-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Critical Study of Buddhist Ethics as Presented in the Milinda Panha Scripture
- ผู้วิจัยพระมหาชาญชัย ธมฺมเมธี (ก๋องจัน)
- ที่ปรึกษา 1ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
- ที่ปรึกษา 2ดร.วิโรจน์ วิชัย
- วันสำเร็จการศึกษา07/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาปรัชญา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50796
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 20
บทคัดย่อภาษาไทย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา” มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และเนื้อหาสาระสำคัญของคัมภีร์มิลินทปัญหา 3. เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ผลการวิจัยพบว่า
หลักพุทธจริยศาสตร์ คือ คําสอนของพระพุทธศาสนา ว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ และกฎเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าสิ่งใดถูก - ผิด สิ่งใดดี - ไม่ดี พุทธจริยศาสตร์มี 3 ระดับ คือ ระดับต้น ได้แก่ ศีล 5 ระดับกลาง ได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 และระดับสูงได้แก่ มรรคมีองค์ 8 เกณฑ์วินิจฉัยความดี – ชั่วตามทัศนะของพระพุทธศาสนา ใช้เกณฑ์การตัดสินดังนี้ 1) จากมูลเหตุของการกระทํา คือ เจตนาที่เป็นกุศล อกุศลเป็นหลัก 2) จากผลของการกระทํา โดยพิจารณาจากการกระทําที่มีผลเป็นทุกข์-มีโทษหรือการกระทําที่ให้ผลเป็นสุข-มีคุณประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและบุคคลอื่น 3) ใช้มโนธรรม คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเอง และการยอมรับของวิญญูชน คือ การกระทําใดที่วิญญูชนหรือนักปราชญ์หรือบัณฑิตยอมรับ เป้าหมายของพุทธจริยศาสตร์ คือความสุขในชีวิต ทั้งในระดับโลกิยะ และระดับโลกุตระ คือ ปรมัตถสุข
มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์เก่าแก่และสำคัญคัมภีร์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ปรากฏนามผู้รจนา เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในราวพุทธศักราช 500 ปรากฏตามมธุรัตถปกาสินีฎีกาแห่งมิลินทปัญหา ซึ่งรจนาโดยพระมหาติปิฎกจุฬาภัยว่า พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นผู้แต่งนิทานกถา และ นิคมกถา เนื้อหาสำคัญของมิลินทปัญหาเป็นเรื่องการตอบปัญหาคลายความสงสัยในข้อธรรมต่าง ๆ ของ พระนาคเสน ต่อพระเจ้ามิลินท์ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้ (1) บุพพกรรมของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ (2) ปัญหาเงื่อนเดียว (3) ปัญหาสองเงื่อน (4) เรื่องที่รู้โดยอนุมาน (5) ลักษณะแห่งธรรมต่าง ๆ และ (6) เรื่องที่จะพึงทราบด้วยข้ออุปมา
วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ที่ปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา ผู้วิจัยได้พบพุทธจริยศาสตร์ 2 ลักษณะ คือ 1) ลักษณะแบบเดิม หลักของความเป็นจริงตามธรรมชาติ ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา 2) ลักษณะแบบร่วมสมัย โดยสามารถใช้หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาเพื่ออธิบายประเด็นปัญหาของสังคมยุคปัจจุบันได้หลักการดำเนินชีวิตตามทรรศนะของพุทธจริยศาสตร์มี 2 ระดับ คือ ระดับแรก เป็นหลักดำเนินชีวิตของคฤหัสถ์ เน้นถึง บุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทาน ศีล และภาวนา ระดับที่สอง เป็นหลักสำหรับบรรพชิต เน้นการศึกษาปฏิบัติในไตรสิกขา อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา เพื่อการดับกิเลสทั้งหลาย บรรลุถึงความสุขอย่างยิ่ง คือพระนิพพาน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis titled “A Critical Study of Buddhist Ethics as Presented in the Milinda Pañhã Scripture" aims: 1) to study the principles of Buddhist ethics, 2) to examine the historical background and essential content of the Milinda Pañhã scripture and 3) to analyze the Buddhist ethics found in the Milinda Pañhã scripture. The research’s findings were founded as follows:
The principles of Buddhist ethics entail the moral teachings of the Buddhism concerning the pursuit of the highest good in human life and the criteria for judging human conduct being as right or wrong, good or bad. Buddhist ethics are divided into three levels namely: the elementary level, consisting of the Five Precepts; the intermediate level, consisting of the Ten Virtues of Merit Making; and the advanced level, consisting of the Eightfold Path. The criteria for determining goodness or badness, according to the Buddhist perspectives are as follows: 1) on the motive of the action, namely, whether the good will or Bad will as the principle, 2) on the consequence of the action, considering whether the action results in suffering and harm, or whether it brings happiness and benefits both oneself and others, 3) on the introspection, which involves a sense of moral responsibility and acceptance of the guidance of wise persons. This means actions accepted by wise persons, monks, or graduates. The goal of Buddhist ethics is the happiness in life, both on the mundane or supra-mundane levels which is the ultimate happiness.
The Milinda Pañhã, an ancient and significant scripture in Buddhism, does not reveal its author’s name. Having believed that it has been composed around the 500 B.E. It also appeared in Madhurasapakasinitika of the Milinda Pañhã compossed by Mahatipitakaculabhaya the Elder that the introducition and the conclusion of Text compossed by Phra Buddhasashacaraya. The main contents of the Milinda Pañhã revolved around resolving various doubts in different doctrines by the Elder Naga Sena towards the King Milinda. It is divided into six parts as follows: 1) the birth of Naga Sena and King Milinda, 2) the single-pointed Problems, 3) the duble pointed problems, 4) things being known by inference, 5) various characteristics of Dhamma and and (6) things being known by metaphor.
On analyzing Buddhist ethics as presented in the Milinda Pañhã, researchers have identified two characteristics namely : 1) Traditional Characteristics: These are the fundamental principles of natural truth according to the teachings of Buddhism. 2) Contemporary Characteristics: These can apply Buddhist teachings to explain current societal issues. The principles of leading a life according to Buddhist ethics consist of two levels such as : 1) The first level is for laypeople, emphasizing Merit Making, including generosity (Dãna), moral conduct (Sila), and Meditation (Bhñvanã). 2) The second level is for monks, focusing on the study and practice of the three fold of trainings (Trisikkhã): training in higher morality, training in higher mentality and training in higher wisdom, in order to overcome all forms of impurities and attain the highest happiness, which is Nibbãna.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|