-
ชื่อเรื่องภาษาไทยบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส)
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Role of Welfare Education Management of Phrakhru Phawana Inthawong (Chalieo Indawaungso)
- ผู้วิจัยพระชยพล กลฺยาโณ (คีรี)
- ที่ปรึกษา 1พระครูวาทีวรวัฒน์, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระมหากังวาล ธีรธมฺโม, ผศ.ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา05/04/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50599
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 351
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการปฏิบัติในบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) (2) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติของประชาชนต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของ พระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนในตำบลดอนทราย อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการสงเคราะห์ให้เด็กและประชาชนได้รับการศึกษาในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนตามแผนการศึกษาแห่งชาติ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการศึกษาเป็นโรงเรียนตามแผนการศึกษาแห่งชาติ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการสงเคราะห์เกื้อกูลแก่การศึกษา สถาบันการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47
2. ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ วุฒิการศึกษาสามัญ อาชีพ และรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนด้านอายุ มีผลให้ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญที่ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาบทบาทการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของพระครูภาวนาอินทวงศ์ (เฉลียว อินฺทวํโส) พบว่า ภาครัฐและภาคคณะสงฆ์ยังขาดการสนับสนุนช่วยเหลือ และปฏิรูปการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษา พระสงฆ์ยังมีน้อยและมีข้อจำกัดร่วมเป็นกรรมการบริหารสถานศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมดทำให้การขับเคลื่อนด้วยกลไกลทางคณะสงฆ์ไม่ได้รับการผลักดันในการศึกษาเท่าที่ควร ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ภาครัฐและภาคคณะสงฆ์ควรให้การสนับสนุน และมีการปฏิรูประบบการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางการศึกษาทั้งของภาครัฐและของคณะสงฆ์
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of research paper were: (1) To study the level of practice in the role of welfare education management of Phrakhru Phawana Inthawong (Chaliew Indawangso) (2) results of comparing the people's practices towards the role of welfare education management of Phrakru Phawana Inthawong (Chaliao Indawangso) classified according to personal factors and (3) to study problems, obstacles, and suggestions for the role of welfare education management of Phrakru Phawana Inthawong (Chaliew Indawangso) has a research method that is a combined research method. In terms of quantitative research A questionnaire was used as a tool to collect field data from 384 people in Don Sai Subdistrict, Pak Tho District, Ratchaburi Province. Data were analyzed by finding frequencies, percentages, means, and standard deviations. Hypotheses were tested by t-test, F-value, one-way analysis of variance. And in the qualitative research section, documents were analyzed. The interview form was used as a tool to collect field data from 9 key informants or people and analyzed the data using content and context analysis techniques
The research results found that:
1. the role of welfare education management of Phrakru Phawana Inthawong (Chaliao Indawangso) overall is at a high level. The average value was 3.62. When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest average was the aspect of helping children and citizens to receive education in public or private educational institutions according to the National Education Plan. at a high level It has an average of 3.76, followed by the aspect of organizing education as a school according to the National Education Plan. at a high level has an average value of 3.76, while the aspect with the lowest average value is education support. educational institution or educational personnel is at a moderate level has an average of 3.47
2. The results of comparing the level of practice towards the role of welfare education management of Phrakru Phawana Inthawong (Chaliew Indawangso) found that personal factors, including gender, general educational qualifications, occupation, and income, have an effect on public opinion. towards the role of welfare education management of Phrakru Phawana Inthawong (Chaliew Indawangso), overall there is no difference Therefore, the research hypothesis was rejected. As for age, it resulted in people's opinions towards the role of welfare education management of Phrakru Phawana Inthawong (Chaliew Indawangso) as a whole being significantly different at 0. .05 therefore accepts the research hypothesis.
3. Problems, obstacles, and suggestions for developing the role of welfare education management of Phrakru Phawana Inthawong (Chaliao Indawamso) found that the government sector and the monastic sector still lacked support. and reform education that is consistent with Thai social and economic conditions, which are important factors in education. There are still few monks and there are restrictions on participating on educational institution executive committees. When compared to the proportion of the total number of committees, the mechanism of the Sangha is not driven as much as it should be in education. As for suggestions, the government and monastic sectors should provide support. And there is reformation of the educational system that is consistent with Thai social and economic conditions, which is an important factor in the development of education for both the government and the Sangha.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|