-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวัดโดยพุทธสันติวิธี ของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Development of Environmentally Friendly Green Spaces in Temple through Buddhist Peaceful Means by Wat Sarod, Bangkok
- ผู้วิจัยนางสาวจันทร์รอน มากพันธุ์
- ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.อุทัย สติมั่น
- ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา11/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาสันติศึกษา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50779
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 360
บทคัดย่อภาษาไทย
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ดำเนินการในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการวิจัยตามบันได 9 ขั้น (Action Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อ ได้แก่
1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นและศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวัดตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวัด 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวัดโดยพุทธสันติวิธีของวัดสารอด กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ จัดสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 28 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) บริบทวัดสารอดเป็นวัดในชุมชนเมืองมีพื้นที่สีเขียวจำนวนน้อยบริเวณ ส่วนมากพื้นที่เป็นพื้นปูน มีอาคารก่อสร้างจำนวนมากเพียงพอต่อการใช้สอย ทำให้ขาดความร่มรื่นของต้นไม้ การปลูกต้นไม้ล้อมต้องขุดหลุมด้วยรถแม็คโฮเพราะพื้นปูนต้องเจาะลงพื้นที่ปูนซึ่งมีหลายชั้นของชั้นปูน ปัญหาเรื่องการดูแลรักษาต้นไม้ไม่ให้ตาย ปะญหาดินไม่ดี ไม่มีอินทรียวัตถุในดิน ทางวัดจึงต้งอการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวัดวางผังต้นไม้ให้มีความชัดเจนเหมาะสม ดำเนินการขุดหลุมปลูกต้นไม้ใหญ่ก่อน จากนั้นจึงดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในวัดแบบกระถางที่สำคัญต้องการปลูกบัวกระถางรอบอุโบสถ แล้วค่อย ๆ เพิ่มบัวกระถางในบริเวณวัดตามความเหมาะสมโดยเน้นการปลูกบัวหลวงสีต่าง ๆ การดำเนินการการพัฒนาพื้นที่สีเขียว โดยประชุมหารือเพื่อวางแผนดำเนินการ จัดทำแผนผังพื้นที่สีเขียวในวัด ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ ประเมินผลความพึงพอใจ บำรุง ดูแลรักษาต่อเนื่อง
2) พุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือ หลักพุทธธรรมในกสิภารทวาชสูตรเป็นหลักพุทธธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในวัด มีอยู่ 9 ประการ คือ 1) ศรัทธา เชื่อมั่นแสวงหาพันธุ์ไม้ที่ดี 2) วิริยะ พยายามสร้างแหล่งน้ำที่เพียงพอ 3) ปัญญา เป็นความรู้ความเข้าใจในการปลูกต้นไม้ 4) หิริ ละอายใจ ไม่ตัดทำลายต้นไม้ 5) จิต เป็นการตั้งใจจริงในการปลูกต้นไม้ 6) สติ ระลึกได้เสมอไม่ละเลยในการพรวนดินให้แก่ต้นไม้ 7) สำรวม เป็นดูแลต้นไม้ด้วยความระมัดระวังคำนึงการใช้ประโยชน์จากต้นไม้ได้ 8) คำสัตย์ ให้คำมั่นสัญญากับตนเองที่จะพากเพียรดูแลดายหญ้าอย่างต่อเนื่อง 9) โสรัจจะ มุ่งมั่นต่อดูแลรักษาต้นไม้ธรรมชาติสีเขียวให้อุดมสมบูรณ์
3) การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในวัดสารอด เรียกว่า บัว โมเดล มีองค์ประการสำคัญสามารถสรุปได้ 3 ประการ คือ (1) B Beauty ความสวยงาม (แต่งสวน) การพัฒนาพื้นที่สีเขียวในวัดต้องคำนึงถึงความสัปปายะสวยงาม มีการออกแบบบริเวณที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้สวยงาม (2) U Useful มีประโยชน์ (ใช้สวน) ทำสวนให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย ให้สามารถเป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและนั่งภาวนา สนทนาธรรม หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ (3) A Appropriate เหมาะสม (ดูแลสวน) ดูแลรักษา ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเดิมแต่ควรเสริมเติมแต่งให้พื้นที่สีเขียวเดิมคงอยู่ได้ และทำให้บริเวณพื้นที่สีเขียวมีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างเหมาะสม องค์ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยประกอบด้วย 5 ประการ คือ 1) ร่มรื่น เป็นลานวัดมีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ใบเขียว มีสวนหย่อม อันน่ารื่นรมย์ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ สนทนาธรรม ปฏิบัติธรรม และจัดกิจกรรมประเพณีต่างๆ 2) อยู่เย็น เป็นบริเวณพื้นที่สีเขียวในวัดมีเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายได้อาศัยอยู่โดยไม่หวาดกลัวเพราะในวัดกลายเป็นเขตพื้นที่อภัยทาน เขตเมตตาธรรมที่ไม่ทำลายและเบียดเบียนสรรพสัตว์น้อยใหญ่ สัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยพื้นที่สีเขียว 3) เป็นสุข พระสงฆ์สามเณรอุบาสกอุบาสิกามีความสุขจากการได้ใช้สอยพื้นที่สีเขียวเพื่อการฝึกอบรมจิตใจให้มีความสุขด้วยการปฏิบัติธรรม เป็นที่สำหรับปฏิบัติธรรมอบรมจิตใจ การฝึกจิตที่ดีทำใหได้มีความสุข และ 5) ปลูกปัญญา เป็นพื้นที่สีเขียวในวัดมีคติธรรมสอนใจ มีครูบาอาจารย์คอยบอกสอนด้วยการนำเอาสวนบัวเป็นที่บ่มเพาะปัญญาให้แก่คนในชุมชนระหว่างการเข้ามาสัมผัสบรรยายกาศอันร่มรื่นยังได้รับความรู้คติธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study was based on Ariyasacca (the Four Noble Truths) model in accordance with action research method under the 9-step research framework. The study consisted of three objectives: 1) to analyze context, problems, needs, as well as concepts and theories on the development of environmentally friendly green spaces in temple according to modern science; 2) to examine the Buddhadhamma conducive to the development of environmentally friendly green spaces in temple; and 3) to develop and present the development of environmentally friendly green spaces in temple through Buddhist peaceful means by Wat Sarod, Bangkok. The tools used were questionnaires, in-depth interviews, academic seminars, focus group discussions, non-participant and participant observation. The key informants included 28 persons. The qualitative data were analyzed using content analysis.
From the study, the following results were found:
1) Wat Sarod is a temple in a community that has very little green space. Most of the areas are concreted and built up with numerous buildings and constructions, resulting in a lack of shade of the trees. Planting trees around them requires excavating a hole with a backhoe since the cement ground is made up of many layers that must be drilled. There are problems in caring for the trees so that they do not die. The soil around the temple is poor due to a lack of organic matter, so the temple requires environmentally friendly green spaces with a clear and appropriate tree arrangement. Holes for large trees must be dug before planting green spaces in the temple. It is important to plant potted lotus around the ubosoth and gradually add potted lotus in the temple areas, emphasizing the planting of different colored lotus species. The development of green spaces requires a meeting to plan and discuss operations, design the green space layout in the temple, implement the plan, assess satisfaction results, and provide ongoing maintenance and care.
2) The Buddhadhamma conducive to the development of environmentally friendly green spaces in temple is Kasibhāradvājasutta (The farmer Bhāradvāja), with the following nine components: (1) Saddhā refers to confidence in seeking good plants; (2) Viriya refers to endeavoring to create adequate water resources; (3) Paññā refers to knowledge and understanding about planting trees; (4) Hiri refers to the moral shame of not cutting down trees; (5) Citta refers to attention to planting trees; (6) Sati refers to mindfulness to not forget to loosen the trees; (7) Being composed by taking care of trees carefully and considering the benefit of the trees; (8) Promise by promising to continuously take care of the grass; and 9) Soracca refers to the determination to preserve and maintain trees and green nature.
3) The development of green spaces in Sarod temple has resulted in a model called “Bua” with the following three components: (1) “B” stands for beauty of gardening, including the development of green spaces in the temple must be based on sappāya (suitable conditions); (2) “U” stands for the usefulness of using the garden, as it should be created for relaxation and rest, meditation, Dhamma talk, and other activities; and (3) “A” stands for appropriate maintenance and care of the garden, whereby the original environment should not be destroyed but improved so that the original green areas can remain clean and in order. A new body of knowledge from the study comprises five components: (1) Shading, where the temple courtyard is shaded by green trees and a pleasant garden, making it suitable for recreation, Dhamma talks, meditation, and organizing various traditional activities; (2) Comfortable living where the green spaces in the temple are home to animals, as the temple is an animal sanctuary and mettā area that is safe for all animals; (3) Happy living where monks and novices are happy from utilizing green spaces to train their minds through meditation, which leads to their happiness; and (5) Cultivating wisdom where the green spaces of the temple provides moral guidance, with teachers serving as life guides for people in the community in the lotus garden while experiencing the shady ambience.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|