โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะ ของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of Buddhadhamma Principles to Improve Public Service Quality of Mae Taeng District Office Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยนายอุเทน เขียวยะ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.นพดณ ปัญญาวีรทัต
  • วันสำเร็จการศึกษา06/03/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50606
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 60

บทคัดย่อภาษาไทย

           วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะ ของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะ ที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่มาใช้บริการงานสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test แบบ One Way ANOVA) เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

              ผลการวิจัยพบว่า

             1. ระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่   โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (𝑥̅=3.50, S.D.= 0.68) ระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง  (𝑥̅=3.48 S.D.= 0.65)

            2. เปรียบเทียบความคิดเห็นผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผู้รับบริการที่มี อายุ, สถานภาพ, อาชีพ  ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงปฎิเสธสมมุติฐาน ส่วนผู้รับบริการ เพศ, ระดับการศึกษา, รายได้เฉลี่ยต่อเดือน, งานที่มารับบริการ ต่างกัน มีความคิด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมุติฐาน

           3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะของที่ว่าการอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ควรจัดหาอุปกรณ์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการให้บริการ รวมถึงแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น แอปพลิเคชั่น thaid คือ แอปพลิเคชั่นสำหรับทำธุรกรรมภาครัฐ และเอกชนผ่านช่องทางดิจิทัล มีช่องทางประชาสัมพันธ์การให้บริการ เรื่องของเอกสาร หลักฐานในการขอรับบริการ สถานที่มีที่นั่งเพียงพอ มีการปรับลดขั้นตอนการบริการต่างๆ ให้บริการแบบ One Stop Service มีรถโมบายเคลื่อนที่สำหรับบริการให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่ไม่สามารถมารับบริการได้ อบรมเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจในกฎระเบียบ ให้บริการถูกต้องตาม ข้อบังคับ ของกระทรวงมหาดไทย พูดจาไพเราะกับประชาชนผู้มารับบริการ ควรมีเจ้าหน้าที่สื่อสารในเรื่องของภาษาให้กับประชาชนที่เป็น ชนเผ่า หรือกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มาขอรับบริการให้การบริการอย่างเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกัน สมกับคำที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับพี่น้องประชาชน

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            The purpose of this study is threefold: firstly, to assess the quality of public services provided by the Mae Taeng District Office in Chiang Mai Province, with a specific focus on conciseness; secondly, to investigate how the personal characteristics of service recipients, including age, gender, and education, influence their perceptions of the development of public service quality at the Mae Taeng District Office, with an emphasis on clarity and organization; and finally, To attain these objectives, the study will take a mixed-methods approach. The quantitative part includes a sample of 268 service users, data collecting via a trustworthy questionnaire, and analysis using statistical methods such as frequencies, percentages, averages, standard deviations,  t-tests, and one-way ANOVA. The qualitative component will include a sample of nine important informants, with in-depth interviews done for data collection and content analysis techniques used to extract significant insights.

             The results revealed that:

           1. Overall public service quality at the Mae Taeng District Office, Chiang Mai Province, is high (mean score: 𝑥̅= 3.50, standard deviation: 0.68). However, when evaluated using the principles of Sangahavatthu 4 (principles of kindly treatment), the quality falls to a moderate level (mean score: 𝑥̅= 3.48, standard deviation: 0.65).

             2. Examining variations in service quality judgments based on individual characteristics: While the general quality of public services at Mae Taeng District Office is good, the study looked at whether certain groups had different perspectives depending on personal factors such as age, status, or employment. Surprisingly, no significant differences were seen in this regard (p > 0.05). Gender, education level, average monthly income, and kind of service received all showed significant differences in service quality judgments (p < 0.05), supporting the hypothesis that these characteristics impact customer attitudes.

         3. Enhancing Public Service Quality at Mae Taeng District Office: Modernization: Invest in up-to-date technology and digital platforms to streamline service delivery. Examples include adopting online applications like the "thaid" government transaction app and facilitating private sector interactions through digital channels. Transparency and accessibility: Enhance service information dissemination through clear signage, accessible document requests, and adequate seating in service areas. Reduce procedural complexity by implementing One-Stop Service wherever feasible. For those unable to travel, consider mobile units for bedridden patients, the elderly, and the disabled. Staff training and conduct: Train officials thoroughly on service regulations, emphasizing compliance with Ministry of Interior guidelines. Encourage courteous communication with all service recipients, including the establishment of language interpreters for tribal and ethnic communities. Equity and inclusivity: Ensure that services are delivered equitably and fairly to all, regardless of background or status. This includes upholding the principle of "healing suffering and nourishing happiness" for the people.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ