โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การพัฒนาทักษะชีวิตจากการเรียนชาดกสู่การปฏิบัติของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเชิงพุทธบูรณาการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Integrated Development of Life Skills from Learning Jātaka to Practicing of Upper Secondary School Students
  • ผู้วิจัยพระมหาฐานันดร์ สุทฺธิญาโณ (แก้วทอง)
  • ที่ปรึกษา 1พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  • วันสำเร็จการศึกษา04/01/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50682
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 530

บทคัดย่อภาษาไทย

             ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักพัฒนาทักษะชีวิตในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กระทรวงศึกษาธิการ (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมจากชาดกสำหรับใช้พัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (3)  เพื่อนำเสนอองค์ความรู้การพัฒนาทักษะชีวิตจากการเรียนชาดกสู่การปฏิบัติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

             สภาพปัญหาของนักเรียนในปัจจุบัน คือ ปัญหาความเครียดจากการเรียน  การใช้เวลากับสื่อสังคมมากเกินไปจนขาดความรับผิดชอบ และปัญหาสุขภาพจิต  กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตที่จะสร้างและพัฒนาภูมิคุ้มกันชีวิตให้กับนักเรียนไว้ 4 ด้าน คือ (1) การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น (2) การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  (3) การจัดการกับอารมณ์และความเครียด (4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้เข้มแข็ง เป็นพลเมืองที่มีประสิทธิภาพ สามารถรับมือความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ โดยจัดสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลาง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้เพิ่มทักษะชีวิตผ่านการเรียนการสอนชาดก  เรื่อง คือ เวสสันดรชาดก มโหสถชาดก และมหาชนกชาดก ตามลำดับ  ซึ่งมีหลักพุทธธรรม 4 อย่าง คือ ทาน ปัญญา วิริยะ และศีล

            องค์ความรู้การพัฒนาทักษะชีวิตจาการเรียนชาดกสู่การปฏิบัติของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเชิงพุทธบูรณาการ  ได้นำทาน ปัญญา วิริยะ และศีล มาบูรณาการเข้ากับทักษะชีวิต 4 ด้าน คือ (1) การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นโดยมีวิริยะ ศีล ปัญญาและทานเป็นฐาน  (2) การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยมีปัญญา วิริยะ ศีล และทาน เป็นฐาน  (3) การจัดการกับอารมณ์และความเครียดโดยมีทาน วิริยะ ปัญญา และศีล เป็นฐาน และ (4) การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นโดยมีทาน ศีล ปัญญา และวิริยะ เป็นฐาน การรวมคุณลักษณะเหล่านี้ในการพัฒนาทักษะชีวิตสามารถช่วยให้นักเรียนสามารถนำชีวิตการศึกษาและชีวิตส่วนตัวไปในทิศทางที่แข็งแกร่ง โดยมีรากฐานความแข็งแรงในหลักพุทธธรรม จากองค์ความรู้   ATER MODEL  =  A(DSPV) + T(DPVS) + E(DPVS) + R(DPVS)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

              In this dissertation, three objectives were purposely made: 1) to study the concepts, theories, and principles for developing life skills in managing learning of upper secondary school students prescribed by Ministry of Education, 2) to study the principles of Buddhadhamma from Jātaka for applying in the development of life skills of upper secondary school students, and 3) to propose the Buddhist integrated body of knowledge on the development of life skills from learning Jātaka to practicing of upper secondary school students. This research employed the qualitative research methodology done by documentary research and in-depth interview where its contents was then analyzed through the descriptive analysis respectively. The research results were found that:

              The current problems faced by students were obviously caused by stress from studying, spending excessive time on social media resulting in lacking responsibility including mental health problem. Therefore, the Ministry of Education has prescribed four components of life skills aimed at fostering and developing students' resilience in four aspects as follows: (1) awareness and realization of one’s and others’ value, (2) critical thinking, decision making, and creative problem solving, (3) dealing with one’s emotion and stress, (4) building good relationship with others for enhancing the quality of students, making them strong and effective citizens being capable of coping with societal changes through managing what needs to be inculcated and indicated including the group of social studies, religion, and  culture based on the core curriculum whereby upper secondary school students could be utilized to develop their life skills through teaching and learning three Jãtakas: Vessantara Jātaka, Mahosatha Jātaka, and Mahājanaka Jātaka; each of which is mainly rooted in the four core principles of Buddhism: charity, wisdom, perseverance and morality.

              As far as the Buddhist integrated body of knowledge on the development of life skills gained from learning Jātaka to practicing of upper secondary school students is concerned, the following Buddhadhamma, charity, wisdom, perseverance and morality are actively integrated with four kinds of life skills: (1) it needs awareness and realization of one’s and other’s value by which it is basically cultivated through perseverance, morality, wisdom, and charity, (2) it basically needs critical thinking, decision making, and creative problem solving through wisdom, perseverance, morality, and charity, (3) it basically deals with emotion and stress through charity, perseverance, wisdom, and morality, and (4) it basically builds up good relationship with others through charity, morality, wisdom, and perseverance. Once properly incorporated these characteristics in development of life skills, students’ ways of life, be they personal life or education, could be gradually strengthened by means of the strong foundation of Buddhadhamma derived from the body of knowledge named ‘ATER MODEL = A(DPVS) + T(DPVS) + E(DPVS) + R(DPVS)’ accordingly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ