-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการศึกษาเทวทูตสูตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Devadūtasutta In Buddhist Scriptures
- ผู้วิจัยพระภควัฒน์ โกวิโท (สีม่วง)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.สมคิด เศษวงศ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ.พิเศษ ดร.อรชร ไกรจักร์
- วันสำเร็จการศึกษา03/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50693
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 21
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาเนื้อหาเรื่องเทวทูตสูตร 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่กับสัมพันธ์เทวทูต 3) เพื่อวิเคราะห์เทวทูตสูตรในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาและหนังสือที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า เทวทูตคือปรากฏการณ์ของชีวิต ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ การถูกลงอาญาและความตาย บุคคลที่ทำทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ หลังจากเสียชีวิตแล้วไปเกิดในนรก นายนิรยบาลได้นำบุคคลนั้นไปหาพญายม คำถามที่พญายมถามบุคคลที่ไปในแดนนรกคือเคยเห็นเด็กอ่อนแรกเกิด คนชรา คนเจ็บ คนต้องอาชญา คนตายหรือไม่ หากตอบว่าเคยเห็นและน้อมนำมาพิจาณาในตนก็จะพ้นจากแดนนรก หากตอบว่าเคยเห็นแต่ไม่เคยน้อมนำเข้ามาพิจารณาในตนเอง ก็จะตกอยู่แดนนรก
หลักธรรมที่สัมพันธ์กับเทวทูตคือความไม่ประมาท พิจารณาอย่างแยบคายถึงความเกิด ความแก่ ความเจ็บ การถูกลงโทษและความตายเปรียบเทียบกับตนเองและรีบเร่งสร้างความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ และเข้าใจหลักกรรมและผลของกรรม ส่วนหลักธรรมที่เป็นปฏิปักข์ต่อเทวทูตคือความประมาทก่อให้เกิดความมัวเมาในชีวิต
หลักการของเทวทูตมีมุมมอง 2 แบบคือ (1) มองเทวทูตแล้วเกิดความสังเวชเตือนสติให้ประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ พัฒนาตนเองด้วยหลักของไตรลักษณ์ พิจารณาเทวทูตในกรอบของความไม่ประมาท อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้เท่าทันเทวทูตทั้ง 5 ตระหนักรู้ด้วยปัญญาน้อมเข้ามาพิจารณาในตนเองปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อให้พ้นจากสังสารวัฏ เพื่อให้ชีวิตมีความสุขที่ยั่งยืน (2) มองเทวทูตแล้วก่อให้เกิดตัณหา เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง คือความประมาททำให้ชีวิตมีความทุกข์เทวทูตสูตรเป็นมูลเหตุให้เกิดวรรณกรรมเรื่องพระมาลัยโปรดสัตว์นรก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study consisted of the following objectives: 1) to investigate the background of Devadūtasutta; 2) to explore the Dhamma related to Devadūta; and 3) to analyze Devadūtasutta in B uddhist scriptures. The study used a documentary research technique, examining Buddhist scriptures and related materials.
The study discovered that Devadūta refers to life's phenomena, including birth, old age, sickness, punishment, and death. One that engages in misconduct by body, speech, and mind will be reborn in hell after death. There the guard of hell will show him to King Yama, where he will be asked, “This person, didn’t you ever see among human brings a newborn baby, the elderly, the gravely ill, the criminal, the dead?” If he replies “Yes, I have seen this, and I contempled it upon myself,” he will then be freed from hell. But, if he replies “Yes, I have seen this, but I never contemplates it upon myself,” he will be put in hell.
The Dhamma related to Devadūta is non-negligence through thorough reflection on birth, old age, sickness, punishment, and death. One should then take it upon themselves and do good by body, words, and mind, while also understanding the law of cause (kamma) and effect (vipaka). The Dhamma that is against Devadūta is negligence, resulting in decrease and unpleasantness.
Devadūta has two points of view, which are: (1) seeing Devadūta and realizing the sense of urgency to do good by body, words and mind, while developing oneself according to the four noble truths (ariyasacca), and contemplating on the impermanance, suffering and non-self. Finally, one should also use wisdom to contemplate on oneself and practice meditation in order to be liberated from the wheel of rebirths and lead a happy life; and (2) seeing Devadūta and having craving, greed, hatred, delusion, and suffering. Devadūta is the reason for the creation of the literature on Phra Malai, who bestows mercy to hell creatures.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|