a combination of methods, consisting of: Quantitative research of a sample of 399 people from voters in Khlong Sam Wa area, Bangkok, using a data analysis questionnaire using percentage, mean standard deviation and multiple linear regression analysis. Qualitative research based on interviews with key contributors 10 pictures or people Analyze data by synthesizing descriptive content.
The results of the study showed that:
1. The level of political perception of the people affecting the voting of councilors. Bangkok Bangkok as a whole is moderate (X bar = 3.42,) When classified by side in descending order of average as follows: Voter turnout (X bar = 3.91,) was very high, followed by election news monitoring (X bar = 3.31,) 3) was moderate, and election campaign (X bar= 3.04,) was moderate, respectively.
2. The main factor of integrity influences people's political perception to go out and vote for members of the Bangkok Assembly. The results of showed that the factors of integrity are Issara variables with elements such as physical integrity, integrity, and conscience influencing people's political perception that affects voter turnout. Statistical significance level 0.01 All elements of integrity factors together explain the variation in people's political perceptions that affect voter turnout by 1.32 percent.
3 Application of the principle of good faith to promote public political awareness affecting the voting of Bangkok Assembly members Khlong Sam Wa, Bangkok In conclusion, it was found that the monitoring of election news was mainly in the form of government agencies. Most people don't pay much attention to election news. Election news lacks publicity in election activities. Monitoring of election news remains limited. It is determined by the Election Commission. At a statistically significant level of 0.01, the physical and integrity factors can jointly explain the variation in people's political perceptions that affect voter turnout by 90.40%. It has a standard regression coefficient of 0.67.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|