โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาภาวะผู้นำสำนักเรียนบาลีของพระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.๙)
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Study of Leadership of The Pali School of Phrathammarachanuwat (Suthat Varathatsi Pali 9)
  • ผู้วิจัยพระมหาวุฒิศักดิ์ ฐานปญฺโญ (จันทร์คง)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  • วันสำเร็จการศึกษา09/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50696
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 324

บทคัดย่อภาษาไทย

 งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของวัดโมลีโลกยาราม 2. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของพระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี ป..9) 3. เพื่อถอดบทเรียนภาวะผู้นำของสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า พระธรรมราชานุวัตรใช้หลักการบริหารจัดการ 4 M. คือ 1. Man (คน) หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์  2. Money (เงิน) หมายถึง ทรัพยากรทางการเงิน 3. Material (วัสดุ) หมายถึง วัตถุดิบ 4. Method (วิธีการ) หมายถึง กระบวนการทำงาน และมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ดี คือ 1. ผู้บริหารดี 2. ครูสอนดี 3. นักเรียนดี 4. ผู้สนับสนุนดี ทำให้สำนักเรียนวัดโมลีโลกยารามประสบผลสำเร็จ จากการศึกษาภาวะผู้นำสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี พบว่า ในพันธกิจ 6 ด้าน พระธรรมราชานุวัตรมีภาวะผู้นำที่โดดเด่น 3 ด้าน คือ การปกครอง ศาสนศึกษา และศึกษาสงเคราะห์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นต้น สอดคล้องกับภาวะผู้นำตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ปาปณิกธรรม 3 เป็นต้น และสอดคล้องกับภาวะผู้นำตามทฤษฎีตะวันตก คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษของ Conger และ Kanungo เพื่อเป็นแนวทางภาวะผู้นำของสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในสังคมไทย ผู้นำคณะสงฆ์ควรรู้วิธีสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงาน เป็นต้น เพื่อให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการต่างๆ สามารถนำภาวะผู้นำของพระธรรมราชานุวัตร ที่ได้จากการศึกษามาประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมในการบริหารคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้าน จะทำให้สามารถดำเนินกิจกรรมไปได้โดยบรรลุวัตถุประสงค์

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

             This research aims to: 1. Study the management of the Pali Division of Wat Molilokayaram School; 2. Investigate the leadership style of the Pali Division of Wat Molilokayaram School led by Phra Dhamma Rachanuwat (Sutath Woratas), and 3. Extract lessons learned from the leadership of the Pali Division in Thai society. The research is qualitative, involving both documentary research and in-depth interviews with nine key informants. Data analysis used content analysis techniques within context.

            The findings revealed that Phra Dhamma Rachanuwat applied the 4M principles of management: 1. Man, which refers to human resources; 2. Money, which refers to financial resources; 3. Material, which refers to raw materials; and 4. Method, which refers to working processes. Additionally, there are four key elements: 1. Good management; 2. Good teaching staff; 3. Good students; and 4. Good supporters, which contributed to the success of Wat Molilokayaram School.

The study of the leadership in the Pali Division showed that Phra Dhamma Rachanuwat displayed outstanding leadership in three areas within six missions: governance, religious education, and charitable education. His far-sighted vision and other characteristics align with Buddhist leadership principles such as the three Merchant Principles and Western theories such as Conger and Kanungo's charismatic leadership theory.

             As a guideline for the leadership of the Pali Division in Thai society, Buddhist leaders should know how to inspire their team. This will enable the Sangha to participate in managing various activities. Applying Phra Dhamma Rachanuwat’s leadership lessons to manage all six missions can help fulfill the objectives effectively.

 

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ