-
ชื่อเรื่องภาษาไทยกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวรโดยพุทธสันติวิธี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Building a Peaceful Family under the Bowon Power by Buddhist Peaceful Means
- ผู้วิจัยนางณัฐกิตติมา จิตรานุเคราะห์
- ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อุทัย สติมั่น
- วันสำเร็จการศึกษา25/04/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50672
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 21
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา สาเหตุ ความต้องการจำเป็นด้านครอบครัวสันติสุขในเขตพื้นที่แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการเสริมสร้างครอบครัว สันติสุขภายใต้พลังบวรโดยพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เอื้อต่อกระบวนการการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขภายใต้พลังบวรโดยพุทธสันติวิธี 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ในรูปแบบอริยสัจโมเดล มีขั้นตอนในการวิจัยตามแนวทางบันได 9 ขั้น โดยการศึกษาจากการลงพื้นที่จริง ประสานความร่วมมือภายใต้พลัง บ ว ร ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ด้านเนื้อหาแนวคิด ทฤษฎี วิธีการปฏิบัติที่ได้ผล การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) จำนวน 22 คน 2. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 ด้าน จำนวน 16 รูป/คน 3. กลุ่มสนทนากลุ่มย่อยจำนวน 6 รูป/คน การจัดวิพากษ์กระบวนการงานวิจัย (Research Criticism) และลงสู่ปฏิบัติจริง (Action Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลในการศึกษาการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขในรูปแบบทางพุทธศาสนา บูรณาการร่วมกับทฤษฎีสมัยใหม่ เพื่อออกแบบกระบวนการและเครื่องมือในการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข นำเอาธรรมลงไปทำเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ผลการวิจัย พบว่า 1.สภาพปัญหาและความจำเป็นของการดำเนินชีวิตร่วมกันเป็นครอบครัวของคู่สมรส ของชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) เป็นปัญหามาจากสถานะทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการขาดศีลธรรม ขาดความซื่อสัตย์ที่ไม่ยินดีพอใจในคู่สมรส และปัญหาด้านการขาดความตระหนักในหน้าที่ ส่งผล ต่อสัมพันธภาพในครอบครัวมีปัญหา นำไปสู่ครอบครัวแตกแยก มีผลกระทบทางด้านจิตใจและร่างกาย ไม่สามารถหาทางออกให้ชีวิตสมรสได้ จึงจำเป็นในการ แก้ไข ปรับปรุง ฟื้นฟู คู่สมรส ด้วยการเยียวยาครอบครัวด้วยการเสริมสร้างให้มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน ให้เกิดความรู้สึกที่ดี เพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างสันติสุข
2 หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนากระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข คือ หลักฆราวาสธรรม 4 ประกอบด้วย สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ โดยมีสติเป็นประธานในการปฏิบัติการของหลักธรรมทั้ง 4 ประการ เพื่อให้การดำเนินชีวิตร่วมกันในครอบครัวระหว่างคู่สมรสได้รู้จัก ความซื่อสัตย์ อดทนก้าวข้ามปัญและอุปสรรคไปได้ ให้อภัยฝึกตนข่มใจเพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน และให้รู้จักเสียสละ ใส่ใจในบริบทรอบ ๆ ตัวของทั้งสองฝ่ายคือสายสัมพันธ์ ของทั้งสองตระกูล
3. การพัฒนาและนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างครอบครัวสันติสุข ผ่านกิจกรรมเรียนรู้ 5 ประเภท สำหรับการดำเนินชีวิตร่วมกันระหว่างคู่สมรสให้เกิดสันติสุข โดยการนำกิจกรรม เสริมสร้างครอบครัวสันติสุข ลงไปพัฒนายังกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 ครั้ง ผลลัพธ์ที่ได้ ในเชิง การประพฤติปฏิบัติที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงประจักษ์ องค์ความรู้ที่ได้ คือ โมเดล “ครอบครัว สุกหรรษา” คู่สมรสมีสัมพันธภาพที่ดีในการดำเนินชีวิตร่วมกัน ชีวิตมีความสงบสุข ด้วยการพัฒนาการเสริมสร้างในทางที่เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ใส่ใจ ยอมเสียสละ ยอมเสียเปรียบ ใส่ใจตั้งสองตระกูล 2) เปิดใจ ส่งผลให้มีความมั่นคงทางจิตใจ พูดจริงทำจริง การดูแลด้านจิตใจกันมากยิ่งขึ้น และไม่เกิดความหวาดระแวงกัน 3) เข้าใจ รู้จักที่จะอดทน อดทนต่อ สิ่งเย้ายวนใจ เข้าใจในตัวตนของทั้งสองฝ่าย 4) วางใจ มีสัมพันธภาพที่ดียิ่งขึ้น มีความรู้สึกเชิงบวก เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้น 5) พันธสัญญาช่วยสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง ดำเนินชีวิตร่วมกัน ในครอบครัวระหว่างคู่สมรสจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล ในการดำเนินชีวิตครอบครัว ให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The dissertation consisted of the following objectives: 1) to examine context, problems, causes, and need for a peaceful family in Bang Khun Non Subdistrict, Bangkok Noi District, Bangkok, as well as theories on the process of building a peaceful family under Bowon power by Buddhist peaceful means; 2) to investigate the Buddhadhamma conducive to the building of a peaceful family under Bowon power by Buddhist peaceful means; and 3) to develop and present the process of building a peaceful family under Bowon power by Buddhist peaceful means. The study was based on Ariyasacca (the Four Noble Truths) model in accordance with action research method under the 9-step research framework. The data were collected through field research conducted in collaboration with local stakeholders using Bowon power. In addition, a documentary research approach was used, which involved exploring national and international research to learn about concepts, theories, and successful implementations. The study also included an in-depth interview with the following three groups: 1) 22 people living in Wat Mai community; 2) 16 specialists in five fields; and 3) 6 focus group participants. The research critique was conducted prior to performing the action research in order to collect data for the study on the development of a peaceful family based on Buddhism and modern science. The results were used to develop the process and tools to build a peaceful family. The Dhamma was implemented to make the most benefits and achieve the set objectives.
From the study, the following results are found:
1) Problems in living together as a family between spouses in the Wat Mai community are caused by economic status, a lack of morality, honesty and dissatisfaction of the spouse, and a lack of awareness of one's role. These problems affect family relationships and lead to family separation, as well as physical and mental health consequences. Since they are unable to find solutions to their marital problems due to lack of counselling and discussion, it is necessary to improve and restore their marital relationships by healing and promoting good relationships so that they can develop positive feelings for one another. This will have a positive impact on living together as a peaceful family.
2) The Buddhist peaceful means conductive to the building of a peaceful family include Gharāvāsa-dhamma (the four virtues for a good household life), which consist of sacca (truth and honesty), dama (taming and training oneself), khanti (tolerance), and cāga (generosity). Mindfulness will be the guiding principles for cultivating the virtues of the household life. This will enable spouses living together as a family to be honest, tolerant of problems and obstacles, self-taming to maintain positive relationships, making sacrifices and being mindful to the surrounding context of both sides.
3) The process of building a peaceful family was achieved through five types of learning activities for peaceful coexistence between spouses. These activities were carried out five times with the target groups. The results showed empirical changes in behavior. A body of knowledge gained is the “Suk Hansa Family” model. Spouses have positive relationships that they can coexist peacefully through the development of 5 areas, namely (1) Caring, making sacrifices, willing to be disadvantaged, paying attention to both families of spouse; (2) Being open-minded, leading to mental stability, putting words into action, taking care of one’s mentality and reducing doubts; (3) Understanding one another, being patient towards temptations, and understanding the identities of both sides; (4) Cultivating positive relationships, feelings, and empathy; and (5) Commitment, which helps build strong families. Spouses living together as a family must have a positive relationship with each other and help each other to create a lasting, peaceful family.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|