โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ผลของการเจริญสติแบบอานาปานสติร่วมกับสุคนธบำบัดที่มีต่อความเครียดและความวิตกกังวลของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffects of Mindfulness Meditation and Aromatherapy on Stress and Anxiety of Company Employees in Bangkok Metropolitan
  • ผู้วิจัยนางสาวอำไพ ลีละรัตนวงศ์
  • ที่ปรึกษา 1ศ. ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  • วันสำเร็จการศึกษา25/03/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50587
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 857

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเจริญสติแบบอานาปานสติร่วมกับสุคนธบำบัดที่มีต่อความเครียดและความวิตกกังวลของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ใช้แบบวัดความเครียดและความวิตกกังวล DASS (Depress Anxiety Stress Scale) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Stratified Random Sampling) จากระดับคะแนนความเครียดและความวิตกกังวลที่มีความใกล้เคียงกัน โดยใช้โปรแกรม G*Power ด้วยอิทธิพลขนาดตัวอย่าง (Effect Size) ที่ .05 สำรองเพิ่มร้อยละ 5 ได้กลุ่มตัวอย่าง 100 คน นำมาแบ่งกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 25 คน หลังการทดลองวัดผลด้วยแบบวัดความเครียดและความวิตกกังวล และแบบวัดสติด้านการตระหนักรู้ (Awareness) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสูจน์สมมติฐานด้วย Two Way ANOVA with Repeated Measure in One Factor และวิเคราะห์ข้อมูลสติด้านการตระหนักรู้ด้วย One Way ANOVA

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานหญิงมากกว่าพนักงานชาย อายุอยู่ระหว่าง 36-45 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี เมื่อเทียบภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังกิจกรรม กลุ่มทดลองทั้ง ๓ กลุ่มมีระดับความเครียดและความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .05, F = 32.45 และ p < .05, F = 48.45 ตามลำดับ) ขณะที่กลุ่มควบคุมมีระดับความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น และเมื่อเทียบระดับความเครียดและความวิตกกังวลหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองมีระดับความเครียดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 10.70) และมีระดับความวิตกกังวลลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 2.72) ผลการวิจัยยังทำให้ทราบว่ากลุ่มเจริญสติแบบอานาปานสติร่วมกับสุคนธบำบัดให้ผลในการลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ดีกว่ากลุ่มเจริญสติแบบอานาปานสติ และ กลุ่มสุคนธบำบัด เล็กน้อย

ผลการวิจัยสรุปว่า ผลของการเจริญสติแบบอานาปานสติร่วมกับสุคนธบำบัดมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการลดความเครียดและความวิตกกังวลของพนักงานบริษัทในเขตกรุงเทพมหานคร หรือกับองค์กรต่าง ๆ ในการนำไปพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสูงสุขให้กับพนักงานในองค์กร

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This study aimed to study the effects of mindfulness meditation combined with Aromatherapy on the stress and anxiety of company employees in Bangkok Metropolitan. It was a quasi-experimental research, using depression, anxiety and stress scale (DASS) to collect data. The sample group was selected by stratified random sampling based on similar stress and anxiety scores. The sample size of 100 was determined using G*Power program with an effect size of 0.05 and a 5% spare just in case drop out during the experiment. The participants were divided into 3 experimental groups and 1 control group with 25 participants in each group. After the experiment, the effects were measured was with DASS Scale and mindfulness scale in awareness aspects. The descriptive data was analysed by statistics including Percentage, Mean, Standard Deviation, and hypothesis testing with Two-way ANOVA with repeated Measures in One Factor for Stress and Anxiety and One Way ANOVA for Awareness.

The research findings revealed that the sample group comprised more female than male employees with the age mostly in 36 to 45 years and with a Bachelor's Degree. When comparing within the experimental groups before and after intervention, all 3 experimental groups showed a statistically significant reduction in stress and anxiety levels at a level of 0.05 (p < 0.05, F = 32.45 and p < 0.05, F = 48.45 respectively). In contrast, the control group experienced an increasing in stress and anxiety levels. Furthermore, when comparing the levels of stress and anxiety after the experiment between the experimental and control groups, the experimental group had a significantly lower level of stress at 0.05 (F = 10.70) and a significantly lower level of anxiety at 0.05 (F = 2.72). The research results also indicated that the group with mindfulness meditation combined with Aromatherapy had slightly more reduction in stress and anxiety levels than the mindfulness meditation and aromatherapy groups.

In conclusion, the effects of mindfulness meditation combined with Aromatherapy are appropriate and can be applied to reduce stress and anxiety among employees of companies in the Bangkok metropolitan area. It is also applicable to various organizations to develop activities to enhance the well-being of employees.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ