โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชน บ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of Buddhist Principles for Community Forest Management Ban Pong Saeng Thong Khilek Subdistrict Mae Taeng District Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยนางสาวสุนันทา ธรรมเสนา
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ประเสริฐ ปอนถิ่น
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
  • วันสำเร็จการศึกษา06/03/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50612
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 40

บทคัดย่อภาษาไทย

        การวิจัยนี้ดำเนินการด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการป่าชุมชนของชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ทำการสัมภาษณ์ในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป่าชุมชน จำนวน 18 รูปหรือคน

              ผลการวิจัย พบว่า

           1. ป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ยังประสบปัญหาในเรื่องของหมอกควันไฟป่า และปัญหาเศรษฐกิจ สาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันไฟป่าเกิดจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ประกอบกับประชาชนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงยังมีการเผาป่าเพื่อหาพื้นที่ทำการเกษตรหรือเผาขยะมูลฝอย ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สำหรับปัญหาเศรษฐกิจ สาเหตุหลักเกิดจากความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร ประกอบกับประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทำให้รายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ การแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าและปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนบ้านปงแสงทอง ควรดำเนินการควบคู่กันไป โดยมุ่งเน้นไปที่การลดสาเหตุของการเกิดปัญหา

           2. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่  1) ด้านเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ มีป้ายโครงการป่าชุมชน ป้ายแนวเขตของป่าชุมชนหรือแผนที่ ป้ายรายชื่อคณะกรรมการป่าชุมชน ป้ายแผนปฎิบัติงานและระยะเวลาการทำงาน 2) ด้านการดูแลรักษาป่าชุมชน การป้องกันไฟป่าในหน้าแล้ง การรักษาป่าชุมชน จัดตั้งคณะกรรมการรักษาป่าชุมชน 3) ด้านการบำรุงและพื้นฟูป่าชุมชน การปลุกป่าชุมชน การจัดซื้อกล้าไม้ การสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าชุมชน สร้างฝายชะลอน้ำพเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าชุมชน 4) ด้านการศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทัศนศึกษาดูงาน ปลูกฝังกลุ่มเยาชนรักษ์ป่า มีป้ายชื่อพันธ์ไม้ป้ายชื่อความหมาย ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีโครงการบวชป่าชุมชน มีการจัดตั้งองค์กรป่าชุมชน และจัดทำแบบจำลองทางภูมิศาสตร์ป่าชุมชน

         3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปงแสงทอง  การนำหลักธรรมสัปปายะ 7 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการป่าชุมชน ได้แก่ ที่อยู่เหมาะสม การคมนาคมเหมาะสม การพูดคุยเหมาะสม บุคคลเหมาะสม อาหารเหมาะสม อากาศเหมาะสม อิริยาบถเหมาะสม ทำให้ชุมชนเข้าใจคุณค่าของป่าชุมชน เกิดการรักและหวงแหนป่าชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ ปลูกฝังจิตสำนึกของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรณรงค์ให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขกับธรรมชาติ อย่างยั่งยืนตลอดไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

            This research was conducted using qualitative research methods. The objectives are 1) to study the management of the community forest of Ban Pong Saeng Thong community, Khilek Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province 2) to study the application of Buddhist principles for the management of the community forest of Ban Pong Saeng Thong, Khilek Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province 3) To study the application of Buddhist principles for managing the community forest of Ban Pong Saeng Thong, Khilek Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province. The interviews were conducted among 18 people involved in community forest management.

            The research results found that

            1. Ban Pong Saeng Thong Community Forest, Khilek Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province There is still a problem with forest fire smog. and economic problems The main cause of forest fire smog problems is dry weather. In addition, people in the community and nearby areas also burn forests to find land for farming or to burn garbage. This results in air pollution and impacts on public health. for economic problems The main cause is the fluctuation in agricultural product prices. In addition, most people in the community work mainly in agriculture. resulting in insufficient income for subsistence Solving the problem of forest fire smog and economic problems of the Ban Pong Saeng Thong community Should be carried out in parallel By focusing on reducing the causes of problems.

             2. Application of Buddhist principles for the management of the community forest of Ban Pong Saeng Thong, Khilek Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province 1) Public relations aspect There is a sign for the community forest project. Community forest boundary sign or map Name board of the community forest committee Work plan sign and work period 2) Community forest maintenance Preventing forest fires in the dry season Preserving the community forest Establish a committee to preserve the community forest. 3) Maintenance and restoration of the community forest. Community forest awakening Purchasing seedlings Building a tree nursery Community forest landscape restoration Build a weir to slow down the water to create moisture for the community forest. 4) Education and knowledge transfer. Field trip to see work Cultivate a group of youths who love forests There is a label with the name of the plant, a label with meaning. Do a nature study route There is a community forest ordination project. A community forest organization has been established. and create a geographic model for community forests.

        3. Guidelines for applying Buddhist principles to the management of the Ban Pong Saeng Thong community forest. Applying the principles of Sappaya 7 to community forest management, including appropriate housing appropriate transportation The right conversation, the right person, the right food, the right weather, the right posture. Make the community understand the value of community forests There is love and jealousy for the community forest. Encourage communities to participate in forest preservation. Cultivate community awareness in conserving natural resources. and campaign for the efficient use of resources and live together peacefully with nature Sustainable forever.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ