โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐาน กับจริต ๖ ในพระไตรปิฎก
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Meditation Practice and the Six Carita (Temperaments) in Tipitaka
  • ผู้วิจัยพระสมุห์สง่าชัย ขนฺติพโล (สมรูป)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา10/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50589
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 395

บทคัดย่อภาษาไทย

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานในพระไตรปิฎก
๒) เพื่อศึกษาจริต ๖ ในพระไตรปิฎก และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานกับจริต ๖ ในพระไตรปิฎก เป็น
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) ค้นคว้าข้อมูลจากพระไตรปิฎก เครื่องมือการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานกับจริต ๖ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

๑) การปฏิบัติกรรมฐานในพระไตรปิฎก มี ๒ อย่างคือ สมถะกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน (๑) สมถะกรรมฐาน คือ การเพ่งอารมณ์ให้จิตเป็นเอกัคคตา (๒) วิปัสสนากรรมฐาน คือ การใช้สติและสัมปชัญญะ รู้แจ้งความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ห้าในฐานะของสรรพสิ่งในลักษณะของรูป-นาม โดยพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานเป็นทางสายเอกที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบและได้ทรงตรัสไว้กับพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาได้ปฏิบัติ จะส่งผลดีทั้งทางกายมีความสุข ทางจิตใจมีความสงบสุข และผลดีทางปัญญา มีสติสัมปชัญญะ รู้จริงเห็นแจ้ง เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย และเพื่อความพ้นทุกข์ทั้งปวง

๒) จริต ในพระไตรปิฎก มี ๖ อย่าง คือ ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต และวิตกจริต เกิดจากพระสารีบุตรยกย่องพุทธคุณเรื่องพระผู้มีพระภาคทรงมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุ คือทรงทราบจริตของบุคคลว่า บุคคลนี้มีราคจริต บุคคลนี้มีโทสจริต บุคคลนี้มีโมหจริต บุคคลนี้ มีสัทธาจริต บุคคลนี้มีพุทธิจริต บุคคลนี้มีวิตกจริต และได้ตรัสอสุภกถาแก่บุคคลผู้มีจริตทั้ง ๖ ดังนี้ (๑) ผู้มีราคะจริต มีนิสัยราคะ รักสวย รักงาม กรรมฐานที่เหมาะ ได้แก่ อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติ ๑ (๒) ผู้มีโทสจริต มีนิสัยโทสะ ใจร้อน หงุดหงิด โกรธง่าย กรรมฐานที่เหมาะ ได้แก่ พรหมวิหาร ๔ อัปปมัญญา ๔ และวัณณกสิณ ๔ (๓) ผู้มีโมหจริต มีนิสัยโมหะ มีอิริยาเซื่องซึม เหงาซึม งมงาย กรรมฐานที่เหมาะ ได้แก่ อานาปานสติกรรมฐาน (๔) ผู้มีสัทธาจริต มีนิสัยศรัทธา มีอิริยาแช่มช้อย ละมุนละม่อมมีจิตใจซาบซึ้ง กรรมฐานที่เหมาะคือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติและเทวตา นุสสติ (๕) ผู้มีพุทธิจริต มีนิสัยช่างคิด มีอิริยาว่องไวและเรียบร้อย กรรมฐานที่เหมาะ คือ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญาและจตุธาตววัตถาน และ (๖) ผู้มีวิตกจริต มีนิสัยครุ่นคิดวกวน จับจด ฟุ้งซ่าน พูดพร่ำ โลเล กรรมฐานที่เหมาะ คือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก

๓) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติกรรมฐานกับจริต ๖ ในพระไตรปิฎก พบว่า มีความ สัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปฏิบัติ อาจารย์ผู้ให้การปฏิบัติ ตัวกรรมฐาน จริตแต่ละคน และวิธีการปรับแก้จริต เพราะจริตมีลักษณะแตกต่างกัน ผู้ให้กรรมฐานควรเลือกกรรมฐานที่เหมาะกับจริตของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ปฏิบัติได้ผลดี ต้องเลือกอารมณ์สมถะอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะกับจริตของแต่ละบุคคล ดังนี้ (๑) การปฏิบัติอสุภะกรรมฐาน ๑๐ และกายคตาสติ ๑ มีความสัมพันธ์กับราคจริตและสามารถปรับแก้เอาชนะราคะจริตได้ (๒) การปฏิบัติพรหมวิหารธรรม ๔ และวัณณกสิณ ๔ มีความสัมพันธ์กับโทสจริต และสามารถปรับแก้โทสจริตได้ (๓) การปฏิบัติอานาปานสติ มีความสัมพันธ์กับโมหจริต และสามารถปรับ แก้โมหจริตและวิตกจริตได้ (๔) การปฏิบัติอนุสสติ ๖ มีความสัมพันธ์กับสัทธจริต และสามารถปรับแก้สัทธาจริตได้ (๕) การปฏิบัติมรณัสสติ อุปสมานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุธาตุววัฎฐาน มีความ สัมพันธ์กับพุทธิจริต และสามารถปรับแก้พุทธิจริตได้ (๖) การปฏิบัติอานาปานสติ อรูป ๔ ภูตกสิณ ๔ อาโลกสิณ อากาสกสิณ มีความสัมพันธ์กับวิตกจริตและสามารถปรับแก้วิตกจริตได้ และการปฏิบัติอรูป ๔ ภูตกสิณ ๔ อาโลกสิณ อากาสกสิณ สามารถปรับแก้จริตได้ทั้งปวง   

นอกจากนี้ยังพบการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันมีความสัมพันธ์ กันในแง่ของการบรรลุธรรม คือ การปฏิบัติวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า เรียกผู้ปฏิบัติว่า สมถยานิกะ เมื่อบรรลุธรรมแล้วเป็นพระอริยบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตติ มีวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ ส่วนการปฏิบัติสมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า เมื่อจิตถูกทำให้ไขว้เขวด้วยวิปัสสนูปกิเลส เรียกผู้ปฏิบัติว่า วิปัสสนายานิกะ เมื่อบรรลุธรรมแล้วเป็นพระอริยบุคคลประเภทปัญญาวิมุตติ เป็นอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสกะ ดังนั้นการปฏิบัติกรรมฐานทั้งสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานจึงมีความสัมพันธ์เกื้อกูลกับจริตของแต่ละบุคคล

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This Research Study with have three objectives: (1) to study meditation practice in the Tripitaka (2) to study morality 6 in the Tripitaka and (3) to analyze the relationship between the practices of meditation to the six morals in the Tripitaka. This is a qualitative research by analyzing documents researching information from the Tripitaka. The research tool is a data analysis form on the relationship between meditation practice and the 6 mentalities. Content analysis was used.

The research results found that:

1) There are two types of (Karmathāna meditation) in the Tripitaka: Samatha meditation and Vipassana meditation. (1) Samatha meditation is focusing on the emotions so that the mind is singular. (2) Vipassana meditation is consistency and awareness of the trinity. of the five aggregates as various details The emergence of form-name One Buddha stated that both samatha karma and vipassana karma were the main paths that the Buddha knew and had the form of being practiced by the four Buddhist companies, that is, monks, nuns, upasakas, and upasikas. It will have a positive effect on your body and being happy. Mentally there is peace. and intellectual benefits be conscious Really know, see clearly. For the complete extinction of all defilements. and for the liberation of all suffering

2) There are 6 carita in the Tripitaka: Rāka-carita, Doha-carita, Moha-carita, Saddha-carita, Buddhi-carita and Vitakka-carita. They arose from Sariputta praising the Buddha's virtues regarding the Blessed One having a clear eye with the Buddha's eye. That is, he a knew the behavior of a person. This person has lust. This person is insane. This person is fraud. This person has integrity. This person has wisdom. This person is deranged. and gave the following verses to those who have the six morals: All 6 as follows: (1) A person who is sensual, has the habit of sensual love, loves beauty, and loves beauty. Appropriate meditation includes the 10 asubha and 1 kayākātāsati. (2) A person who has anger has the habit of being angry, impatient, easily irritated, and easily angered. Appropriate meditation includes the 4 brahmavihāra. Appamaññā 4 and Vanna kasina 4 (3) A person who is deluded, has a delusional habit, has a lethargic posture, is lonely, and is ignorant. Suitable meditation is Ānāpānasati meditation. (4) A person who has the right mind. Have a character of faith Has a calm demeanor Gentle, with a grateful heart Suitable meditations are Buddhānussati, Dammānussati, Sanghā nussati, Silānussati, Jākānussati and Devatānussati. (5) Those that have Buddhist consciousness. Have a thoughtful personality Has an agile and neat demeanor Suitable meditations are death, mindfulness, upasamānussati, Āhārepatikūlasaññã and Catudhãtavaṭṭhānā. and (6) those who are anxious. Have a habit of thinking and thinking, being haphazard, distracted, chattering, and fickle. The appropriate meditation is Ānāpānasati, focusing on breathing in and out.   

3) The relationship between the practice of meditation and the 6 cittas in the Tripitaka. It was found that there is a relationship between the practitioner, the teacher who gives the practice, the meditation itself, each person's citta, and the methods for correcting the citta. Because morality has different characteristics. The meditation provider should choose a meditation that suits the practitioner's temperament. In order to practice and get good results One must choose one of the austere moods that suits each person's temperament as follows. (1) Practicing the 10 asubha meditations and 1 kayakatasati are related to the sensual mind and can adjust and overcome the sensual mind. (2) The practice of the 4 Brahmavihara Dhammas and the 4 vannakasinas are related to anger. sense and can adjust and correct anger. (3) Practicing Ānāpānasati. having a relationship with cheating and can adjust Can cure delusion and delusion. (4) Practicing the 6 Anussati has a relationship with righteousness. and can adjust and correct one's fait (5) Practice of death, upasamānussati, Āhārepatikūlasaññã Catudhãtavaṭṭhānā. is related to Buddhacarita. and can adjust and correct Buddhist consciousness. (6) Practicing Ānāpānasati, 4 arupa, 4 bhutakasina, 4 ālokāsina, ākāsakasina are related to mindfulness and can adjust and correct mindfulness. And the practice of the 4 non-arupa, 4 bhutakasina, alokasina, ãkãsakasina can correct all mentalities.   

In addition, it was found that practicing Samatha meditation and Vipassana meditation together have a relationship. The same in terms of attaining Dhamma is the practice of Vipassana preceded by samatha. The practitioner is called samathayanika. When he has attained the Dhamma, he is a noble person of the Ubhatopabhavimutti type, having 3 kinds of knowledge, 6 Abhinayaññã, and 4 Pt̩i sạm p̣hithã. As for the practice of samatha preceded by vipassana. When he attains Dhamma, he becomes a noble person of the type of wisdom and liberation. He is an Arahant of the Sukkhavipassaka type. Therefore, the practice of meditation, both samatha meditation and vipassana meditation, has a supportive relationship with the mind of each person.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ