โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี ของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Urban Wisdom under Bowon Framework by Buddhist Peaceful Means of Wat Sarod Community, Bangkok Metropolis
  • ผู้วิจัยนางสาวอำไพ กุลบุตรดี
  • ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา24/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50640
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 34

บทคัดย่อภาษาไทย

ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้ดำเนินการในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการวิจัยตามบันได 9 ขั้น (Action Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธธรรมที่เอื้อต่อรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธี และเพื่อพัฒนา และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ จัดสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 39 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาชุมชนวัดสารอดสามารถหลอมรวมบวรให้เป็นหนึ่งเดียว เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ส่งเสริม สนับสนุน เสียสละ พบปัญหาคนในชุมชนไม่ทราบว่าอะไรคือภูมิปัญญาของชุมชนที่มีความเป็นอัตลักษณ์ที่ชัดเจน  ชุมชนขาดศรัทธาต่อวัด การเข้าร่วมเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนยังให้ความสนใจน้อย ต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ชัดเจนและทราบโดยทั่วกัน ชาวชุมชนต้องการมีส่วนร่วม ต้องการแสดงออกด้านภูมิปัญญาผ่านงานประจำปี ผ่านกิจกรรม การแสดงนิทรรศการ OTOP เป็นต้น ต้องการให้มีพื้นที่สำหรับชาวชุมชนได้การขายของในงานประเพณี ต้องการให้ผู้นำชุมชนได้มีบทบาทในด้านภูมิปัญญาชุมชน และต้องการให้มีการประสานงานระหว่างบ้าน วัด ราชการ กับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

2) หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนเมือง คือ หลักอปริหานิยธรรม เป็นหลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรของชุมชนวัดสารอด มีกระบวนการเป็นข้อปฏิบัติที่เอื้อต่อการพัฒนาภูมิปัญญาอันดีงามอันจะนำไปสู่สันติสุข อันเป็นความสุขแท้ เป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบรูปแบบการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนภายใต้กรอบบวรของชุมชนวัดสารอด จะสามารถทำให้การพัฒนาการสืบสานภูมิปัญญาที่มีคุณค่าให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างยั่งยืนยาวนาน เป็นความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลเป็นนิจต่อเนื่องกัน ภายใต้การร่วมแสดงความคิดเห็น ปรึกษาหากำหนดเป้าหมายการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชนร่วมกัน สนับสนุน ส่งเสริม ให้ความร่วมมือ เสียสละ และดำเนินการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้กำหนดไว้ ร่วมกันรับผิดชอบในการตรวจคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก  ร่วมการพิจารณา คิดกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจในการพัฒนาภูมิปัญญาที่ดียิ่งขึ้น

3) การพัฒนาประเพณีชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรโดยพุทธสันติวิธีของชุมชนวัดสารอด ทำให้ได้ “KHAI Model” มีองค์ประกอบย่อย 4 ประการ ได้แก่ ไข่ฟองที่ 1 K=Knowledge ความรู้ถูก ไข่ฟองที่ 2 H=Highlight ปลุกให้เด่น ไข่ฟองที่ 3 A=Activity เน้นกิจกรรม ไข่ฟองที่ 4 I=Impression ทำให้ประทับใจ จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1) แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาต่าง ๆ ในชุมชนถูกรวบรวมไว้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน เป็นฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่มีการรวบรวมเก็บรักษาพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาชุมชนเอาไว้อย่างชัดเจน ความรู้ภูมิปัญญาชุมชนดั้งเดิมที่มีคุณค่ามีการจัดการส่งเสริมพัฒนาอย่างเป็นระบบ เห็นวิวัฒนาการภูมิปัญญาชุมชนที่บรรพบุรุษได้พยามยามสืบสาน พัฒนา รักษา ต่อยอดภูมิปัญญาชุมชนเหล่านั้นเอาไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป 2) ชูอัตลักษณ์นำเอาภูมิปัญญาชุมชนที่โดดเด่นมาเชิดชูให้เป็นอัตลักษณ์ทำให้เกิดการจดจำอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาชุมชน จนทำให้เกิดการกล่าวขานระลึกถึงอัตลักษณ์ของชุมชน ที่มีคุณค่าและมูลค่าในตัวเอง 3) สมัครสมาน ชุมชนทั้งบวรมีความสมัครสานสามัคคี ที่เกิดจากการได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิปัญญาชุมชน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทำให้ชุมชนภาคภูมิใจและร่วมใจกันร่วมกันสามัคคีกันเพื่อรักษาพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) สำราญสุข ภูมิปัญญาชุมชนทรงคุณค่าสามารถเสริมสร้างความสุขแก่คนในชุมชนทั้งบวร ทำให้ชาวชุมชนอยู่ดีกินดีมีความสุข กล่าวคือ ทำให้ชาวชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ มีความรู้ถูกต้อง มีความสุขที่ได้นำเอาภูมิปัญญาชุมชนมาเป็นส่วนในการดำเนินชีวิตที่สร้่งสรรค์ภายใต้ภูมิปัญญาชุมชน ภูมิปัญญาที่ช่วยชี้ทางสร้างความรู้ที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นทางสว่างในการดำเนินชีวิตแก่คนในชุมชน ทำให้ชาวชุมชนใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขอัตลักษณ์โดดเด่น เพื่อให้เกิดการน่าจดจำจนสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้เกิดขึ้นในชุมชนได้

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The dissertation was based on Ariyasacca (the Four Noble Truths) model under the 9-step research framework in order to obtain the information that met the research objectives. The study pursued the following objectives: 1) to examine the context, problems, needs, as well as concepts and theories about the development of urban wisdom under Bowon framework by Buddhist peaceful means; 2) to analyze the context, problems, needs, as well as concepts and theories about the model for the development of urban wisdom under Bowon framework by Buddhist peaceful means; 3) to examine the Buddhadhamma that is conducive to the model for the development of urban wisdom under Bowon framework by Buddhist peaceful means; and 4) to develop and present the model for the development of urban wisdom under Bowon framework by Buddhist peaceful means at Wat Sarod community in Bangkok. The study employed a qualitative research method. The instruments used for the study were a questionnaire, an in-depth interview, an academic seminar, a focus group discussion, non-participant and participant observation. The key informants included 39 people. The qualitative data were collected and analyzed using content analysis.

From the study, the following results were found: 1) The community wisdom of Wat Sarod is able to unify Bowon (villages, temples, and schools), leading to a mutual exchange of learning in which everyone supports, promotes, and makes sacrifice for one another. Problems identified among community members include a lack of knowledge of what community wisdom is and of clear identity, a lack of faith in temples, and a lack of interest in participating in the development of community wisdom. The study also found that more diversified public relations are required so that people may receive news and information clearly and thoroughly, and that the community is interested in expressing its wisdom through annual events, activities, OTOP exhibitions, etc. People require space to offer their products at traditional gatherings. Community leaders are also required to take on more duties connected to community wisdom, as well as more frequent collaboration between villages, temples, schools, and the government sector.

2) Aparihāniyadhamma (seven conditions of welfare) is the Buddhadhamma that is conducive to the model for the development of urban wisdom under Bowon framework by Buddhist peaceful means at Wat Sarod community. This requires a process of practice that promotes the development of wisdom, resulting in peace and real happiness. This is regarded as an important tool in designing the model for the development of urban wisdom under Bowon framework by Buddhist peaceful means at Wat Sarod community, which will lead to a valuable inheritance of wisdom that will benefit the community in a sustainable and prosperous way. The process involves sharing views and defining the goals of community wisdom development, promoting and encouraging collaboration, implementing decisions that have been made, taking responsibility and prioritizing the common good, and considering and developing strategies for co-making decision on community wisdom.

3) The development of urban wisdom under Bowon framework by Buddhist peaceful means at Wat Sarod community in Bangkok has resulted in a “KHAI model” (meaning egg) with the following four components: (1) The first egg “K” refers to Knowledge; (2) The second egg “H” refers to Highlight; (3) The third egg “A” refers to Activity; and (4) The fourth egg “I” refers to Impression. This development has led to a new body of knowledge in four areas: (1) Learning resources containing diverse community knowledge and a foundation for a body of knowledge. A resource in which valuable community wisdom has been utilized to promote systematic development, showing the evolution of community wisdom from previous generations that has been preserved and stored for future generations to study; (2) Highlighting identity through a distinct community wisdom that leads to the recognition of its value and self-worth; (3) Solidarity as Bowon brings about solidarity within the community, which results from participation in the development of community wisdom, i.e. the wisdom handed down from previous generations, which makes the community proud and unites in preserving community wisdom for the greatest possible benefit; and (4) Happiness as valued community wisdom could increase the happiness of people in the community, including villages, temples and schools. This makes people happy to eat and live as they have employment, income, accurate knowledge and the ability to integrate community wisdom into their lives. Community wisdom guides people within the community and creates the right views (Sammādiṭṭhi), which leads to happiness through the distinct identity of community wisdom. This results in recognition, which adds value to the community.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ