โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผัสสายตนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Practice Way of Phassayatana for Life Developement
  • ผู้วิจัยนางสาวสุรัตนา ตฤณรตนะ
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์
  • วันสำเร็จการศึกษา19/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50691
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 26

บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1. เพื่อศึกษาผัสสายตนะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  2. เพื่อศึกษาตัวอย่างบุคคลที่เสพเสวยโลกทางผัสสายตนะในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3. เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อผัสสายตนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา

ผลการวิจัยพบว่า ผัสสายตนะสภาวธรรมของกระบวนการทำงานของจิตผ่านอายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอกเกิดความรู้แจ้งในอารมณ์ เป็นที่เกิดแห่งสุข ทุกข์ หรืออุเบกขา ซึ่งผัสสายตนะ 6 อย่างได้แก่ จักขุผัสสายตนะ โสตผัสสายตนะ ฆานผัสสายตนะ ชิวหาผัสสายตนะ กายผัสสายตนะ มโนผัสสายตนะ จากตัวอย่างบุคคลที่เสพเสวยโลกทางผัสสายตนะทั้ง 6 ประเภทพบว่าการเริ่มต้นของการรับรู้โลกทางผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นด้วยการทำงานของจิตและเจตสิกซึ่งเกิดผัสสะทั้งด้านกุศลวิบาก (ก่อให้เกิดความสุข) และอกุศลวิบาก (ก่อให้เกิดความทุกข์) แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ซึ่งมีกระบวนต่อเนื่องทำให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน

               การปฏิบัติต่อผัสสายตนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งมีหลักธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติคือ สติสัมปชัญญะ ด้วยแนวทางการปฏิบัติต่อผัสสายตนะได้แก่ 1) การใช้สติเพื่อรู้เท่าทัน หรือความไม่ประมาท ในการรู้เท่าทันผัสสายตนะในการเสพอารมณ์ด้วยโยนิโยมนสิการ 2) การเสพอารมณ์ทางอายตนะ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) ด้วยมนสิการ ( การกำหนดไว้ในใจ )  3) กระบวนการของกลไกผัสสายตนะเมื่อกระบวนการเกิดควรปฏิบัติให้ถูกต้องโดยใช้สติสัมปชัญญะเพื่อไม่ให้เกิดตัณหา ซึ่งได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร โดยสำรวมอินทรีย์ 4) การกำหนดรู้ด้วยผัสสายตนะเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ตามหลักมหาสติปัฏฐาน 4 ประการคือ กาย เวทนา จิต ธรรม

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

In this study, three objectives were proposely made: 1) to study Phassāyatana in Buddhist texts, 2) to investigate and explore persons who had experience the world through Phassāyatana in Buddhist scriptures, and 3) to study  the practical guidelines toward Phassāyatana for the development of life. The study employed documentary research by studying related data from Tipiaka and Commentaries.

From the study, the findings showed that Phassāyatana is the natural state of the mind's working  process through the internal sense bases interacting with the external sense bases and  Vin̅n̅āa (consciousness) which is cognition arising. They are the birth of Vedanā (feeling) such as Sukha (happiness),  Dukkha (suffering) or Upekkhā (neutral feeling). The followings six kinds of Phassāyatana are divided  according to yatana (specific sense sphere) i.e.: Cakkhuphassāyatana (eye–contact), Sotaphassāyatana (ear-contact), Ghānayaphassāyatana (nose-contact), Jivahāphassāyatana (tougue-contact), Kayāphassāyatana (body-contact), Manophassāyatana (mind-contact). From the investigated and explored persons who had experience the world through all six kinds of Phassāyatana, which is the engagement with the world together with working of  Citta (mind) and Cetasika (mental factor). The arising of diverse and complex perception such as Kusalavipāka (good result as happiness) and Akusalavipāka (bad result as suffering) and then the following processes of consuming the world, which is a continuous process that causes different kinds of Kilesa (defilements), Tahā (cravings), and Upādāna (attachments).

The practical guidelines toward Phassāyatana for the development of life which is Sati-sampajan̅n̅a (mindfulness and awareness) 
as a principle that is the key of the practice. The practical guidelines are followings
i.e. 1) The using of Sati (mindfulness) be aware or be
not careless in being of the senses with
Yoniso-manasikāra (analytical of reflection). 2) The using of Phassāyatana through the senses
(eyes, ears, nose, tongue, body, mind) with
Manasikāra (determination in the mind). 3) The working process of Phassāyatana through
the senses should be performed correctly by using
Sati-sampajan̅n̅a (mindfulness  and  awareness)  as not be create the cravings, which
are Kāy
a-sakhāra (bodily formation), Vaci-sakhāra (verbal formation), Citta-sakhāra (mental formation), by the development
I
ndriya-san̅vara (control of the senses) 4) The development by focusing  Phassāyatana  for practicing Satipaṭṭhāna (four foundations
of mindfulness) such as Kāyānupassanā (mindfulness as regards the body), Vedanānupassanā (mindfulness as regards feelings),
Cittānupassanā (mindfulness as regards mental conditions), Dhammānupassanā (mindfulness  as regards ideas).

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ