-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Application of the Four Paths of Accomplishmemt in Management of Administrative Organization of Phon Ngam Subdistrict in Nonahan District, Udonthani Province
- ผู้วิจัยพระครูไพศาลรัตโนภาส อุทาโน (แสงคำ)
- ที่ปรึกษา 1พระครูจิรธรรมธัช, รศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมเดช นามเกตุ
- วันสำเร็จการศึกษา09/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50799
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 333
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักอิทธิบาท 4 ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และ(3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์แล้ววิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า
หลักอิทธิบาท 4 ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นฐานแห่งความสำเร็จ คือ 1. ฉันทะ หมายถึง ความรัก พอใจในสิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่ทำ 2. วิริยะ หมายถึง ความพากเพียรและความขยันอย่างต่อเนื่อง 3. จิตตะ หมายถึง ความเอาใจใส่ มุ่งมั่น และรับผิดชอบสิ่งนั้นๆ 4. วิมังสา หมายถึง ความตระหนักไตร่ตรองถึงเหตุและผลด้วยปัญญา และจากการสัมภาษณ์พบว่า การบริหารองค์การนั้นมีการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับหลักอิทธิบาท 4 ในแต่ละข้อคือ บุคลากรในองค์กรมีความพอใจในงานที่ทำและรักในงานที่ทำ บุคลากรแต่ละหน้าที่มีความรับผิดชอบ เอาใจใสในงานที่ทำ มีการคิดวิเคราะห์เพื่อที่จะจัดการปัญหาในแต่ละเรื่องอย่างเป็นระบบ
สภาพปัญหาการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า มีนโยบายการพัฒนาไว้ 4 ด้าน 1. การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมสินค้าชุมชนให้มีช่องทางการจัดจำหน่าย การพัฒนาฝีมือแรงงานให้บูรณาการกับความต้องการปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่นั้นมีอาชีพ และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ 2. การพัฒนาทางด้านการเมือง โดยการสร้างความเป็นกลาง การเข้าถึงประชาชน เปิดเผยข้อมูล และให้ประชาชนมามีส่วนรวมในการบริหารจัดการ 3. การพัฒนาทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมประเพณีของชุมชน เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชน และการพัฒนาจิตอาสา และ4. การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดการขยะชุมชนอย่างมีระบบ การพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนสามรถใช้ผลประโยชน์ร่วมกัน และโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของชุมชน
การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า 1. การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการปลูกฝังการรักในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยความเอาใจใส และมีความคิดบูรณาการเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตามความต้องการของตลาด ซึ่งตรงกับ หลักฉันทะ วิริยะ และจิตตะ 2. การพัฒนาทางด้านการเมือง ส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น ซึ่งตรงกับหลัก จิตตะ และวิมังสา 3. การพัฒนาทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริมกิจกรรมการมีส่วนร่วมในงานประเพณีของชุมชน เพื่อสร้างความสามัคคี ซึ่งตรงกับหลัก ฉันทะ และจิตตะ และ4. การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีกระบวนการจัดการขยะชุมชนและการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งตรงกับหลัก ฉันทะ จิตตะ และวิมังสา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research are; (1) to study the Four Paths of accomplishment in Theravada Buddhism (2) to study the situation of problems in management of Administrative Organization of Phon Ngam subdistrict, Nonghan District, Udonthani Province and 3) to apply the principle of the Four Paths of accomplishment for management of Administrative Organization of Phon Ngam Subdistrict, Nonghan District, Udonthani Province. This research is qualitative research and then the data are analyzed in accordance with the objectives. The results of the research are as follows:
The Four Paths of accomplishment in Theravada Buddhism are found that these principles are the foundation of accomplishment, that is, 1) Chanda means love, aspiration of existing things or the things being done 2) Viriya means industry and continuous diligence 3) Citta means thoughtfulness, dedication and responsibility for those things 4) Vimamsa means investigation of cause and effect with wisdom and from interviewing, it is found that the organizational administration has an administration agreeable with the principle of the Four Paths of Accomplishment in each item, that is, personnels in the organization are satisfied with working and love of working, each person has duty for responsibility, pays attention for work, and to analyze how to solve the problems in each issues systematically
The problematic situations of management of Administrative Organization in Phon Ngam Subdistrict, Nonghan District, Udonthani Province are found that there are 4 policies for development, that is, 1) in the aspect of economy, that is, to enhance the community products in order to be opportunity to sell, development of laborers to integrate in the present requirement in order to encourage local people to have occupation and to be able to assist themselves 2) in the politic aspect, that is, to create the equality, accessibility with people, data opening, and participation of people in administration 3) in the aspect of social and cultural development, that is, to enhance the activity participation in the community traditions in order to create the community unity and the public mental development and 4) the development of natural resources and environment by destroying the community trashes systematically, developing the public sites for people to use the advantages together and development project of environment of the community.
The application of the Four Paths of Accomplishment for managing the Administrative Organization in Phon Ngam Subdistrict, Nonghan District, Udonthani Province is found 1) for developing the economical aspect, that is, by cultivating the value love of the community products by paying attention for it and to have the integrative thought in order to get the new provducts in accordance with the requirement of the market identical to Chanda, Viriya and Citta 2) in the aspect of politic development, it is to enhance the participative activities in order to develop the community better identical to the principle of Chitta and Vimamsa 3) in the aspect of social and cultural development with enhancement of the participative activities in the communitCy festival to create the unity identical to the principle of Chanda and Citta and 5) in the aspect of the development of natural resources and environment by having the process of destroying the community trashes and to develop the green sites for the usage of benefits together identical to the principle of Chanda, Citta and Vimamsa.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|