-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement of Religious Education on Dhamma Section of Sangha, Mueang District, Ratchaburi Province
- ผู้วิจัยพระครูวินัยธรพิชิตศักดิ์ สุทฺธิจาโค
- ที่ปรึกษา 1พระครูวาทีวรวัฒน์, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหากังวาล ธีรธมฺโม, ผศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา05/04/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50593
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 103
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (2) เปรียบเทียบระดับปฏิบัติการที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากพระสงฆ์กลุ่มตัวอย่างในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 277 รูป วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๙ รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์เมือง จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.96 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสถานที่และสิ่งแว้ดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.61
2. ผลการเปรียบเทียบ การจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์เมือง จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สถานภาพ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และพรรษา มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยส่วนบุคคลของพระภิกษุ วุฒิการศึกษาสามัญ และด้านวุฒิการศึกษาพระปริยัติธรรม มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการงานศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า ครูสอนพระปริยัติธรรมบางรูปบางสำนักยังขาดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบางสำนักเรียนขาดแคลนสื่อการสอนทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โปรเจคเตอร์ เป็นต้น บางสำนักเรียนยังขาดการวัดผลและประเมินผลด้วยแบบทดสอบระหว่างเรียนหรือหลังจบบทเรียน และบางสำนักเรียนขาดแคลนงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การศึกษาให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ คณะสงฆ์ควรจัดการนิเทศอบรมเทคนิคการสอนแก่ครูสอนพระปริยัติธรรม โดยมุ่งให้ความสำคัญของผู้เรียนเป็นหลัก ทุกสำนักเรียนควรสนับสนุนปรับใช้สื่อการสอนที่ทันสมัยเพื่อสร้างความสนใจของผู้เรียน สำนักเรียนควรส่งเสริมให้มีการทำแบบทดสอบก่อนเรียน-ระหว่างเรียน-หลังจบบทเรียน และคณะสงฆ์ควรสนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดซื้อวัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาตามจำนวนผู้เรียนอย่างเพียงพอ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research were (1) to study the level of management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province, (2) to compare the action level on the management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province by classifying according to personal factors, and (3) to study problems, obstacles, and suggestions for the management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province. The study was the mixed method research between quantitative and qualitative research. In term of quantitative research, it used the questionnaire as the tool to collect the data in the field study from 277 sample monks in Mueang District at Ratchaburi Province. The data were analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, F-test, one-way analysis of variance. In term of qualitative research, using the documentary analysis and interview as the tools to collect the data in the field study from 9 key informants and analyzed the data through the content analysis technique.
The research results found that:
1. Management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province in overall, it was at a moderate level with an average of 2.96. When considering each aspect, it was found that in every aspect was at a moderate level. The aspect with the highest average was the location and environment aspect with an average of 3.31. The aspect with the lowest average was the teaching media aspect with an average of 2.61.
2. Comparative results of the management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province by classifying according to personal factors, it was found that status had an effect on the opinion of the management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province was significantly different level at 0.01. The personal factors of the people, namely age and years of ordination, had an effect on the opinion of the management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province was significantly different level at 0.05, and the personal factors of monks, namely general educational qualification and Dhamma educational qualification had an effect on the opinion of the management of religious education on Dhamma section of Sangha, Mueang District at Ratchaburi Province was not different.
3. Problems, obstacles, and suggestions: it was found that some of Pariyatti Dhamma teachers still lacked the ability to organize teaching and learning that focuses on students, some schools lacked of modern teaching materials such as computers, projectors, etc., some schools still lacked of measurement and evaluation with during class tests or after the lesson, and some schools lacked of the sufficient budget to purchase educational materials for the number of students. As for the suggestions, the Sangha should organize training and supervision in teaching techniques for Pariyatti Dhamma teachers by focusing on the importance of the students as the main focus, every school should support the use of modern teaching media to create student interest, the school should encourage testing before class, during class, and after the lesson, and Sangha should support a budget for purchasing educational materials or equipment according to the number of students adequately.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|