-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาโดยพุทธสันติวิธี ของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Potential Development of Volunteer Upasika by Buddhist Peaceful Methods of Wat Sarod, Bangkok
- ผู้วิจัยนางสาววิภาวี ปรุงเกียรติ
- ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา05/04/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50588
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 24
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการวิจัยตามบันได 9 ขั้น (Action Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา และความต้องจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร และแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาภายใต้กรอบบวรของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาโดยพุทธสันติวิธีของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ จัดสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 28 คน ประกอบด้วย พระภิกษุสงฆ์จำนวน 6 รูป แม่ชีจำนวน 1 คน และกลุ่มอุบาสิกาจำนวน 21 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) วัดสารอดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ตามยุทธศาสตร์ชาติ มีจุดเด่นสำคัญ คือ “ราษฎร์บูรณะศีลบวรโมเดล” มีเครือข่ายความร่วมมือบวรที่เข้มแข็งในการพัฒนาวัดให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างยั่งยืน มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันมีอุบาสิกามาปฏิบัติธรรมจำนวนมากขึ้น แต่ขาดอุบาสิกาจิตอาสาที่เพียงพอและมีความรู้ความสามารถทำหน้าที่ปฏิบัติงานสร้างโยชน์ของส่วนรวม ในการขวนขวายช่วยเหลืองานวัด ทางวัดจึงต้องการสร้างและพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสาที่ดีและเพื่อลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในด้านจัดจ้างแรงงานมาทำหน้าที่ภายในวัด
2) นำหลักไตรสิกขาซึ่งเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนามี ศีล สมาธิ ปัญญา มาเป็นแนวทางตามหลักพุทธสันติวิธี ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสา ได้แก่ (1) ด้านศีล ดำเนินการกำหนดวิถีชีวิต จัดวางระเบียบ กติกาใช้ร่วมกันในชีวิตและสังคม (2) ด้านสมาธิ มีความตั้งใจพยายามรับผิดชอบและตรวจสอบ นโยบาย โครงการต่าง ๆ ในทุกขั้นตอนร่วมกันด้วยจิตใจที่มั่นคงและแน่วแน่ต่อกระบวนการต่าง ๆ และ (3) ด้านปัญญา ดำเนินงานในหน้าที่อย่างใคร่ครวญ เห็นกลยุทธ ยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน แล้วตัดสินใจในการที่จะคิดริเริ่มร่วมกันในการทำงานร่วมกันของกลุ่มให้เกิดความพึงพอใจร่วมกันในกิจกรรมตามแนวทางแห่งสันติ
3) นำการพัฒนาศักยภาพอุบาสิกาจิตอาสา 5 ประการของ PHOTI MODEL มี 1) P: practice แผนปฏิบัติ เป็นการวางแผนในการทำการขวนขวายช่วยเหลืออย่างจิตอาสา 2) H: hospitality พร้อมช่วยเหลือ มีความตั้งมั่นในการขวนขวายอาสาช่วยเหลือ เสียสละเวลา โดยไม่หวังผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทน 3) O: organization พร้อมเมื่อต้องการ จิตอาสารวมพลังสามารถช่วยงานได้เป็นครั้งคราวตามกำหนดการล่วงหน้าชัดเจน ทำให้ผลลัพธ์สำเร็จตามเป้าหมาย 4) T: Trust vortsy การทำตัวเองให้มีคุณค่าแก่การเชื่อถือ ไว้วางใจ ดำรงตนอยู่ในหลักศีลธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลอื่น และ 5) I: Identity อัตลักษณ์ สร้างความโดดเด่น ประทับใจ ร่วมมือกันเสียสละทำให้มีอุบาสิกาจิตอาสาขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นเพียงพอและมีสัญลักษณ์จิตอาสาอันน่าจดจำ ทำให้เกิดสันติภาพในชุมชนอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study was based on Ariyasacca (the Four Noble Truths) model in accordance with action research method under the 9-step research framework. The study consisted of three objectives: 1) to analyze context, problems, and needs for the potential development of volunteer upāsikā at Wat Sarod, as well as concepts and theories of potential development according to modern science; 2) to analyze the Buddhist peaceful means conducive to the potential development of volunteer upāsikā under Bowon framework of Wat Saraod, Bangkok; and 3) to devleop and present the potential development of volunteer upāsikā by Buddhist peaceful means of Wat Saraod, Bangkok. The tools used were a questionnaire, in-depth interview, seminar, focus group discussion, and both participant and non-participant observation. Key informants included 24 persons comprising 6 monks, 1 maechee, and 21 upāsikā (female devotees). The qualitative data were collected and analyzed by content analysis.
From the study, the following results were found:
1) Wat Sarod is the center of the community, leading projects that promote harmony and reconciliation through the application of Buddhist teachings. The projects include “The Five-Precept Observing Village Project” aligned with the national strategy, and “Rat-Burana-Sīla-Bowon,” which focuses on building a strong network of bowon (villages, temples, schools) to promote the prosperity of temples via various activities. Despite an increase in upāsikā participation in meditation, the temple still lacks volunteer upāsikā with knowledge and skills to help with tasks that benefit society. The temple therefore would like to develop the potential of volunteer upāsikā in order to save costs of hiring workers to perform tasks within the temple.
2) Tisikkhā (the threefold learning), which includes sīla (morality), samādhi (concentration), and paññā (wisdom), is applied in conjunction with Buddhist peaceful means to promote the potential development of volunteer upāsikā, as follows: (1) On sīla, by determining the way of life and establishing rules and regulations to be used in life and society; (2) On samādhi, by being responsible and examining policies and every step of projects with a determined mind fixed on principles; and (3) On paññā, by performing duties, considering all-round approaches, and making decisions on taking initiatives to work together as a team, in order to achieve mutual satisfaction in activities that follow the peaceful ways.
3) The potential development of volunteer upāsikā has resulted in a model called “Photi” with the following five components: (1) “P” stands for Practice Plan, which is an attempt to help as a volunteer; (2) “H” stands for Hospitality, i.e. the willingness to offer hospitality and support, to sacrifice time, and not to expect anything in return; (3) “O” stands for Organization, where volunteers can join forces to help out from time to time according to a clearly predetermined schedule, leading to the intended successful results; (4) “T” stands for Trustvorthy, which is making oneself worthy of trust, conducting oneself morally, and earning respect from others; and (5) “I” stands for identity, which includes outstanding and impressive results that lead to an adequate increase in the number of volunteer upāsikā, and having a memorable symbol of volunteering, which ultimately leads to sustainable peace in the community.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|