-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์หลักปฏิสันถารในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of Principle of Kind Reception (Paṭisanthāra) in Theravāda Buddhist scriptures
- ผู้วิจัยพระมหามาวิน อินฺทปญฺโญ (สรสิทธิ์)
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สานุ มหัทธนาดุลย์
- วันสำเร็จการศึกษา09/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50694
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 22
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักปฏิสันถารในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับปฏิสันถารในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อวิเคราะห์หลักปฏิสันถารในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์สำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า ปฏิสันถาร มี 2 อย่าง คือ 1) อามิสปฏิสันถาร 2) ธัมมปฏิสันถาร อามิสปฏิสันถาร คือ การต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยวัตถุสิ่งของ ประกอบด้วยการนอบน้อมเคารพ กราบไหว้ บูชาด้วยปัจจัย 4 คือ ไตรจีวร อาหารบิณฑบาต เสนาสนะที่อยู่อาศัย และเภสัชยารักษาโรค การบูชาด้วยเครื่องสักการะ ด้วยดอกไม้ ของหอม สำหรับธัมมปฏิสันถาร คือ การต้อนรับด้วยการให้ธรรมะ ด้วยการอธิบายธรรม การต้อนรับด้วยการสนทนาธรรม ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงต้อนรับพระสาวกพระสาวิกา อุบาสกและอุบาสิกา ด้วยธัมมปฏิสันถาร พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระอานนท์ พระอนุรุทธะ ได้ต้อนรับกันและกันด้วยธัมมปฏิสันถาร ปฏิสันถารมีความสัมพันธ์กับหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ดังนี้ คือ หลักธรรมพรหมวิหาร 4 หลักสังคหวัตถุ 4 ปริจาคะ คือ การบริจาคสละทรัพย์ เหล่านี้เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวกับอามิสปฏิสันถาร ส่วนหลักธรรมขันธ์ 5 ธาตุ 6 มีธาตุดิน เป็นต้น และวิญญาณธาตุเป็นที่สุด อนุปุพพิกถา คือ ทาน ศีล สวรรค์ กามาทีนวะเนกขัมมะ อริยสัจ 4 เหล่านี้เป็นหลักธรรมที่เกี่ยวกับธัมมปฏิสันถาร หลักการปฏิสันถารตามแนวของพระพุทธศาสนา แบ่งตามประเภททั้ง 2 อย่าง ได้แก่ 1) หลักอามิสปฏิสันถาร สำหรับสัทธิวิหาริก พึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์ด้วยการรับใช้อย่างใกล้ชิดคอยตักน้ำฉันน้ำใช้เคารพกราบไหว้ เมื่อท่านอาพาธก็ทำการพยาบาลดูแลปรนนิบัติจนกว่าท่านจะหาย อันเตวาสิก พึงปรนนิบัติอุปัฏฐากพัดวี เคารพกราบไหว้อาจารย์ ภิกษุภิกษุณีปฏิสันถารกับพระราชาด้วยการถวายสิ่งของที่พักอาศัยที่ทรงพระประสงค์ ภิกษุภิกษุณีปฏิบัติกับญาติด้วยการให้วัตถุสิ่งของ ช่วยเหลือสงเคราะห์เมื่อญาติทั้งหลายลำบาก ภิกษุภิกษุณีปฏิสันถารกับโจรด้วยการให้สิ่งของข้าวน้ำ รวมถึงที่พักพิงอยู่อาศัย 2) หลักธัมมปฏิบัติสันถาร ภิกษุภิกษุณีควรกล่าว บอก ให้ธรรมะแก่พุทธบริษัทที่มาหาถึงที่อยู่ที่อาศัย ผู้ประสงค์อยากฟังธรรม รวมถึงการช่วยชี้แนะให้คำปรึกษาหาทางแก้ไขปัญหา ด้วยการนำหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอธิบายชี้แจงประกอบให้เข้ากับเหตุการณ์นั้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This research consists of 3 objectives, namely: - 1) to study the principle of kind reception in Theravada Buddhist scriptures, 2) to study the Dhamma principles related to kind reception in Theravada Buddhist scriptures, 3) to analyze the principle of kind reception in Theravada Buddhist scriptures. It is a documentary research by studying the Pali canon, Commentary and key Buddhist scriptures.
The findings show that there are 2 types of kind reception (paṭisanthāra), namely: - 1) Worldly kind reception (Āmissa-paṭisanthāra), 2) Doctrinal kind reception (Dhamma-paṭisanthāra). Worldly kind reception refers to the act of welcoming guests with materials consisting of humility, reverence, and worship with four necessities: the three robes, alms food, shelter, and medicine including worship with offerings, flowers, and perfumes. While doctrinal kind reception refers to welcoming by giving Dhamma or Dhamma discussion. The Buddha offenly welcomed his disciples including Venerable Sāriputta, Mahā Moggallāna, Ānanda, and Anuruddha with doctrinal kind reception. Kind reception is related to the principles in the Theravada Buddhism scriptures, namely the four brahmavihāra principle, the four saṅgahavatthu principle, and paricāka is charity. These are the principles related to worldly kind reception. As for the principles of the five aggregates, the six elements, including the earth element and the consciousness element as the end, anupubbikathā, and the Four Noble Truths, these are the principles related to Doctrinal kind reception. The principle of kind reception in Theravada Buddhist scriptures can be analyzed by its two types: 1) Principle of worldly kind reception: Saddhivihārika should treat the preceptor with respect by serving closely, preparing water for consumptions. When he was sick, saddhivihārika would provide nursing care and service until he recovered. Antevāsika should serve, respect and pay homage to the teacher. When he was sick, he would provide nursing care and service until he recovered. Bhikkhu and bhikkhunī should practice kind reception with the king by offering the desired shelter items. They should treat their relatives by giving them material things. Help them when they are in trouble. Bhikkhu and bhikkhunī should practice kind reception with the thieves by offering food, water, and residential shelters as appropriate. 2) Principle of doctrinal kind reception: Bhikkhu and bhikkhunī should speak and impart Dhamma to Buddhists who come to their residence and those who wish to listen to the Dhamma including helping them by giving advice to find solutions to problems based on the principles of the Buddha.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|