โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการลงนิคหกรรมตามพระธรรมวินัยและความรับผิดตามกฎหมายไทย
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Model on Dharma-Vinaya Suppression (Niggahakamma) and Thai Law Liability
  • ผู้วิจัยนายชนนสรณ์พงศ์ จรูญชาติ
  • ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.ประพันธ์ ศุภษร
  • ที่ปรึกษา 2พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา28/10/2023
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50685
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 503

บทคัดย่อภาษาไทย

               ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติการลงนิคหกรรมตามพระธรรมวินัยในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและกฎหมายไทย 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการลงนิคหกรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และประมวลกฎหมายไทยว่าด้วยความรับผิด และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการลงนิคหกรรมตามพระธรรมวินัยและความรับผิดตามกฎหมายไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 22 รูป/คน รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

               1) การลงนิคหกรรมตามพระวินัยปิฎก เป็นการลงนิคหกรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตและวางแนวทางไว้ให้แก่คณะสงฆ์เมื่อเกิดมีอธิกรณ์เกิดขึ้น พระองค์ทรงกําหนดแนวทางให้ภิกษุสงฆ์ได้ปฏิบัติ (อธิกรณสมถะ 7) เพื่อพิจารณาวินิจฉัยวินิจฉัยการลงนิคหกรรม เพื่อให้ภิกษุผู้ถูกกล่าวหาได้พิสูจน์ความบริสุทธิของตน ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่าย และการให้โอกาสสำนึกตนเพื่อกลับเข้าหมู่สงฆ์ต่อไป ส่วนการลงนิคหกรรมตามกฎหมายไทย เป็นกระบวนการที่เน้นพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีสภาพบังคับให้ต้องจำคุก หากภิกษุไม่ยอมรับคำตัดสิน โดยสงฆ์ไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณา

               2) ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการลงนิคหกรรมในปัจจุบัน คือ (1) ปัญหาความรู้ตามพระธรรมวินัย (2) ปัญหาเชิงโครงสร้างตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (3) ปัญหาเชิงตัวบทกฎหมายและการตีความ และ(4) ปัญหากระบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติ

               3) รูปแบบการลงนิคหกรรมตามพระธรรมวินัยและความรับผิดตามกฎหมายไทย ได้องค์ความรู้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา คือ MODEL VLCP ภายใต้หลักการ 4 ข้อ ดังนี้ (1) พระวินัย (Vinaya) การนำหลักพระวินัยมาเป็นข้อพิจารณาวินิจฉัยที่สำคัญ (2) กฎหมายไทย (Thai Law) ต้องดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยลงนิคหกรรมให้มีความสอดคล้องกับพระธรรมวินัย (3) ความร่วมมือ (Cooperation) คือ ฝ่ายพุทธจักร และฝ่ายอาณาจักร ร่วมกันแก้ปัญหาและเสนอทางออกอย่างสมบูรณ์และรอบคอบ และ (4) กระบวนการ (Process) คือ การดำเนินการลงนิคหกรรมตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยไม่ขัดต่อหลักกฎหมายไทย ตั้งแต่มีผู้แจ้งความร้องทุกข์ จนกระทั่งคดีสิ้นสุด เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ยุติธรรม และเกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               In this dissertation, three objectives were purposely made: 1) to study the principles and methods of suppression based on the Dhamma-Vinaya in the Buddhist scriptures and Thai law, 2) to analyze the states of problem on suppression according to the Sangha Act, 2505 B.E., and Thai Code of Law on liability, and 3) to propose the model on Dhamma-Vinaya suppression (Niggahakamma) and Thai law liability. This study employed a qualitative research methodology done by studying documents and in-depth interviews with small group discussion where a total of 22 key informants including non-participatory observations was included. The collected data were analyzed and presented by an analytical description. The research findings revealed that

               1) The suppression done according to Vinaya Pitaka basically refers to the punishment prescribed and laid down to the Sangha by the Buddha by which it could be judged at the time of certain case precipitated to arise. In this matter, on the one hand, seven kinds of guideline (Adhikaranasamatha) for trial and suppression are given so that the accused monks could prove their innocence. This is for the fairness of all parties and the opportunity to repent and later on return to the monastic community, on the other hand, the suppression under Thai law is a process that focuses on proving facts and forces imprisonment if monk does not accept the verdict without participation of the monk in sch a trial.

               2) Problems and obstacles on the current law of suppression process are of: (1) a problem of knowledge on Dhamma and Vinaya, (2) a structural problem of the Sangha Act, (3) a problem of legislation and interpretation, and (4) a problem of process and practical procedure.

              3)  As far as the model on suppression based on Dhamma and Vinaya and Liability in Thai Law is concerned, the body of knowledge gained from the research is named ‘VLCP Model’ by which it derived from four principles: (1) Vinaya; the examination of a cause done through Dhamma and Vinaya is prioritized, (2) Thai Law; the trial of a case and then the punishment of such an examined case should be made relevant to the prescribed Dhamma and Vinaya,  (3Co-operation; the Buddhist Sangha administration and the nation administration should jointly solve problems where a way out of the problem should be also shown perfectly and prudently, and (4) Process; the process to carry out the suppression should be relevantly done according to Dhamma and Vinaya without any conflict with Thai law since the informing the case till its end so as to ensure accuracy, fairness and mutual benefit correspondingly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ