โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    กระบวนการพึ่งพาตนเองด้วยอารยเกษตรของเกษตรต้นแบบ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ตามหลักพุทธสันติวิธี
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Process of Self-Reliance with Agricultural Civilization of Model Agriculture in Phanom Dong Rak District, Surin Province by Buddhist Peaceful Means
  • ผู้วิจัยพระอำนาจ ยสินฺธโร (ปัตตายะโส)
  • ที่ปรึกษา 1ว่าที่พันตรี ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง
  • ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  • วันสำเร็จการศึกษา29/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50746
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 338

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท ปัญหา สาเหตุ อุปสรรค และวิถีการดำเนินชีวิตการทำอารยเกษตรของเกษตรต้นแบบ อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธสันติวิธีในการพึ่งพาตนเองตามหลักอารยเกษตร 3) เพื่อนำเสนอ ถอดบทเรียนกระบวนการอารยเกษตรต้นแบบเพี่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนตามหลักพุทธสันติวิธี ดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนามเครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม (1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอารยเกษตร (โคกหนองนา) 3 ท่าน (2) กลุ่มอารยเกษตร 5 ท่าน (3) กลุ่มผู้นำชุมชน 5 ท่าน (4) กลุ่มเครือข่ายเกษตรกร 5 ท่าน รวมผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 ท่าน วิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัย

              ผลการวิจัยพบว่า

              1) สภาพพื้นที่และวิถีเกษตรเดิม ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง มีลักษณะเป็นดินภูเขา เป็นพื้นที่ราบเชิงเขาเป็นเนิน ปัญหาจะขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรทำให้ไม่สามารถสร้างผลผลิตได้ทุกเดือน ต้องเร่งดินเร่งปุ๋ย ทำใหเกิดการใช้เงินนอกระบบมาลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิต ทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็ว อีกทั้งยังนิยมทำเกษตรเชิงเดี่ยว การทำเกษตรจึงขาดทุน และไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่าย สาเหตุเพราะขาดความรู้ความเข้าใจ และวินัยการใช้เงินจึงเป็นหนี้ตามกระแสทุนนิยม ประกอบการนิยมปลูกพืชผลตามกันโดยไม่ได้วิเคราะห์ตลาดและความเหมาะสมของสภาพดิน แต่ปัจจุบันได้พัฒนาและแก้ปัญหาความยากจนด้วยวิถีอารยเกษตรจนบรรลุเป้าหมาย ได้รับการส่งเสริมการทำเกษตรปลูกพืชครัวเรือน “ผักอินทรีย์แก้จน แก้จนคนสุรินทร์” ตลาดสวนผักปลอดสารพิษ ส่งให้โรงพยาบาลในพื้นที่  ให้เกษตรกรพอมีเงินเหลือพอได้กินและวางแผนในการทำเกษตรได้ดีขึ้น มีกองทุนการออมเพื่อช่วยเหลือคุณภาพชีวิตเกษตรกร 

              2) หลักพุทธสันติวิธีในการพึ่งพาตนเองตามหลักอารยเกษตร ได้แก่ หลักอริยสัจ 4 คือ การมองเห็นปัญญา (ทุกข์) การหาเหตุปัญหานั้นด้วยวิเคราะห์พิจารณาด้วยปัญญา (สมุทัย) การวางจุดหมายที่จะพัฒนาหรือปรับปรุง (นิโรธ) การลงมือทำตามแนวทางที่ได้ศึกษาที่เป็นเป้าหมายในชีวิตจริง (มรรค) ด้วยความตั้งใจไม่ย่อท้อจนกว่าสำเร็จ ด้วยหลักอิทธิบาท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

      3) ถอดบทเรียนกระบวนการอารยเกษตรของอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ กระบวนการคิดแบบอริยสัจ 4 และมีอิทธิบาท 4 ในการทำให้ประสบความสำเร็จ กล่าวคือ การทำอารยเกษตรให้ประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มจาก (1) การมองเห็นปัญหาจากการทำอาชีพเกษตรกรและมีความคิดอยากแก้ปัญหานั้น ทุกข์อันเกิดจาก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโลภ (2) การรู้จักวิเคราะห์อะไรคือสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกร ต้นทุนสูง (จากหลายปัจจัย) ราคาผลผลิตไม่แน่นอน (3) รู้ถึงเป้าหมายของการแก้ปัญหาที่รากเหตุที่จะช่วยทำให้วิถีการทำอาชีพเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนคือหลักวิถีแห่งความพอเพียง (4) การรู้วิธีการที่จะแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา สามารถแก้ปัญหาการทำเกษตรได้จากการลงมือปฏิบัติจนเป็นผลสำเร็จ การใช้สติปัญญาแก้ปัญหามีความมั่นคงทางอาหาร หนี้สินลดลง จากการมีอยู่ มีกิน อิ่มอกอิ่มใจ ความสุข คุณภาพชีวิตที่ดี ที่ต้องอาศัยความพอใจเชื่อมั่นต้องขยันหมั่นเพียรลงมือทำ มีน้ำใจไมตรีต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุข ในพื้นที่มีอากาศบริสุทธิ์ มีสภาพแวดล้อมดี ร่างกายแข็งแรง จิตใจดี สิ่งแวดล้อมมีแต่ความสงบร่มเย็น อุดมสมบูรณ์ ชุมชนเกิดสันติสุข เป็นแหล่งอาหารเพื่อนำออกมาช่วยเหลือกัน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 3. อ.โมเดลอายรเกษตรต้นแบบ

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          This research has the following objectives 1) to study the context, problems, causes, obstacles, and way of life of agricultural civilization of model farmers. Phanom Dong Rak District Surin Province 2) to study the principles of the Buddhist Santi Method for self-reliance according to the principles of Buddhist Peaceful Means. 3) to present and extract lessons learned from the process of model agricultural civilization for sustainable self-reliance according to the principles of the Buddhist Santi Method. Conducting research using a qualitative research format (Qualitative Research), field research tools are in-depth interviews and observation. Key informants were divided into 4 groups: (1) Agricultural civilization expert group (Kok Nong Na), 3 people (2) Agricultural civilization group, 5 people (3) Community leaders group, 5 people (4) Farmer network group, 5 people, including Relevant information was provided by 18 persons, analyzed using inductive methods.

The research results found that

1) Conditions of the area and traditional agricultural methods Most are dry areas. It has the characteristics of mountainous soil. It is a flat area with hilly slopes. The problem is a shortage of water in agriculture, making it impossible to produce produce every month. Need to speed up the soil and fertilize This causes the use of money outside the system to invest in order to increase production. Makes the soil deteriorate quickly It is also popular to practice monoculture agriculture. Agriculture is therefore at a loss. and did not account for income and expenses The reason is due to a lack of knowledge and understanding. Discipline in spending money is therefore a debt according to the capitalist trend. The practice of growing crops one after the other without analyzing the market and the suitability of the soil conditions. But now we have developed and solved the poverty problem through the agricultural civilization method until we reached our goal. Agriculture has been promoted to grow household crops. “Organic vegetables cure poverty. Solving the poverty of Surin people” Non-toxic vegetable garden market Delivered to hospitals in the area Give farmers enough money to eat and plan their agriculture better. There is a savings fund to help farmers' quality of life.

2) The principles Buddhist Peaceful Means of self-reliance according to the principles of civilization, including the principles of the Four Noble Truths, namely seeing wisdom (dukkha), finding the cause of the problem by analyzing and considering it with wisdom (samudaya), setting goals for development or improvement (nirodha). Take action according to the path you have studied that is your goal in real life (the Path) with determination and never give up until it is achieved. With the principles of iddhipatha, namely chanda, viriya, citta, and vimansa.

3) Lessons learned from the agricultural civilization process of Phanom Dong Rak District. Surin Province The thought process of the 4 Noble Truths and the 4 influences for success, that is, successful agricultural civilization must begin with (1) seeing the problems of working as a farmer and having the desire to solve them; Suffering caused by greed, anger, delusion, greed. (2) Knowing how to analyze what is the real cause of farmers' problems, high costs (from many factors), and unstable product prices. (3) Knowing the goal of solving problems at the root. The reason that will help make the way of working as a farmer self-sufficient and sustainable is the principle of sufficiency. (4) Knowing how to solve problems with wisdom. Able to solve agricultural problems from practice until it is successful. Using intelligence to solve problems, have food security, and reduce debt by having food to eat, contentment, happiness, and a good quality of life. That requires satisfaction and confidence, must be diligent and diligent in taking action. Be considerate and friendly towards one another. Help and support each other. Make you have a good life and be happy. There is clean air in the area. There is a good environment. The body is strong, the mind is good, the environment is peaceful and fertile, and the community is peaceful. It is a source of food to bring out to help each other. The knowledge from the research is 3. Acharn model of agricultural agriculture.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ