โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    พุทธนวัตกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ยุคใหม่ในสังคมไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Food Consumption Innovations of New Age Monk on Thai Society
  • ผู้วิจัยพระอธิการประสงค์ คุณากโร (เขียนเสมอ)
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.บุญเลิศ โอฐสู
  • วันสำเร็จการศึกษา28/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50684
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 552

บทคัดย่อภาษาไทย

               ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎี การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ (2) เพื่อศึกษา สภาพปัจจุบันของการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ในสังคมไทย และ (3) เพื่อนำเสนอพุทธนวัตกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ยุคใหม่ในสังคมไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 23 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาข้อเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์

               ผลการวิจัยพบว่า : 1) การบริโภคอาหารตามศาสตร์สมัยใหม่มีพื้นฐานหลักโภชนาการ อาหารตามหลัก 5 หมู่ เพื่อช่วยสร้างให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยมีอัตราการบริโภคที่เหมาะกับวัยและสถานภาพของบุคคล 2) การบริโภคยุคใหม่ในโลกทุนนิยมส่งผลให้การบริโภคอาหารของพระสงฆ์เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพ และเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติศาสนกิจและการขัดเกลาจิตใจ และ 3) การบริโภคอาหาร ในทัศนะของพุทธศาสนาในบทพิจารณาอาหารและหลักโภชเนมัตตัญญุตาที่เป็นวิถีบริโภคของพระสงฆ์ โดยนัยยะของหลักพุทธธรรมที่เป็นพื้นฐานคือ หลักสติ ความไม่ประมาท และความพอประมาณ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่เป้าหมายการบริโภคอาหารคือการปฏิบัติขัดเกลาจิตใจอันเป็นความสำคัญสูงสุด

                พุทธนวัตกรรมการบริโภคอาหารของพระสงฆ์ยุคใหม่ในสังคมไทย ได้รูปแบบคือ ฉันเป็นธรรม อธิบายดังนี้ ฉัน คือ การเลือกบริโภคอาหารที่มีสัดส่วนต่อความต้องการทางด้านร่างกายตามข้อกำหนดของหลักโภชนาการ และการนำพระวินัยที่มีหลักสติและการรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ในบทพิจารณาอาหารมาเป็นเครื่องมือกำกับการบริโภคอาหาร เป็นคือการจัดการความรู้องค์จากความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหาร และนำไปสู่การลงมือปฏิบัติโดยการใช้สติเท่าทันการเห็น การได้กลิ่น การได้ลิ้มรส และการนึกคิดเมื่อต้องการบริโภคอาหารอีก คือ ฉันเป็นและ ธรรมคือ ผลที่เกิดจากการ ฉันเป็นคือการเกิดปัญญาทำให้เข้าใจเป้าหมายที่แท้จริงและนำไปสู่การลงมือปฏิบัติทำให้ร่างกาย เกิดความสมดุล โดยพระสงฆ์เองคือผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะการบริโภคอาหารเกิดผลทั้งสองด้านคือด้านร่างกายและด้านจิตใจช่วยสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลักของวิถีปฏิบัติของพระสงฆ์อย่างแท้จริง นั่นคือ ได้คุณค่าทางอาหาร และได้ประโยชน์ในการพัฒนาจิตใจ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               In this dissertation, three objectives were purposely made: 1) to study the concepts and theories of food consumption according to nutritional principles, 2) to study the current states of food consumption of Buddhist monks in Thai society, and 3) to propose the Buddhist innovation on food consumption of Buddhis monks in the new age in Thai society. This research employed the qualitative research methodology done by studying documents and related research works including in-depth interview of twenty-two scholars and then contents analysis was also made through the descriptive analysis.

The research results were found that:

               1) the consumption of food according to modern science is basically founded on the five groups of nutritional principles in order to strengthen the body through proportion of consumption based on personal age and status, 2) it shows that the modern consumption in the capitalist world has obviously resulted in the consumption of food by Buddhist monks causing health problems giving rise to the obstacles to the religious practices and mental purification, and 3) when it comes to food consumption in the viewpoint of Buddhism through the principle of food consideration and principle of moderation on food-eating where they are practically regarded as Buddhist monks’ ways of eating, they basically refer to the foundation of Buddhist principles, mindfulness and care, and moderation whereby they could be utilized to be the alternative tools leading to the real aim of food consumption, that is, purification of one’s mind by which it is ideally held as the absolute goal.

               As far as the Buddhist innovation on food consumption of Buddhist monks in the new age in Thai society is concerned, the proposed model is named as “Eat As Dhamma” meaning that "Eat" choosing to consume food which is proportional to one’s physical needs according to nutritional requirements and the Vinaya principles of mindfulness and moderation in consuming food consumption should be put into action where the consideration of food consumption is held  as a tool for regulating food consumption,As” means that one should know how to eat by which is knowingly managed by understanding of food consumption choices leading to action through mindfulness when one sees, smells, tastes, and thinks about, and when one wants to consume food again which would provide the knowledge that “ Know how to eat”, and  "Dhamma" is the result of " Know how to eat ", which is the emergence of wisdom bringing real understanding to the eater where the true goal is practically realized  resulting in regular practice by which the body is balanced. Consequently, Buddhist monks themselves are the ones who receive the greatest benefit as such consumption has certain benefit on both sides, the physical and the mental whereby the balance of both is sustained leading to the real aim of Buddhist monks’ ways of practice ‘obtaining the nutritional value and mental benefit development’ correspondingly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ