-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Guidelines for Promoting Grassroot Economy Based On Cultural Capital In Kung Kao Municipality Tha Khantho District Kalasin Province
- ผู้วิจัยพระเอกราช ปญฺญาวุฑฺโฒ (โพธิแลกุ)
- ที่ปรึกษา 1พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.วสันต์ ลิ่มรัตนภัทรกุล
- วันสำเร็จการศึกษา19/04/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาการพัฒนาสังคม
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50794
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 329
บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรม 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรมชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกุงเก่า อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1) การศึกษาเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรม ชุมชนเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นพื้นที่ที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ หนึ่งทุนองค์ความรู้ด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นทุนดั่งเดิมที่เป็นรากฐานของชุมชน สองทุนองค์ความรู้ด้านหัตถกรรม เป็นทุนที่ชุมชนได้อาศัยภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดและเกิดจากการเรียนรู้เองของชุมชน เช่น หัตถกรรมการจักสาน หัตถกรรมการทอผ้า เป็นต้น สามทุนองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อ เป็นทุนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนและได้มีกระบวนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการชุมชนและผ่านกระบวนการการขับเคลื่อนทุนในชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถนำเอาทุนองค์ความรู้ทางทุนวัฒนธรรมมาช่วยส่งเสริมและสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้
2) การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรม ชุมชนได้มีการส่งเสริมความรู้และให้ข้อมูลความรู้ โดยที่ชุมชนมีการส่งเสริมความรู้ในส่วนต่างๆ เช่น การส่งเสริมความรู้ด้านเศรษฐกิจภายในชุมชน การส่งเสริมความรู้ด้านการทอผ้าและด้านการจักสาน รวมถึงด้านเกษตรกรรม เป็นต้น โดยที่มีการให้ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาสนับสนุนในการให้ความรู้แก่ชุมชนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ในการทำงาน รวมถึงแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจที่เป็นรากฐานภายในชุมชน แลกเปลี่ยนความรู้ของเครือข่ายระหว่างชุมชนผ่านศูนย์การเรียนรู้เพื่อเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้แสดงความคิดเห็นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ดีขึ้น รวมไปถึงมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพและผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้ คือกลุ่มทอผ้าและกลุ่มจักสาน และมีการส่งเสริมการตลาดแบบดั่งเดิมและแบบสมัยใหม่ เป็นต้น
3) แนวทางการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทุนทางวัฒนธรรม ชุมชนมีแนวทางในการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน ระหว่างชุมชนและมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่สามารถส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเข้มแข็ง มีการนำเอาภูมิปัญญาซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมมาช่วยในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ซึ่งการนำเอาภูมิปัญญามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนถือว่าเป็นการช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน เป็นการพัฒนาชุมชนไปในตัว มีการส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อเพิ่มรายได้ สามารถทำให้ชุมชนมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น สามารถพัฒนาขีดความสามารถของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข็มแข็งเพิ่มมากขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are: 1. To study the grassroots economy based on cultural capital. 2. To study the promotion of the grassroots economy based on cultural capital. 3. To study the guidelines for promoting the grassroots economy based on the cultural capital of the community in Kung Kao Subdistrict Municipality, Tha Khantho District, Kalasin Province.
Research findings:
1. The study found that the grassroots economy based on cultural capital in the community is an area rich in resources and cultural capital, consisting of three components: First, the agricultural knowledge capital, which is the original capital and the foundation of the community. Second, the handicraft knowledge capital, a capital that the community relies on, inherited and learned by the community itself, such as weaving and handicrafts.Third, the cultural knowledge capital, customs, and beliefs, a capital that holds the community’s psyche and has undergone a development process as community products through the community management learning process and through the capital driving process in the community to help the community promote and generate income.
2. The promotion of the grassroots economy based on cultural capital, the community has promoted knowledge and provided information. The community has promoted knowledge in various areas, such as promoting economic knowledge within the community, promoting knowledge in weaving and handicrafts, as well as in agriculture. There is knowledge provided by various agencies to support knowledge for the community and exchange opinions, exchange work knowledge, and promote the grassroots economy within the community. Exchanging network knowledge between communities through learning centers to allow people in the community to express opinions to develop community products better. Additionally, occupational groups and products that can promote community income have been established, such as weaving and handicraft groups, and traditional and modern marketing methods have been promoted.
3. Guidelines for promoting the grassroots economy based on cultural capital, the community has guidelines for creating cooperation among people in the community and with various organizations that can promote community strength. The community has utilized cultural capital to strengthen the community. The use of cultural capital to develop community products is considered to help circulate the grassroots economy in the community, developing the community itself. There is also a marketing promotion to increase income, enabling the community to have a better standard of living, develop the capabilities of people in the community, and make the community stronger.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|