โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธสันติวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Competency Development of Mediators at Phra Khanong Criminal Court Based on the Buddhist Peaceful Means to Increase Efficacy in Mediating Criminal Cases
  • ผู้วิจัยนายจาตุรงค์ สรนุวัตร
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2อาจารย์อดุลย์ ขันทอง
  • วันสำเร็จการศึกษา29/03/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50590
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 21

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา สาเหตุของการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนง 2) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธสันติวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผล
ในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา และ 3)
นำเสนอการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธสันติวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 10 รูป/คน แล้วสรุปข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

              ผลการวิจัย พบว่า

              1. บริบท สภาพปัญหา และสาเหตุของการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนง ดังนี้ 1) ปัญหาการฝึกอบรมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม 2) ปัญหา
การเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เพียงพอ และการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 3) ปัญหาการประเมินผลเกี่ยวกับกระบวนการที่ใช้เพื่อวัดความสามารถของผู้ประนีประนอม 4) ปัญหาการสนับสนุนไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ประนีประนอม และ 5) ปัญหาการจัดการไม่เพียงพอหรือไม่ถูกต้องในการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอม

              2. หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญา
พระโขนง ได้แก่ หลักอริยสัจจ์ 4 คือ ทุกข์ ปัญหาของการเข้าถึงข้อมูล การสื่อสารระหว่างหน่วย
การพัฒนาสมรรถนะ สมุทัย การพัฒนาความสามารถในการประนีประนอมในศาลอาญาพระโขนง ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มความสามารถในการประนีประนอมทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประนีประนอมได้อย่างเหมาะสม นิโรธ ความล่าช้าในการสื่อสารระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการเข้าใจที่ไม่ตรงกัน การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ทำให้การพัฒนาความสามารถในการประพฤติตนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมรรค การพัฒนาสมรรถนะ
ผู้ประนีประนอมในศาลอาญาพระโขนงเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานของผู้ประนีประนอม โดยจะมีกิจกรรม เช่น การฝึกปฏิบัติการจัดการคดีอาญา การฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา การฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม และการฝึกทักษะการเป็นผู้นำ

              3. กระบวนการการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธสันติวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา ประกอบด้วย 6 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการที่ 1: การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมในศาลอาญาพระโขนงตามแนวทางพุทธสันติ โดยเสริมคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาทักษะและความรู้ สร้างสภาพแวดล้อมเอื้อการเรียนรู้ และสนับสนุนความร่วมมือในทีมงาน กระบวนการที่ 2: การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาตามแนวทางพุทธสันติ โดยการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ากับการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่และการบริหารงานยุติธรรมได้อย่างสำเร็จ กระบวนการที่ 3: การพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมในศาลอาญาตามแนวทางพุทธสันติวิธี (อริยสัจจ์ 4) โดยการจัดอบรม
ฝึกปฏิบัติธรรม เพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้ดียิ่งขึ้น กระบวนการที่ 4
: ผลจากการพัฒนาสมรรถนะการจัดการของบุคลากรในศาลอาญาพระโขนงตามหลักอริยสัจจ์ 4
เพื่อปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงาน โดยเน้นการพัฒนาทักษะและความรู้ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาด และเสริมความเชื่อมั่นในกิจกรรมของศาลอาญา ทำให้บริการมีคุณภาพและเป็นธรรม กระบวนการที่ 5
: องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาสมรรถนะในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา
ตามแนวทางพุทธสันติวิธี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบยุติธรรมอาญาตามแนวทางพุทธสันติวิธี
โดยให้ความสำคัญกับการปรองดองและการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้กระทำความผิด การเข้าใจและ
การให้อภัยเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างสังคมที่เป็นธรรมมากขึ้น กระบวนการที่ 6
: การติดตามการพัฒนาสมรรถนะผู้ประนีประนอมในศาลอาญาตามแนวทางพุทธสันติวิธีช่วยเพิ่มประสิทธิผล
ในการไกล่เกลี่ยคดีอาญา โดยการพัฒนาทักษะ สร้างสภาพแวดล้อมส่งเสริมการเรียนรู้ วัดและประเมินสมรรถนะอย่างสม่ำเสมอ สร้างเครื่องมือช่วยในการติดตามข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินคดีอาญาและป้องกันความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study consisted of the following objectives: 1) to investigate context, problems, and causes for the competency development of mediators at Phra Khanong Criminal Court; 2) to explore the Buddhadhamma favorable to the competency development of mediators at Phra Khanong Criminal Court based on the Buddhist peaceful means to increase efficacy in mediating criminal cases; and 3) to present the competency development of mediators at Phra Khanong Criminal Court based on the Buddhist peaceful means to increase efficacy in mediating criminal cases. The study used a qualitative research technique, collecting data through in-depth interviews with night key informants and focus group discussions with ten experts. The obtained data were summarized by content analysis.

From the study, the following results are found:

1) Context, problems, and causes for competency development of mediators at Phra Khanog Criminal Court are as follows: (1) Training problems that still have not been properly addressed; (2) Problems with insufficient access to information, with some information being incorrect; (3) Problems with the assessment of processes used to test the competencies of mediators; (4) Lack of support or failure to meet the requirements of mediators; and (5) Insufficient or incorrect management in developing the mediators’ competencies.

2) The Buddhadhamma favorable to the development of mediators at Phra Khanong Criminal Court, includes: Ariyasacca (the four noble truths), which consists of dukkha (suffering), refers to problems in access to information, communication across agencies, and competency development; Samudaya (the cause of suffering) refers to the competency development for mediation in the current Phra Khanong Criminal Court, which is constantly changing, increased mediation skills to respond appropriately to the mediator's requirements; Nirodha (the cessation of suffering) refers to the delay in communication between the relevant authorities and the lack of alignment in understanding. Solving all these problems leads to the competency development to perform the job efficiently; and Magga (the path leading to the cessation of suffering) refers to the competency development of mediators in order to increase their confidence in performing their job through activities such as criminal case management, problem-solving skills, teamwork skills,and leadership skills.

3) There are 6 processes for competency development of mediators at Phra Khanong Criminal Court based on the Buddhist peaceful means in order to increase efficiency in mediating criminal cases as follows: (1) The first process is to promote morale, develop skills and knowledge, create a learning environment, and encourage cooperation within teamwork; (2) The second process is to integrate Buddhadhamma into the potential development of officers so that they can perform their job fairly and successfully; (3) The third process is to arrange meditation retreat in order to enhance the morality of the participants; (4) The fourth process refers to the results of developing the management skills of personnel at Phra Khanong Criminal Court according to Ariyasacca, where the quality of operation has been improved by enhancing skill and knowledge, increasing efficiency, reducing errors, and boosting confidence in performing activities, resulting in quality and fair service; (5) The fifth process refers to a new body of knowledge about how to develop competency in mediating criminal cases using Buddhist peaceful means in order to improve efficiency in the criminal justice system, with a focus on reconciliation and offenders' rehabilitation. Understanding and forgiveness play a crucial role in promoting a fair society; and (6) The sixth process refers to following up the competency development of mediators at Phra Khanong Criminal Court based on the Buddhist peaceful means, which shows that mediation efficiency has been improved by developing skills, creating a learning environment, measuring and evaluating competency on a regular basis, and creating tools to track information. All of these are necessary for properly addressing criminal cases and preventing risk. 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ