-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนายุวชนวัดนาครินทร์ โดยพุทธสันติวิธี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษManagement Guidelines for Wat Nakarin Youth Development Center by Buddhist Peaceful Means
- ผู้วิจัยพระปลัดบุญเพ็ง ชยสาโร (ชัยวิเศษ)
- ที่ปรึกษา 1ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
- วันสำเร็จการศึกษา02/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50734
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 332
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการศูนย์พัฒนายุวชนวัดนาครินทร์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและแนวคิดศาสตร์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการศูนย์พัฒนายุวชน 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนายุวชนวัดนาครินทร์โดยพุทธสันติวิธี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) มี 3 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการศูนย์พัฒนายุวชนวัดนาครินทร์ ตัวแทนสถานศึกษา และเยาวชนที่เข้ากิจกรรมของศูนย์ จำนวน 17 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า
1) ศูนย์พัฒนายุวชนชนวัดนาครินทร์ เกิดจากปฏิปทาและอุดมการณ์ของผู้นำวัดที่ ประสงค์อยากให้เด็กเยาวชนได้เข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยศูนย์ฯ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรม มีโครงสร้างบุคลากร บทบาทหน้าที่ โดยได้รับความร่วมมือทั้งจากภายในวัด ชุมชน สถานศึกษา วัฒนธรรมจังหวัด และองค์กรเครือข่ายต่างๆ จนได้รับการยอมรับด้วยผลงานที่พัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจนถึงการส่งเสริมงานกิจการคณะสงค์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2) แนวคิดการการบริหารจัดการศูนย์พัฒนายุวชน ตามศาสตร์สมัยใหม่ต้องประกอบด้วยการวางแผน กาจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การสั่งงาน การประสานงาน การรายงาน และ งบประมาณ และหลักธรรมที่เกื้อหนุนให้การบริหารจัดการศูนย์พัฒนายุวชนเกิดความยั่งยืนด้วยหลักอปริหานิยธรรม 7 ประการ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งสามัคคีในองค์กร
3) แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนายุวชนวัดนาครินทร์โดยพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย การวางแผนกลยุทธ์ 4 ผสานเพื่อการบริหารจัดการขับเคลื่อนศูนย์ คือ (1) การสร้างค่านิยมและจิตสำนึกคุณธรรมจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา โดยมีแนวทางการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมกับเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียนและหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชน (2) ส่งเสริมให้ประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต (3) ส่งเสริมการนำทุนทางวัฒนธรรมเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแก่ชุมชน 4) การขยายผลและการพัฒนาเครือข่ายชุมชนคุณธรรม โดยใช้หหลักอปริหานิยธรรมกลไกในการสร้างความเข้มแข็งของศูนย์ มี 7 ประการ 1) ร่วมจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอ 2) ความพร้อมเพรียงในการประชุมและการทำงานร่วมกัน 3) การเคารพกฎกติกาที่กำหนดร่วมกัน ไม่เพิกถอนหรือเลิกข้อตกลงที่ทำไว้ 4) การให้ความเคารพรับฟังผู้อาวุโสหรือผู้มีประสบการณ์ 5) การให้เกียรติสตรีในการทำงานอย่างเท่าเทียม 6) การให้ความเคารพสิ่งที่ยึดเหนี่ยวร่วมกัน รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น 7) การให้การดูแลต้อนรับบุคคลผู้ควรแก่ศรัทธา องค์ความรู้จากการวิจัย ได้ VAN” Model คือ V: Vision วิสัยทัศน์แบบมีส่วนร่วมมีศรัทธาในศาสนาเป็นศูนย์กลาง A: Aparihaniyadhamma การนำหลักธรรมะ นำหลักอปริหานิยธรรมและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มาเป็นกลไกในการทำงานเพื่องาน ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ด้วยความเต็มใจและมีความสุขในการทำงาน N: Network เครือข่าย คือ การขยายชุมชนคุณธรรมในพื้นที่ นอกพื้นที่
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
This thesis had three objectives: 1) To study the management conditions of the Nakarin Temple Youth Development Center. 2) To study Buddhist principles and modern scientific concepts that facilitate the management of the Youth Development Center. 3) To present guidelines for managing of the Nakarin Temple Youth Development Center by Buddhist Peaceful Means use a qualitative research format (Qualitative Research) by in-depth interviews. (In-Depth-interview) with key informants (Key Informants). There are three groups: the committee of the Nakarin Temple Youth Development Center educational institution representative and 17 youths who participated in the center's activities. Data were analyzed using inductive methods. The research results found that
1) Nakarin Temple Youth Development Center It comes from the attitude and ideology of the temple leaders. We want children and youth to have access to the teachings of the Buddha. The center has concrete management in place. There is a personnel structure, roles, and responsibilities with cooperation from within the temple, community, educational institutions, and provincial culture and various network organizations Until being recognized for the work that develops children and youth as well as promotes missionary affairs. Continuing local culture and traditions
2) Management concept of youth development center according to modern science, it must include planning, organizing, arranging people to work, ordering work, coordinating, reporting, and budgeting, and principles that support the management of youth development centers to be sustainable with the seven principles of Aparihaniyadhamma, causes participation and strengthens unity in the organization
3) Guidelines for managing the Nagarindra Temple Youth Development Center by Buddhist Peaceful Means, consisting of planning four integrated strategies for managing and driving the center: (1) creating values and awareness of morality and ethics according to Buddhist principles. There are guidelines for operating in a participatory the way with networks of houses, temples, schools, and government and private agencies. (2) Encourage people to embrace the philosophy of sufficiency economy for the development quality of life. (3) Promote the use of additional cultural capital. Create social value and add economic value to the community. 4) Expanding and developing the moral community network. Using the principles of Aparihaniyadhamma, the mechanism for strengthening the center consists of 7 factors: 1) jointly organizing regular meetings, 2) readiness in meetings and working together, and 3) respect for mutually established rules and regulations not revoking or canceling agreements made. 4) Respecting and listening to seniors or experienced people. 5) Respecting women in working equally. 6) Respecting things that hold us together. Including the good culture and traditions of the local area. 7) Providing care and welcome to people worthy of faith. Knowledge from research is VAN” Model is V: Vision, a participatory vision with faith in religion as the center. A: Aparihaniyadhamma Applying Dhamma principles Apply the principles of Aparihaniyadhamma and systematic management. Become a mechanism for working for the job Do duty for duty With willingness and happiness in working N: Network Network is the expansion of the moral community in the area and outside the area.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|