-
ชื่อเรื่องภาษาไทยสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วน ตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษSenior Citizen Welfare Administrative Achievement of Lumkhao Sub-District Administrative Organization, Nonsung District, Nakhonratchasima Province
- ผู้วิจัยพระสมุห์สมประสงค์ ปริชาโน (ตุ้มทอง)
- ที่ปรึกษา 1ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
- ที่ปรึกษา 2ผศ.ดร.อนุวัต กระสังข์
- วันสำเร็จการศึกษา14/03/2019
- ส่วนงานจัดการศึกษา:บัณฑิตวิทยาลัย
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/506
- ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 393
- จำนวนผู้เข้าชม 478
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 4. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะผู้สูงอายุเกี่ยวกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.993 สำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลหลุมข้าว จำนวน 322 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.18, S.D. = 0.496) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านระบบการจัดการที่ทันสมัย อยู่ในระดับมากทุกข้อคือ (X̅ = 4.18, S.D. = 0.492) ด้านผู้สูงอายุได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากรัฐและชุมชน (X̅ = 4.17, S.D. = 0.521) ด้านผู้สูงอายุและประชามีความพึงพอใจ (X̅ = 4.23, S.D. = 0.417) ด้านสถานที่รองรับผู้สูงอายุ (X̅ = 4.16, S.D. = 0.529)
1. ระดับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.18, S.D. = 0.496) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านระบบการจัดการที่ทันสมัย อยู่ในระดับมากทุกข้อคือ (X̅ = 4.18, S.D. = 0.492) ด้านผู้สูงอายุได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากรัฐและชุมชน (X̅ = 4.17, S.D. = 0.521) ด้านผู้สูงอายุและประชามีความพึงพอใจ (X̅ = 4.23, S.D. = 0.417) ด้านสถานที่รองรับผู้สูงอายุ (X̅ = 4.16, S.D. = 0.529)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มี อายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนผู้สูงอายุที่มี เพศ การศึกษา และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสัมฤทธิผลการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (R=0.940)
4. ปัญหา อุปสรรค การจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา คือ 1) ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบบริการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ช้า 2) ขาดงบประมาณสำหรับดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี และให้อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3) ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแล ต้องอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา ในอนาคต สังคมไทยอาจกลายเป็นสังคมตะวันตกคือ ต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่มีการทดแทนบุญคุณ บุตรหลานโตขึ้นก็จะไม่เลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อแก่ชรา 4) ผู้สูงอายุขาดการดูแลที่อยู่อาศัยให้สะอาด ถูกหลักอนามัย ข้อเสนอแนะคือ 1) ควรส่งเสริมและสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมศักยภาพแก่กลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุ จัดอบรมให้ความรู้ต่างๆ 2) ควรพัฒนาบทบาทของคนในครอบครัวและคนในชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ 3) ควรให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูงอายุ เช่น บุตรหลาน ญาติหรือเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องในสังคม ต้องให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแกผู้สูงอายุโดยการให้ข้อมูลเรื่องวิธีการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ให้คำแนะนำเรื่องปัญหาสุขภาพ หรือวิธีการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุอย่างทั่วถึง 4) ภาครัฐควรให้การสนับสนุนด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและ ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research is aimed 1. to study the senior citizen welfare administrative achievement of Lumkhao sub-district administrative organization, Nonsung district, Nakhonratchasima province, 2. to compare the opinions of the seniors on the senior citizen welfare administrative achievement of Lumkhao sub-district administrative organization, Nonsung district, Nakhonratchasima province classified by personal factors, 3. to study the relationship between well-being factors of the senior citizen and the senior citizen welfare administrative achievement of Lumkhao sub-district administrative organization, Nonsung district, Nakhonratchasima province, 4. to study the problems, obstacles, and suggestions for the seniors about the senior citizen welfare administrative achievement of Lumkhao sub-district administrative organization, Nonsung district, Nakhonratchasima province. The research methodology is mixed method by quantitative,which has both confidence values, is at 0.993 from the sample of 322 senior citizen in Lumkhao sub-district. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test, F-test, and One-Way ANOVA, Pearson correlation coefficient analysis, and qualitative research. Used in-depth interviews with 12 key informants, analyzed data by descriptive content analysis.
Research findings were as follows:
1. Achievement level for the senior citizen welfare administration of Lumkhao sub-district administrative organization, Nonsung district, Nakhonratchasima province, was overall at a high level (X̅ = 4.18, S.D. = 0.496). In each aspect, it was found that the modern management system was at a high level (X̅ = 4.18, S.D. = 0.492), the senior were well taken care by the government and community at a high level (X̅ = 4.17, S.D.= 0.521), the senior and citizen were satisfied at a high level (X̅ = 4.23, S.D.= 0.417), the senior citizen supported place was at a high level (X̅ = 4.16, S.D.= 0.529).
2. The comparison of opinions of the senior citizens on the classified by personal factors, it was found that the senior citizen with different ages had different opinions at the 0.01 level statistical significance. Thus it concordantly served the research hypothesis, As, the senior citizen who have different sex, education, and income, had not different opinions. Therefore, the research hypothesis was rejected.
3. The relationship between well-being factors of the senior citizen and the senior citizen welfare administrative achievement of Lumkhao sub-district administrative organization, Nonsung district, Nakhonratchasima province was found that well-being factors had a positive relationship with the senior citizen welfare administrative achievement in the overall at a high level (R = 0.940).
4. The problems, obstacles, and suggestions for the senior citizen welfare administrative achievement were; 1) the senior can access the service system with modern technology slowly, 2) lack of budget for senior care that they can live as long as possible, and good life quality, 3) the senior citizen were not cared for and had to use a nursing home. In the future, Thai society may become a Western society, which is they live separately, without mutual favor, no obligation, then the children growing up will not threat their parents when they are old, 4) lack of care for hygienic housing. Suggestions; 1) should promote and support the development and empowerment of senior care groups and provide training program for knowledges, 2) should develop the role of family members and community in the senior caring, 3) should have the person those who are close to the senior, such as children, relatives or society officials, must educate about health care by providing information on the correct health care methods, giving advice on health problems, or how to promote health for the elderly thoroughly, 4) The government sector should support the provision of knowledge about proper and safe housing arrangements for the senior citizen.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 9.97 MiB | 393 | 5 มิ.ย. 2564 เวลา 00:18 น. | ดาวน์โหลด |