โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    แนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางด้านการแบ่งปันทรัพยากร ในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Concept of Distributive Justice in the View of Theravada Buddhist Philosophy
  • ผู้วิจัยพระมหาวิเชียร สุธีโร (สิงห์คิบุตร)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาพรชัย สิริวโร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา30/04/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50750
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 504

บทคัดย่อภาษาไทย

             ดุษฎีนิพนธ์นี้เรื่อง “แนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางด้านการแบ่งปันทรัพยากรในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางด้านการแบ่งปันทรัพยากรของเสรีนิยม และสังคมนิยม 2) เพื่อศึกษาแนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางด้านการแบ่งปันทรัพยากรในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท และ 3) เพื่อวิเคราะห์เชิงวิพากษ์แนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางด้านการแบ่งปันทรัพยากรในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในเชิงวิพากษ์

            จากการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การแบ่งปันทรัพยากรที่ยุติธรรมตามแนวคิดของเสรีนิยม คือ การแบ่งปันทรัพยากรตามสิทธิ เสรีภาพ และความสามารถของปัจเจกบุคคลผ่านกลไกตลาดเสรี พลเมืองมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพยากรได้ และเป้าหมายของการแบ่งปันทรัพยากรคือเพื่ออิสรภาพทางวัตถุของพลเมืองแต่ละคนในสังคม ดังนั้น แนวคิดเสรีนิยมจึงถือว่าการแบ่งปันทรัพยากรตามสิทธิเสรีภาพและความสามารถของพลเมืองเป็นการแบ่งปันทรัพยากรที่ยุติธรรม ส่วนการแบ่งปันทรัพยากรที่ยุติธรรมตามแนวคิดของสังคมนิยม คือ การแบ่งปันทรัพยากรตามความจำเป็นของปัจเจกบุคคลผ่านกลไกของรัฐ รัฐเป็นผู้ควบคุมการผลิตและการแปลกเปลี่ยน รัฐเป็นเจ้าของทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิต รัฐไม่อนุญาตให้ปัจเจกบุคคลมีสิทธิในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้ เพราะการให้สิทธิดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น เป้าหมายของการแบ่งปันทรัพยากรคือเพื่อสร้างความเสมอภาคกันทางโอกาสและผลประโยชน์ ดังนั้น แนวคิดสังคมนิยมจึงถือว่าการแบ่งปันทรัพยากรตามหลักความจำเป็นของพลเมืองโดยการควบคุมของรัฐจัดเป็นการแบ่งปันทรัพยากรที่ยุติธรรม 

             จากการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าการแบ่งปันทรัพยากรที่ยุติธรรมตามแนวคิดของพุทธปรัชญาเถรวาท คือ การแบ่งปันทรัพยากรตามหลักว่าด้วยความเป็นธรรม กล่าวคือ รัฐให้เสรีภาพแก่พลเมืองในการประกอบอาชีพด้วยความสามารถโดยชอบธรรม ในขณะเดียวกัน รัฐก็มีหน้าที่โดยตรงในการช่วยเหลือคนยากจนทุกคนให้ได้รับสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่เพียงพอแก่การดำรงชีวิต รัฐอนุญาตให้พลเมืองมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพยากรได้ จะอย่างไรก็ตาม รัฐควรจำกัดสิทธิของปัจเจกบุคคลในการเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ เพราะการอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ได้อย่างไม่จำกัดจะทำให้สังคมเดือดร้อน เป้าหมายของการแบ่งปันทรัพยากรด้วยความยุติธรรมคือเพื่อการมีชีวิตที่ดีของพลเมืองทุกคนในสังคม ดังนั้น พุทธปรัชญาเถรวาทจึงถือว่าการแบ่งปันทรัพยากรที่ยุติธรรมคือการแบ่งปันทรัพยากรตามหลักความเป็นธรรม

              จากการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า แนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางด้านการแบ่งปันทรัพยากรของพุทธปรัชญาเถรวาทส่วนใหญ่เหมือนกันกับแนวคิดเสรีนิยมมากกว่าแนวคิดสังคมนิยม แต่มีแนวคิดบางส่วนของพุทธปรัชญาเถรวาทที่แตกต่างจากแนวคิดทั้งสอง กล่าวคือ พุทธปรัชญาเถรวาทให้ความสำคัญแก่การที่รัฐควรจะให้เสรีภาพแก่พลเมืองในการประกอบอาชีพและได้รับผลตอบแทนตามความสามารถของเขาและด้วยวิธีการที่ชอบธรรม ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดเสรีนิยมและเป็นจุดอ่อนของแนวคิดสังคมนิยม ในขณะเดียวกัน พุทธปรัชญาเถรวาทก็ให้ความสำคัญแก่การที่รัฐควรจะรับประกันการที่พลเมืองจะได้รับสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานเมื่อประสบกับความยากจนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งเป็นส่วนที่คล้ายคลึงกับแนวคิดสังคมนิยมและเป็นจุดอ่อนของแนวคิดเสรีนิยม ดังนั้น แนวคิดว่าด้วยความยุติธรรมทางด้านการแบ่งปันทรัพยากรของพุทธปรัชญาเถรวาทจึงเป็นแนวคิดที่ควรจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าแนวคิดเสรีนิยมและสังคมนิยม เพราะเป็นแนวคิดที่ให้ความเป็นธรรมแก่คนทุกกลุ่มและมุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This dissertation entitled “A concept of distributive justice in the view of Theravada Buddhist philosophy” has three objectives: 1) to study the concept of distributive justice of liberalism and socialism, 2) to study the concept of distributive justice in the view of Theravada Buddhist philosophy, and 3) to critically analyze the concept of distributive justice in the view of Theravada Buddhist philosophy. This research employed the qualitative research methodology done by critically studying documents, texts and related research works.        
         From the study of the first objective, it was clearly found that on the one hand, the justice distribution of resources advocated by liberalism basically means the one which is done in accordance with right, freedom and individual ability through free market mechanism where citizen has the right to own such resource. In this, the goal of the mentioned distribution is to provide the material freedom of each citizen in a society, therefore, liberalism holds that the distribution based on the right, freedom and ability of citizen becomes the just distribution, on the other hand, when it comes to the just distribution of resources, socialism holds that the just distribution is done if it is carried out according to the individual necessity through the mechanism of the state where the means of production and exchange are controlled by the state meaning that the state owns the resources used for the production as such. In this, the state will not grant any right to individual to own the means of production because it will give rise the disadvantages to the social class. Here the goal of the distribution is to provide the equality of the opportunity and benefit. Therefore, socialism regards the distribution of resources according to the necessity of citizen through the controlling of the state as the just distribution of resources.

              From the study of the second objective, it also clearly indicated that the just distribution of resources according to Theravada Buddhist philosophical idea basically means the one done through the principle of fairness, that is, freedom is granted to the citizen by the state in order to carry out their occupation based on their ability rightly. In the same time, the state has the direct duty in providing the necessary support to the poor people who are in need where basic requisites are necessitated to subsidize the living life. In this, the right to become the owner of the natural resources is also granted to the citizen. However, the limitation of individual right to become the owner of natural resources is also done because the unlimited ownership, if allowed, would harm a society accordingly. The goal of such just distribution of resources is to provide the good life for all citizens while living in the society. Therefore, according to Theravada Buddhist philosophical view, the just distribution of resources is the one which is actively done through the principle of fair distribution of resources.

             From the study of the third objective, it considerably showed that most of the idea on the just distribution of resources endorsed by Theravada Buddhist philosophy share the sameness with liberalism more than socialism. However, there are some ideas held by Theravada Buddhist philosophy vary from both, liberalism and socialism, to wit, Theravada Buddhist philosophy lays great emphasis on the freedom the state grants to the citizen in working for living life in accordance with their ability and righteous ways of doing which are somehow accorded with liberalism but becoming the weak point to socialism. In the same way, Theravada Buddhist philosophy significantly focusses on that thing where the basic requisites of citizen will be guaranteed while facing with poorness till meeting self-reliance and this is similar to what is supported by socialism but becoming the weak point to liberalism. Therefore, according to Theravada Buddhist philosophical viewpoint, the idea on the just distribution of resources should become the alternative way considered as the better than socialist and liberalist ideas due to providing the fairness to all concerned where sustainable development could be actualized accordingly.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ