โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษTemple Management of the Abbot in the Sangha Administrative Area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province
  • ผู้วิจัยพระครูภาวนาคุณาธาร (สุชิน คุณธโร)
  • ที่ปรึกษา 1พระราชสมุทรวชิรโสภณ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูวิสุทธานันทคุณ, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา05/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50616
  • ปรากฏในหมวดหมู่สารนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 456

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลภาคสนามจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างในตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที ค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพมีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านเป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์ อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.30 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ด้านปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.86

2. ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ เพศ  มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อาชีพ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้แก่ อายุ การศึกษา และรายได้ มีผลให้ความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบล  เขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน

3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า สภาพสังคมเศรษฐกิจไม่ดีส่งผลให้การก่อสร้างบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะของวัดไม่ก้าวหน้า คฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัดบางวัดนำปัญหาทางสังคมและยาเสพติดมาแพร่หลายในวัด และวัดยังขาดบุคลากรในการส่งเสริมการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร พร้อมยังขาดการดูแลรักษาเสนาสนะให้พร้อมใช้ ส่วนข้อเสนอแนะควรกำหนดแผนการก่อสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะตามความที่เหมาะสมควรประสานเจ้าหน้าที่รัฐ และเพิ่มความเข้มงวดเป็นพิเศษเกี่ยวกับการดูแลความประพฤติของคฤหัสถ์ที่อาศัยอยู่ในวัดควรส่งเสริมสนับสนุนด้านบุคลากรด้านการศึกษาทั้งพระภิกษุและสามเณรควรส่งเสริมการดูเสนาสนะตามหลักการของ “วัด 5ส.”

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The purposes of this research were (1) to study the level of temple management of the abbot in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province, (2) to compare the temple management of the abbot in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province by classifying according to personal factors, and (3) to study problems, obstacles, and suggestions for the temple management of the abbot in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province. The study was the mixed method research between quantitative and qualitative research. In term of quantitative research, it used the questionnaire as the tool to collect the data in the field study from 384 sample population in Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province. The data were analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), t-test, F-test, one-way analysis of variance. In term of qualitative research, using the documentary analysis and interview as the tools to collect the data in the field study from 9 key informants and analyzed the data through the content analysis technique.

The research results found that:

1. Temple management of the abbot in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province in overall, it was at a moderate level with an average value of 3.13. When considering each aspect, it was found that the aspect with the highest average value was the aspect involved in education, training, and teaching the Dhamma and Vinaya to monks and laypeople at a moderate level with an average of 3.30. As for the aspect with the lowest average value, namely the aspect of governing and monitoring the monks and laypeople living in the temple to follow the Dhamma and Vinaya, the rules of the Sangha, regulations or orders of the Sangha Supreme Council of Thailand at a moderate level with an average of 2.86.

2. Comparative results of temple management of the abbot in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province by classifying according to personal factors, it was found that the personal factors of the people, namely gender, had an effect on the opinion of the abbot's management of the temple in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province in overall was significantly different level at 0.01. The personal factors of the people, namely occupation, had an effect on the opinion of the abbot's management of the temple in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province in overall was significantly different level at 0.05. The personal factors of the people, namely age, education and income had an effect on the opinion of the abbot's management of the temple in the Sangha administrative area, Khao Cha-Ngum Subdistrict, Photharam District, Ratchaburi Province in overall was not different.

3. Problems, obstacles, and suggestions: it was found that poor social and economic conditions resulted in the construction and restoration of temple buildings not progressing. Laity living in some temples brought social problems and drugs prevalence in the temples, and the temple still lacked of personnel to promote education for monks and novices, and also lacked of facilities maintenance. As for the recommendations, plans for construction or restoration of buildings should be determined as appropriate and should be coordinated with government officials, and be especially strict about monitoring the laity’s behavior living in temples, should promote and support educational personnel for both monks and novices, should promote caring for residences according to the principles of “Temple 5S.”

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ