โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    รูปแบบการปลูกฝังคุณธรรมผ่านการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เชิงพุทธบูรณาการ
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Buddhist Integrated Model for the Cultivation of Morality Through Learning Buddhism to Primary School Students of Grade 6 under the Supervision of the Suphanburi Primary Educational Service Area Office 3
  • ผู้วิจัยนางสาวมารยาท คงเมือง
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.ตวงเพชร สมศรี
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมคิด เศษวงศ์
  • วันสำเร็จการศึกษา14/03/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50686
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 560

บทคัดย่อภาษาไทย

               ดุษฎีนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อดังนี้ (1) เพื่อศึกษาแนวคิด หลักโครงสร้างการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อปลูกฝังคุณธรรมแก่นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้บูรณาการในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อปลูกฝังคุณธรรมแก่นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และ (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการปลูกฝังคุณธรรมผ่านการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 3 เชิงพุทธบูรณาการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 34 คน/รูป วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ข้อเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

               ผลการวิจัยพบว่า หลักโครงสร้างที่ใช้ในการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา มีการวางแผนการสอนโดยมีแผนจัดการเรียนรู้ เตรียมการสอนตามวัตถุประสงค์ มีการนำเข้าสู่บทเรียน กำหนดและวิธีสอนเหมาะสมกับเนื้อหากับตัวผู้เรียนโดยใช้กระบวนการแบบ Active learning สื่อที่ใช้จูงใจให้นักเรียนต้องการเรียนรู้ มีการวัดผลประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ และสรุปผลการเรียนรู้ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาพระพุทธศาสนาที่ดีขึ้น สำหรับหลักพุทธธรรมที่ใช้บูรณาการในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาเพื่อปลูกฝังคุณธรรม คือ หลักบุญกิริยาวัตถุ 3 รูปแบบของการปลูกฝังคุณธรรม คือการใช้วิธีการจัดกิจกรรม ได้แก่ การเข้าค่ายคุณธรรม นั่งสมาธิ จิตอาสา ฯลฯ เป็นต้น องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยนี้ คือ โมเดล HOPE DIAGRAM คือ การปลูกฝังคุณธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษา ดังนี้ 1) H= Helpfulness คือ การปลูกฝังคุณธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยทานมัย 2) O= Orderliness การปลูกฝังคุณธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยสีลมัย 3) P= Peaceful การปลูกฝังคุณธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยภาวนามัย 4) E=Equilibrium การปลูกฝังคุณธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาด้วยบุญกิริยาวัตถุ 3 สู่ความสมดุล (ทางสายกลาง)

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

               In this dissertation, three objectives were purposely made: (1) to study the concepts and management structural principles on the teaching and learning of Buddhism to cultivate morality to primary school students of grade 6, (2) to study the principles of Buddhadhammas that are integrated in managing on the teaching and learning of Buddhism in order to cultivate morality to primary school students of grade 6, and (3) to propose a Buddhist integrated model for cultivating morality through learning Buddhism of primary school students of grade 6 under the supervision of the Suphan Buri Primary Educational Service Area Office 3. This research employed the qualitative research methodology done by studying related documents and research including in-depth interviews with 34 scholars and Buddhist monks and content analysis of data was made through the descriptive analysis.

               The research results were considerably found that the management structural principles used in learning and teaching Buddhism involve outlining the course where learning and teaching preparation could be provided as per the given objectives in which the introduction to the course and proper teaching method accorded with its contents and learners are done in line with the process of Active learning approach. Here, media used to motivate students to learn and the effective measurement and evaluation are needed in order to sum up the effectiveness of learning results indicating the outcome gained from learning Buddhism moving to the better level. As far as the principles of Buddhadhamma being integrated with the management of learning and teaching Buddhism for cultivating certain virtues are concerned, they are of three kinds of grounds for accomplishment merit (Puññakiriyã-Vatthu). In this research, the model named ‘HOPE DIAGRAM’ was applied to the cultivation of morality to primary school students of grade 6 as follows: 1) H= means Helpfulness referring to the cultivation of morality to primary school students of grade 6 through Dãnamaya, 2) O means orderliness referring to the cultivation of morality to primary school students of grade 6 through Sĩlamaya, 3) P means peaceful referring to the cultivation of morality to primary school students of grade through Bhãvanãmaya, and 4) E means equilibrium referring to the cultivation of morality to primary school students of grade 6 through three kinds of Puññakiriyã-Vatthu whereby the middle path could be gradually actualized accordingly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ