โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Construction Management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province
  • ผู้วิจัยพระดำรงค์ สุปญฺโญ (ธุระวงศ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหากังวาล ธีรธมฺโม, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูวิสุทธานันทคุณ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา05/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50596
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 119

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีภูมิลำเนาในตำบลนางแก้ว อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 371 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธารา จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 และด้านการพัฒนาวัด อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46

2. ผลการเปรียบเทียบการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธารา จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ มีการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธารา จังหวัดราชบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ รายได้ มีการจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธารา จังหวัดราชบุรี ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. ปัญหา อุปสรรค ได้แก่ การจัดการงานสาธารณูปการของคณะสงฆ์ ตำบลนางแก้ว อำเภอโพธารา จังหวัดราชบุรี พบว่า วัดขาดการวางแผนผังของวัด การสร้างถาวรวัตถุที่เหมาะสม ขาดบุคลากรที่มีความรู้ในการจัดทำบัญชีการเงินของวัด ขาดการวางแผนล่วงหน้าในการพัฒนาวัด ขาดการประชาสัมพันธ์ และขาดความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร ชุมชน ในการพัฒนาวัดในด้านต่าง ๆ และข้อเสนอแนะ ได้แก่ วัดควรมีการวางแผนผังของวัด ในการสร้างถาวรวัตถุที่เหมาะสม วัดควรมีการขอความร่วมมือกับองค์กร หรือหน่วยงาน ที่สามารถช่วยเหลือให้ความรู้ความเข้าใจกับพระภิกษุ หรือบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการจัดทำบัญชีการเงินของวัด ควรมีการวางแผนล่วงหน้าในการพัฒนาวัด มีการประชาสัมพันธ์ และหาความร่วมมือกับหน่วยงาน องค์กร ชุมชน ในการพัฒนาวัด และควรมีการพัฒนาพระภิกษุในวัดให้มีความรู้ในด้านต่าง ๆ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purposes of this research were (1) to study the level of construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province, (2) to compare the construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province by classifying according to personal factors, and (3) to study problems, obstacles, and suggestions for the construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province. The study was the mixed method research between quantitative and qualitative research. In term of quantitative research, it used the questionnaire as the tool to collect the data in the field study from 371 people aged 18 years and over who were domiciled in Nang Keow Sub-district, Photharam District, Ratchaburi Province. The data were analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, F-test, one-way analysis of variance. In term of qualitative research, using the documentary analysis and interview as the tools to collect the data in the field study from 9 key informants and analyzed the data through the content analysis technique.

The research results found that:

1. Level of construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province in overall, it was at a high level with an average of 4.49. When considering each aspect, it was found that construction and restoration of buildings was at the highest level with an average of 4.54, the aspect of maintaining and managing the temple's religious properties was at a high level with an average of 4.48 and the aspect of temple development was at a high level with an average of 4.46.

2. Comparative results of the construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province by classifying according to personal factors, it was found that personal factors namely age, education and occupation had effected the construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province was significantly different level at 0.01, while personal factors namely gender and income had effected the construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province was not different, therefore the research hypothesis was rejected.

3. Problems, obstacles, and suggestions for the construction management of Sangha in Nang Keow Sub-District, Photharam District, Ratchaburi Province, it was found that the temple lacked of temple planning, proper construction of permanent objects, lacked of personnel with knowledge in preparing financial accounts of the temple, lacked of advance planning for temple development, lacked of public relations, and lacked of cooperation with agencies, organizations, communities in developing temples in various aspects. As for the suggestions, included that the temple should have a proper temple plan for creating permanent objects, the temple should request cooperation with organizations or agencies that could help provide knowledge and understanding to the monks or personnel responsible for preparing the temple's financial accounts, there should be advance planning for temple development by publicizing and seeking cooperation with agencies, organizations, communities for temple development, and there should be development of monks in the temple to have knowledge in various fields.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ