-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี ของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Novice Development Model With in A Framework of Bowon by Buddhist Peaceful Means at Watsarod Bangkok Metropolis
- ผู้วิจัยพระภวัต ธมฺมจาโร (เหลืองศิล)
- ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา29/03/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50585
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 24
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการวิจัยตามบันได 9 ขั้น (Action Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสามเณรภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร และ3) เพื่อพัฒนา และนำเสนอการพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ จัดสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาสามเณรวัดสารอด สามเณรขาดความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่ตรงต่อเวลา ไม่สามารถที่จะซักจีวร เก็บจีวร ดูแลรักษาจีวร และเก็บสิ่งของเครื่องใช้ให้มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยตนเองได้ ชอบหลบนั่งหลับในห้องน้ำ ความจำสั้น ขาดทักษะในการใช้ภาษาไทย ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ติดโทรศัพท์มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงติดเกมส์ มีอารมณ์ก้าวร้าว ไม่เชื่อฟังคำสอนพระอาจารย์ต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง ไม่อยู่ในกฎระเบียบไม่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย ไม่เคารพพระพี่เลี้ยง กระทำความผิดซ้ำๆ ซากๆ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน พูดจาหยาบคาย และสามเณรกับพี่เลี้ยงขัดแย้งทะเลาะกันเอง สามเณรต้องการมีพี้เลี้ยงคอยกับกำดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อการให้คำแนะนำแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม และใส่ใจดูแลสามเณรให้อยู่ในโอวาท ทำให้สามเณรอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดการหล่อหลอมให้สามเณรเกิดความรักสามัคคีปรองดอง มีความรู้ตื่นเบิกบานในชีวิตของตนเองและครอบครัว มีปัญญาแยกแยะผิดชอบชั่วดีได้ การพัฒนาสามเณรเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของพลังบวรที่ต้องร่วมมือกันในการพัฒนาสามเณร
2) พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสามเณรของวัดสารอดภายใต้กรอบบวรของวัดสารอด คือ หลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ประกอบกับการบริหารจัดการพัฒนาสามเณรที่เน้นการมีส่วนร่วมและเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับและเป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย มีพระพี่เลี้ยงคอยเป็นผู้นำที่ดี ให้ความรัก ความปรารถนาดีมีเมตตา พิจารณาโดยแยบคายว่าจะดำเนินการอย่างไรให้สามเณรได้รับการพัฒนาเป็นสามเณรผู้มีบุคลิกภาพที่ดี ท่าทีน่าเลื่อมใส จิตใจสุขสม และอุดมปัญญา โดยพัฒนาที่ละขั้นที่ละตอนอย่างเหมาะสมกับธรรมชาติของสามเณร เหมาะสมกับพื้นฐานอุปนิสัยของสามเณร โดยแบ่งตามพื้นฐานของปัญญาความรู้ของสามเณร
3) ผลกการออกแบบการพัฒนาสามเณรภายใต้กรอบพลังบวร ทำให้ได้รูปแบบกอบัวโมเดล “KORBUA Model” มีองค์ประกอบย่อย 8 ประการ ได้แก่ กอบัวที่ 1 K=Knowledge มีความรู้ดี กอบัวที่ 2 O = Operation การจัดการ กอบัวที่ 3 B = Behave พากันประพฤติดี กอบัวที่ 4 R= Reiation สานสัมพันธ์ กอบัวที่ 5 U = Unique มีลักษณะเฉพาะ กอบัวที่ 6 A = Assist อนุเคราะห์ผู้อื่น เกิดองค์ความรู้ใหม่ 4 ด้าน ได้แก่ 1) บุคลิกภาพดี เป็นบุคลิกภาพการนุ่งห่ม สบง จีวรที่เรียบร้อย การอุ้มบาตรเรียบร้อย 2) ท่าทีน่าเลื่อมใส เป็นท่าทีน่าเลื่อมใส การแสดงท่าทีผ่านทางคำพูดที่ไม่ก้าวร้าว ใช้ภาษาที่เหมาะสมแก่สมณ 3) จิตใจสุขสม เป็นจิตใจสุขุมเยือก เพราะได้ปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาเกิดความสุขสงบภายในจิตใจมากขึ้น และ4) อุดมปัญญา เป็นการสั่งสมความรู้จากการฟังธรรม จากการคิดพิจารณา และจากการเจริญภาวนาอยู่เสมอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This dissertation The objectives are 1) to study and analyze the context, problems, needs, and concepts and theories regarding the development of novices under the framework of Buddhism Santiwithi of Wat Saradot. Bangkok 2) To study and analyze Buddhist Dhamma that facilitates the development of novices under the framework of Buddhism Santiwitth of Wat Sarod. Bangkok and 3) to develop and present the development of novices under the framework of Buddhism Santiwithi of Wat Sarod. Bangkok It is research based on the Noble Truths Model, consistent with participatory action research along the 9-step ladder, with a group of key informants. Group of key informants Use the Purposeful Selection method from a group of 30 key informants/people in diverse and different areas with different interests. and plays an important role In the development of the novice monks at Wat Sarod, consisting of 6 monks, 1 nun, 1 upasaka, and a group of 21 upasikas, emphasis was placed on qualitative research in the area (Field Research) by conducting in-depth interviews. The results of the research found that: 1) The problem context of the development of novice monks at Wat Sarod
It was found that 1) Problems with the development of novice monks at Wat Sarod Novices lack responsibility for themselves. not punctual Unable to wash robes, collect robes, or care for robes and keep things clean and orderly by yourself Likes to hide and sleep in the bathroom, has a short memory, lacks skills in using the Thai language Lack of emotional maturity, unable to control one's own emotions Addicted to the phone, has random behaviors, is addicted to games Have an aggressive mood Disobeying the Master's teachings is one thing in front of one's face and another one's behind one's back. Not in the rules, not strictly in the Dhamma and discipline Disrespecting the mentor Repeatedly commits crimes, lacks enthusiasm for learning, speaks rudely, and the novice and mentor have conflicts with each other. Novices need a mentor to closely monitor them in order to give advice and guidance on the correct and appropriate course of action. and take care of the novices in obedience Make the novices live happily together There is a nurturing process for the novices to develop love, unity and harmony. Have knowledge and joy in your own life and that of your family. Have the wisdom to distinguish between right and wrong. The development of novices emphasizes the participatory process of Phalang Bowon who must cooperate in the development of novices.
2) Buddhist Dhamma that facilitates the development of novices of Wat Sarod under the framework of Wat Sarod. Focusing on the principles of the Four Noble Truths, emphasizing the application of the tools of Aparihaniyadhamma to practice by the Sangha in the temple. It is a principle of practice to strengthen participation and to enhance understanding of operating under the rules and regulations and in accordance with the principles of Dhamma and discipline. There is a mentor who is a good leader who gives love, good wishes and kindness. Consider carefully how to proceed so that the novice monks will be developed into novice monks with good personalities. A venerable attitude, a happy mind, and abundant wisdom by developing step by step appropriate to the nature of a novice. Suitable for the basic character traits of novices. Divided according to the basis of the novice's wisdom and knowledge.
3) Results of the design of novice development under the Palang Bowon framework. This resulted in the "KORBUA Model" model, which has 8 sub-elements: 1st korbua, K=Knowledge, having good knowledge, 2nd korbua model, O = Operation, management, 3rd korbua B = Behave, leading to good behavior, korbua model. 4th R= Reiation, building relationships, 5th lotus leaf U = Unique, has specific characteristics, 6th lotus leaf A = Assist, help others.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|