-
ชื่อเรื่องภาษาไทยประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Effectiveness of Elderly Welfare Management According to Buddhism of Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization San Pa Tong District Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนางฤดีมาศ วิชัย
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นพดณ ปัญญาวีรทัต
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
- วันสำเร็จการศึกษา06/03/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50605
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 58
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์การบริหารส่วนตำบล น้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง จำนวน 311 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,392 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุกับหลักภาวนา 4 โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท นำเสนอความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลักภาวนา 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.23, S.D. = 0.48) และระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.23, S.D. = 0.48)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ หลักภาวนา 4 โดยภาพรวม กับประสิทธิผลการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก (R = .882** ) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
3. แนวทางการบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุมีความจำเป็นที่จะต้องจัดบริการทุกด้านควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน การจัดการเรื่องของนโยบายสู่การปฏิบัติการ ในการใช้หลักภาวนา 4 นั้นถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากร้ายให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการที่ผู้สูงอายุอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตลอดถึงการเลือกที่จะดำเนินชีวิตได้ในรูปแบบของตนเองได้นั้นจะทำให้ผู้สูงอายุเป็นคนที่มีน้ำใจ มีจิตใจที่ดีงามและสามารถใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันและกัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis includes three objectives: 1) To investigate the effectiveness of the Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization's aged welfare administration in San Pa Tong District, Chiang Mai Province. 2) To examine the relationship between the Four Bhāvanās, the Principle Four Cultivations and the effectiveness of elderly welfare management by the Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization, San Pa Tong District, Chiang Mai Province; and 3) To propose guidelines for successful elderly welfare management based on Buddhist principles for the Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization, San Pa Tong District, Chiang Mai Province.
The research methodology employed in this study combines quantitative and qualitative approaches. Quantitative research involves a sample of 311 elderly individuals residing in the Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization area, selected from a total population of 1,392. Data analysis encompasses the determination of frequencies, percentages, averages, and standard deviation. Additionally, the study investigates the correlation between the effectiveness of elderly welfare management and between the Four Bhāvanās, the Principle Four Cultivations using the Pearson correlation coefficient method. Qualitative research is conducted through in-depth interviews with 9 key informants. Content analysis techniques are employed to provide context, and the findings are presented in an essay format. A frequency distribution table of key informant responses is included to complement and support the quantitative data.
The results revealed that
1. The effectiveness of elderly welfare management by the Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization in San Pa Tong District, Chiang Mai Province, was found to be high overall, particularly in relation to the Four Bhāvanās principles. This is reflected in the average score of (x̅=4.23 (on a scale of 1 to 5), with a standard deviation of 0.48.
2. The present study investigated the relationship between the Four Bhāvanās, the Principle Four Cultivations, and the efficacy of Buddhist-based aged welfare administration in the Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization, San Pa Tong District, Chiang Mai Province. In the Nam Bo Luang Subdistrict Administrative Organization, San Pa Tong District, Chiang Mai Province, a thorough examination of the Four Bhāvanās, the Principle Four Cultivations, and the efficacy of managing elderly welfare in accordance with Buddhism revealed a significantly strong positive relationship (R =.882**) at the 0.01 level. The results strongly support the research hypothesis.
3. Comprehensive services in every way, including the coordination of efforts across many sectors, should be included in the rules for managing the welfare of the aged. In the lives of the elderly, policy implementation based on the Four Bhāvanās, or the Principle Four Cultivations, is extremely important. With the help of this method, undesirable habits may be changed into positive ones, allowing senior citizens to live happily and harmoniously with others. It gives individuals the freedom to make decisions in line with their preferences, encouraging a thoughtful and sensible manner that aids in problem-solving and peaceful cohabitation with others.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|