โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษFactors Affecting Motivation for Performance of Chiang Mai Provincial Administrative Organization Personnel
  • ผู้วิจัยพระคุณานนต์ ปญฺญาวโร (ขุนวิเศษ)
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  • วันสำเร็จการศึกษา06/03/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50603
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 31

บทคัดย่อภาษาไทย

             สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

            วิธีการดำเนินการวิจัยการวิจัยแบบผสานวิธี  (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ  (Quantitative Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 196 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยมีการหาคุณภาพ โดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยโปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จำนวน 10 รูป/คน โดยวิเคราะห์แบบพรรณาโวหาร

               ผลการวิจัยพบว่า

            1. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักพุทธธรรม (สังคหวัตถุ 4) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.59, S.D. = 0.71) และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.59, S.D. = 0.75)

        2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

            3. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับแนวทางแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ขาดการปฏิบัติงานทำให้เกิดกำลังที่จะพัฒนางานให้ดีขึ้น บางคนความมุ่งมั่นพากเพียรของท่านในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ขาดความเป็นอิสระในการตัดสินใจทางการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย และข้อเสนอแนะแนวแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผลสำเร็จของงานมาจากความมุ่งมั่นพากเพียรของท่านในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติงาน ผู้บังคับบัญชาควรชื่นชมต่อผลการปฏิบัติงานมาจากความเสียสละและทุ่มเทของบุคลากร และผลสำเร็จของงานมาจากการที่ได้นำเอาความรู้ความสามารถและประสบการณ์มาใช้อย่างเต็มที่

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         This research has the following objectives: 1) to study the level of responsibility in the responsibility of supervisors of regional organizations 2) to compare the opinions of personnel on the level of motivation for the performance of personnel of the Chiang Mai Provincial Administration Organization. Classified by personal factors 3) to study the suggestions on motivation guidelines for the performance of personnel of the Chiang Mai Provincial Administration Organization.

           Methods for conducting research Mixed Methods Research during quantitative research (Quantitative Research) by using the sample group in the research, which is the personnel of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization, amounting to 196 people Which was obtained by random sampling method (Sample Random Sampling). The tool used to collect data was a questionnaire used in the research. By t-test, F-test, questionnaire data were analyzed by social science research software package The statistics used were frequency, percentage, mean (), standard deviation (S.D.) qualitative research (Qualitative Research) by the key informants 10 photos/person by descriptive analysis.

              The results showed that

          1. The level of work motivation of the personnel of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization, namely the Buddhist Principle (Sangkhahawatthu 4), was at the overall level at the highest level ( = 4.59, S.D. = 0.71). The performance of personnel in all 5 areas, overall, was at the highest level ( = 4.59, S.D. = 0.75).

            2. Comparison of the opinions of the personnel towards the level of motivation in the performance of the personnel of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization. Categorized by personal factors, namely gender, age, occupation and level of education, different opinions on the motivation to work of personnel. Overall, it's different. with statistical significance at the 0.05 level. Therefore, the research hypothesis was accepted.

         3. Problems and obstacles regarding the motivation guidelines for the performance of the personnel of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization found that the lack of performance caused the strength to develop the work better. Some of you, your diligence in carrying out various tasks. to achieve operational goals Lack of independence in making decisions in performing duties as assigned and suggestions on the motivation for the performance of personnel of the Chiang Mai Provincial Administrative Organization found that the success of the work comes from your perseverance in performing various tasks.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ