โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถานสำหรับการเจริญจิตตภาวนา โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน ตามแนวพุทธสันติวิธี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษWat Mai (Yai Paen)’S Landscape Architecture Setting as A Tool to Create Delightful Place for Mind Meditation Development Using Boworn–Power based on Buddhist Peaceful Means
  • ผู้วิจัยนางปิยะนันท์ เรืองฐิติชัยกุล
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.อุทัย สติมั่น
  • วันสำเร็จการศึกษา09/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50680
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 57

บทคัดย่อภาษาไทย

         ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นที่เกี่ยวกับการจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถาน สำหรับการเจริญจิตตภาวนา โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน ตามแนวพุทธสันติวิธี 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการจัดวางภูมิสถาปัตย์ ให้เป็นรมณียสถานสำหรับการเจริญจิตตภาวนา 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอกระบวนการการจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถานสำหรับการเจริญจิตตภาวนา โดยใช้พลังบวรเป็นฐาน ตามแนวพุทธสันติวิธี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดล มีขั้นตอนในการวิจัยตามแนวทางบันได 9 ขั้น โดยการศึกษาจากการลงพื้นที่จริง ประสานความร่วมมือภายใต้พลัง บวร ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ศึกษาเอกสาร (Documentary Research) ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศไทย และต่างประเทศ ด้านเนื้อหา แนวคิด ทฤษฎี วิธีการปฏิบัติที่ได้ผล เข้าร่วมเรียนรู้ รวมถึงการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) การจัดวิพากษ์กระบวนการวิจัย (Research Criticism) และลงสู่ปฏิบัติจริง (Action Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลในการศึกษาจัดวางภูมิสถาปัตย์ตามแบบพุทธศาสนา บูรณาการร่วมกับทฤษฎีสมัยใหม่เพื่อให้ได้การจัดวางการออกแบบพื้นที่ให้เป็นรมณียสถาน นำเอาธรรมะลงไปทำเพื่อรับใช้ชุมชน และสังคมให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ผลการวิจัยพบว่า

         1) สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น ของชุมชนวัดใหม่ (ยายแป้น) เป็นปัญหาจากสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความเครียด ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว การไม่มีพื้นที่สีเขียว ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบทั้งทางด้านจิตใจ และร่างกาย ปัญหาการขาดแคลนที่จอดรถ จึงอาศัย
ลานปูนของวัดเป็นที่จอดรถ ดังนั้น การจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถานสำหรับการเจริญจิตตภาวนา จะทำให้เกิดสุขภาวะภายในที่ดี ช่วยลดปัญหาทั้งทางกายภาพและ
จิตตภาพของคนในชุมชนได้

           2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถาน คือ สัปปายะ 4 ประกอบด้วย 1) อาวาสสัปปายะ การออกแบบการจัดวางภูมิสถาปัตย์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของวัดและชุมชน 2) ปุคคลสัปปายะ การมีส่วนร่วมของพลังบวรในการพัฒนา บำรุงรักษา การจัดวางภูมิสถาปัตย์ให้เป็นรมณียสถาน 3) โภชนสัปปายะ การช่วยเหลือแบ่งปันกันด้านอาหารภายในชุมชน 4) อุตุสัปปายะ การออกแบบภูมิสถาปัตย์ ให้มีช่องให้ลมพัดผ่านจากคลองบางกอกน้อย เข้าสู่สวนป่ารมณียสถานของวัดใหม่ (ยายแป้น)

          3) พัฒนาและนำเสนอ แบบการจัดวางภูมิสถาปัตย์ของวัดใหม่ (ยายแป้น) ให้เป็นรมณียสถาน สำหรับการเจริญจิตตภาวนา โดยใช้พลังบวรเป็นฐานตามแนวพุทธสันติวิธี โดยนำกิจกรรม “ปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ” ลงไปพัฒนายังกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจาก
พลังบวร และความรู้สึกในการเป็นเจ้าของสวนป่ารมณียสถาน
องค์ความรู้ที่ได้ คือ ROMANEE Model ประกอบด้วย R: Relax คือ ผ่อนคลาย, O: Organizing คือ จัดระเบียบ, M: Mindfulness คือ การมีสติ, A: Architecture คือ สถาปัตยกรรม, N: Naturopathy คือ ธรรมชาติบำบัด,
E: Empowerment คือ พลังบวร และ E: Environment คือ สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

         This dissertation aims to research the following objectives: 1) To study the context, problem situation and necessary requirements related to the Wat Mai (Yai Paen)’s landscape architecture setting as a tool to create delightful place for Mind Meditation Development using Boworn–Power based on Buddhist Peaceful Means; 2) To analyze contemporary theories and principles of new-era science and the Buddhist approach that support landscape architecture; and 3) To develop and present landscape architecture setting as a tool to create delightful place for Mind Meditation Development using Boworn–Power based on Buddhist Peaceful Means. The research employed Action Research which was based on Ariyasacca (The Four Noble Truths) model under the 9 step framework. The study conducted field trip and collaborated with all stakeholders in the areas under the ‘Boworn–Power’ (villages, temples, schools). The documentary research, employing relevant research works both within Thailand and in other countries, was also conducted to investigate contents, concepts, theories, and effective methods of practice. Participation observation, in–dept interview, research criticism and action research were utilized to collect data on Buddhist landscape architecture cultivation integrated with modern science. All of this data were used to design the landscape architecture to create delightful place. The Dhamma was integrated to serve and benefit the community and society, and the set objectives were met successfully.

From the dissertation, the following results are found:

          1) The problems and necessities of Wat Mai (Yai Paen) community are caused by economic situations, which cause conflict among family members, there is no green space, dust problem PM2.5, impacting both physical and mental aspects, parking space shortage problem, therefore they use the temple’s cement courtyard as a car parking space. As a result, the Wat Mai (Yai Paen)’s landscape architecture setting as a tool to create delightful place for Mind Meditation Development, which will result in good inner well–being in order to decrease the community’s physical and mental problems.

          2) The Buddhist Peaceful Means conductive to Wat Mai (Yai Paen)’s landscape architecture setting as a tool to create delightful place is Sappaya 4, consisting of 1. Sappaya Monastery, landscape architecture design which meet the temple and community’s needs. 2. Pukkol Sappaya, participation of Boworn–Power in development, maintenance the landscape architecture to be delightful place
3. Bhojana Sappaya, helping and sharing food within the community. 4. Utu Sappaya, the landscape architecture is designed to have a channel for wind to pass from Bangkok Noi Canal into the forest garden of the Wat Mai (Yai Paen).

         3) From developing and presenting Wat Mai (Yai Paen)’s landscape architecture settings as a tool to create delightful place for Mind Meditation Development using Boworn–Power based on Buddhist Peaceful Means by bringing the activity of planting trees and planting Dhamma to develop the target group to create participation from the Boworn–Power and a sense of ownership of the Rommaniyasathan Forest Park. A body of knowledge obtained is ROMANEE Model, R: Relax, O: Organizing, M: Mindfulness, A: Architecture, N: Naturopathy, E: Empowerment, and E: Environment.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ