โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการให้การบริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพ: ศึกษากรณีสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of Mindfulness for Effective Student Services: A Case Study of Peace Studies Program’s Mahachulalongkornrajavidyalaya University
  • ผู้วิจัยพระเจตนิพิฐ พุทฺธญาโณ
  • ที่ปรึกษา 1พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา30/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50641
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 145

บทคัดย่อภาษาไทย

         งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักสติตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อเสนอการประยุกต์ใช้หลักสติเพื่อการให้บริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพของหลักสูตรสันติศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้รับบริการ จำนวน 13 รูป/ท่าน กลุ่มผู้ให้บริการ จำนวน 6 รูป/ท่าน กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 5 รูป/ท่าน รวม จำนวน 24 รูป/ท่าน วิเคราะห์ผลด้วยอุปนัยวิธี

ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า

1) บริบทสภาพปัญหาความต้องการและแนวคิดทฤษฎีการบริการของเจ้าหน้าที่หลักสูตรสันติศึกษาในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่การดูเลบริการนิสิตจำนวนมากทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ทำให้การดูแลบริการไม่ทั่วถึงได้ การให้บริการนิสิตต้องการให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด เจ้าหน้าที่ควรมีสติเป็นอย่างมาก มีสติตั้งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่ การสื่อสาร การประสานงาน รวมถึงการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนิสิต ต้องการให้มีการบริการผ่านทางการสื่อสารกลุ่มไลน์ใช้เทคโนโลยี ด้วยมีสติมุ่งมั่นเพื่อให้บริการประทับใจ

2) สติ หมายถึง ความระลึกได้ ความไม่ประมาท เป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุมการดำเนินการ พร้อมอยู่ ไม่เผลอ คุมใจไว้กับกิจหน้าที่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีสตินั้นคอยกำกับไม่ให้หลงลืม ระลึกรู้ไม่เลื่อนลอย สติเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงและเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ สติเป็นเกราะกันภัยไม่ให้เกิดปัญหา ความมีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่ว เกิดความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นผู้ไม่มักมากมีศรัทธาในการบริการ ไม่ทำความเบียดเบียนพยาบาท มีความพากเพียรในการทำงานและเป็นผู้มีปัญญา

3) การประยุกต์หลักสติให้เอื้อต่อการบริการนิสิตอย่างมีประสิทธิภาพของหลักสูตรสันติศึกษา นั้นสามารถสรุปได้ 8 ประการ ได้แก่ 1) มีสติคอยกำกับไม่ให้หลงลืมไม่ให้เลื่อนลอยในการงานบริการนิสิตด้วยความรับผิดชอบ 2) มีสติยึดเหนี่ยวจิตใจศรัทธาแน่วแน่ในงานบริการนิสิตด้วยหัวใจ ไม่มีความคับแค้นใจบริการนิสิตด้วยใจที่เป็นสุข 3) มีสติตื่นตัวกับการบริการนิสิตด้วยความกระตือรือร้นเพื่อความอำนายสะดวกรวดเร็ว 4) มีสติการสื่อสารในการบริการนิสิตด้วยทักษะการสื่อสารเพื่อรักษาความสัมพันธ์ให้ดี ไม่กระทบกระทั้ง ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง 5) มีสติตั้งมั่นทำงานบริการนิสิตตามหน้าที่รับผิดชอบโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น 6) มีสติในการแสดงออกในการให้บริการนิสิตด้วยความสำรวมยิ้มแย้มแจ่มใส 7) มีสติตั้งจิตแน่วแน่ในความดี มีศีล มีความเพียรเพื่อการบริการนิสิตด้วยความโปร่งใส และ 8) มีสติอยู่เป็นสุขเพื่อการบริการนิสิตในปัจจุบันด้วยความเป็นผู้มีปัญญา ทั้งนี้องค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยสรุปได้ 4 ประการ คือ 1) มีสติบริการดี 2) มีสติใช้วจีอ่อนหวาน 3) มีสติช่วยเหลือการงาน 4) มีสติประสานจริงใจ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the context, problems, needs, and theories of providing services to students based on modern science; 2) to examine the principle of mindfulness based on Theravada Buddhism; and 3) to propose an application of mindfulness to provide effective student services in the Peace Studies program. A qualitative research method was used in the study, in the form of a field study, which involved in-depth interviews with 24 key informants, including 13 service recipients, 6 service providers and 5 graduates. The study findings were analyzed using the inductive method.

The following findings were found:

1) According to the study, officers at the Peace Studies program nowadays provide services to a large number of students, both monks and lay people, making it difficult to provide thorough service. As few mistakes as possible must be made in the provision of services to students. Officers must be mindful and determined in the performance of their duties, communication, coordination, and preparation of documents pertaining to students. Services also include the use of technology for communication, such as the Line app, which must be handled mindfully in order to satisfy students.

2) Sati refers to mindfulness and carelessness. Mindfulness stimulates and controls behaviors, reminds individuals to be prepared, not to be reckless, and to focus their minds on thee current responsibilities. Additionally, it also monitors individuals not to be forgetful or absentminded. Mindfulness serves as a spiritual anchor, guiding individuals in cultivating other Dhamma principles in order to be awakened. It serves as a shield against problems forgetfulness, and restlessness, allowing individuals to be one-pointed and happy in the present moment. Officers in the Peace Studies program will thus be less greedy in their services, less exploitative, less vengeful, and more diligent in their duties, resulting in wisdom.

3) The application of mindfulness helps to provide more effective services to students in the Peace Studies program, which can be summarized in the following 8 components: (1) Using mindfulness to prevent forgetfulness or absent-mindedness, but instead taking responsibility in providing services to students; (2) Using mindfulness as a spiritual anchor, so that officers have a strong faith in providing services to students, and not having any resentment against students; (3) Using mindfulness to be awaken so that officers can provide services to students with enthusiasm and facilitate them quickly; (4) Using mindfulness in communication to maintain positive relationships and avoid bribes; (5) Using mindfulness to be awaken so that officers can provide services to students without considering the potential benefits or advantages; (6) Using mindfulness in expression with a smile and joyful attitude when providing services to students; (7) Using mindfulness to resolutely perform good deeds, cultivate morality, and make an effort to provide transparent services to students; and (8) Using mindfulness to be content in providing services to students in the present moment and being one with wisdom A body of knowledge obtained from the study consists of 4 aspects: 1) Using mindfulness to provide good services; 2) Using mindfulness to speak politely and kindly: 3) Using mindfulness to provide assistance; and 4) Using mindfulness to coordinate based on sincerity.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ