-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการจัดการความเครียดโดยใช้หลักอริยสัจ ๔ ของนิสิตมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลักพุทธจิตวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษStress Management Using the Four Noble Truths of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Students Based on Buddhist Psychological Principles
- ผู้วิจัยพระธีระพงษ์ ธีรปญฺโญ (สลายทอง)
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ
- วันสำเร็จการศึกษา05/03/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50637
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 40
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการความเครียดโดยใช้อริยสัจ 4 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาระดับการจัดการความเครียดโดยใช้อริยสัจ 4 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการความเครียดโดยใช้อริยสัจ 4 ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยจ าแนกตามสถานภาพ คณะ ชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสถานภาพครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน 316 รูป/คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัย พบว่า
1. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการความเครียดโดยใช้อริยสัจ 4 คือ เมื่อเกิดความเครียดจากความผิดพลาด นิสิตจะหาแนวทางแก้ไขอย่างสุดความสามารถ
2. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการจัดการความเครียดโดยใช้หลักอริยสัจ 4 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมระดับ มาก อยู่ที่ 4.02
3. นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่มี สถานภาพ คณะ ชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถานภาพครอบครัว แตกต่างกัน มีการจัดการความเครียดโดยใช้หลักอริยสัจ 4 ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this study consisted of 1) to study the methods of stress management using the Four Noble Truths of Mahachulalongkornrajavidyalaya University students; 2) to study the level of stress management using the Four Noble Truths of Mahachulalongkornrajavidyalaya University students; and 3) to compare the stress management using the 4 Noble Truths of Mahachulalongkornrajavidyalaya University students, with the classification of status, faculty, year, academic achievement and family status. The samples in this study comprised 316 students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University using stratified random sampling and simple random sampling methods. The tool of data collection was a questionnaire. Statistics used for data analysis were percentage (%), mean ( ) and standard deviation (S.D.), F-test, and One-way ANOVA.
The results of the study were as follows:
1. The most Mahachulalongkornrajavidyalaya University students had the methods for managing stress using the Four Noble Truths when stress has arisen frommistakes finding the solutions to the best of their ability.
2. Mahachulalongkornrajavidyalaya University students managed stress using the Four Noble Truths with an overall average of very high at 4.02.
3. Mahachulalongkornrajavidyalaya University students with status, faculty, year of study, academic achievement and family status was different with stress management using the Four Noble Truths at the statistically significant difference with 0.05 level.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|