-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEducational Management Strategies according to Saraniya Dhamma of the Buddhist Sunday School of Mahachulalongkornrajavidyalaya University
- ผู้วิจัยพระมหาศุภชัย ปิยธมฺมชโย (ติวาปี)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สมศักดิ์ บุญปู่
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ระวิง เรืองสังข์
- วันสำเร็จการศึกษา29/04/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50635
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 82
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) พัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 3) เสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสาร และนำมาสร้างแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อนำไปสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน พัฒนากลยุทธ์โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 รูป/คน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มแรก ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ คือ ผู้บริหารและครูจำนวน 175 คน กลุ่มตัวอย่างที่สอง โดยการตรวจสอบกลยุทธ์ด้วยการแจกแบบสอบถามตามมาตรฐานการประเมิน 4 ด้าน คือ 1) ความเป็นประโยชน์ 2) ความเป็นไปได้ 3) ความเหมาะสม 4) ความถูกต้อง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 173 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีค่าความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า :
1. สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้านนโยบาย สภาพปฏิบัติจริง คณะทำงานมีการกำกับติดตามการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานของศูนย์ สภาพที่คาดหวัง คณะกรรมการมีลักษณะการทำงานเป็นทีม ด้านการบริหารสภาพที่ปฏิบัติจริง มีการเน้นการอบรมด้านคุณภาพเรื่องการจัดกิจกรรมการสอน สภาพที่คาดหวัง มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความเหมาะสม ด้านบุคลากร สภาพที่ปฏิบัติจริง ครูได้รับการอบรมเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการสอนมาก่อนปฏิบัติงานจริง สภาพที่คาดหวัง ครูมีจำนวนเพียงพอกับรายวิชาที่เปิดสอน ด้านวิชาการ สภาพที่ปฏิบัติจริง ความทันสมัยของสื่ออุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน สภาพที่คาดหวัง ความยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการจัดตารางสอน ด้านการเงิน สภาพที่ปฏิบัติจริง การจัดทำทะเบียนและสถิติต่างๆ อย่างเป็นระบบ สภาพที่คาดหวัง การจัดทำทะเบียนและสถิติต่างๆ อย่างเป็นระบบ
2. การพัฒนากลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยภาพรวม พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ได้แก่พันธกิจ โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความถูกต้อง ได้แก่ วิสัยทัศน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสม ได้แก่พันธกิจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ในระดับมาก ได้แก่ ความเป็นไปได้ ได้แก่ พันธกิจ
3. ผลการเสนอกลยุทธ์การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรม 6 ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ 1)วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าประสงค์ 4) กลยุทธ์ย่อย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์ส่งเสริมการบริหารจัดการนโยบายจัดการศึกษา (2) กลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายการจัดการศึกษา (3) กลยุทธ์พัฒนาศักยภาพบุคลากรและความร่วมมือทั่วทั้งองค์กรเพื่อการจัดการศึกษา (4) กลยุทธ์ส่งเสริมการใช้งบประมาณในการจัดการศึกษา 5) แนวทางการขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of the study are 1) to study the educational management situation of the Saraniya Dhamma of Buddhist Sunday School of Mahachulalongkorn-rajavidyalaya University, 2) to develop educational management strategies based on Buddhist principles at the Saraniya Dhamma of Buddhist Sunday School of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, and 3) to propose educational management strategies based on Buddhist principles at the Saraniya Dhamma of Buddhist Sunday School of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
This research is a mixed-methods study that includes qualitative research methods. It involves studying documents and constructing a semi-structured interview protocol to conduct in-depth interviews with 5 key informants. Additionally, strategies will be developed through group discussions with 10 qualified individuals, along with a quantitative research methodology framework. The sample groups consist of two groups. The first group involves studying the educational management situation of the Saraniya Dhamma of Buddhist Sunday School, comprising 175 administrators and teachers. The second group involves examining strategies through the distribution of a questionnaire based on assessment standards in four aspects: 1) benefit, 2) feasibility, 3) suitability, and 4) accuracy. This group includes 173 school administrators. Statistical analyses will employ means, percentages, standard deviations, and PNImodified.
The research results found that;
1. The management situation of the Buddhist Sunday School of Mahachulalongkorn-rajavidyalaya University can be described as follows. Policy Aspect: actual condition: the faculty members follow to the plans set by the center, and the committee functions as a cohesive team; expected conditions: the management focuses on quality training for teaching activities, with continuous improvement and development of curriculum as deemed appropriate. Management Aspect: actual condition: emphasis is placed on staff training in teaching methodologies and techniques before they commence their duties; expected conditions: there is enough teachers for the courses offered. Personnel Aspect: actual condition: teachers receive training in teaching techniques before starting their duties; expected condition: there is an adequate number of teachers for the subjects taught. Academic Aspect: actual condition: the teaching materials and equipment are modern and up-to-date; expected condition: There is flexibility and adaptability in scheduling classes. Financial Aspect: actual condition: Systematic registration and statistical records are maintained; expected condition: Systematic registration and statistical records are maintained consistently.
2. In developing educational management strategies based on Saraniya Dhamma at the Buddhist Sunday School of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, an overall assessment reveals as follows. The highest average score, at the highest level, is found in the aspect of "Benefit," specifically in the mission, ranked from highest to lowest, followed by "Accuracy," particularly in the vision, which has the highest average score. "Suitability," specifically in the mission, also ranks at the highest level. Conversely, the aspect with the lowest average score, at a high level, is "Feasibility," particularly in the mission.
3. The results of proposing educational management strategies based on the Saraniya Dhamma of Buddhist Sunday School of Mahachulalongkornrajavidyalaya University, consist of six parts: 1) Vision, 2) Mission, 3) Objectives, 4) Sub-strategies, which comprise four sub-strategies: (1) Strategy to promote educational policy management, (2) Strategy to enhance the efficiency of learning management processes in alignment with educational policies and objectives, (3) Strategy to develop staff capabilities and organization-wide collaboration for educational management, (4) Strategy to promote budget utilization in educational management, 5) Guidelines for implementing strategies, and 6) Conditions for success.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|