-
ชื่อเรื่องภาษาไทยศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Study of Guideline in Developing the Potentiality of the Buddhist Monks Teaching Morality in Schools in Pho Tak District, Nongkhai Province
- ผู้วิจัยพระครูปิยธรรมวัตร ฉนฺทธมฺโม (แสงเวช)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาไพฑูรย์ สิริธมฺโม, ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูจิรธรรมธัช, รศ. ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา09/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50805
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 323
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาสภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์แล้ววิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า
การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนในประเทศไทย พบว่า มีการประชุมวางแผนเพื่อกำหนดนโยบาย และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน มีการนำนโยบายที่ได้มาสู่การปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นประจำ มีการ สนับสนุนให้พระสอนศีลธรรม มีความรับผิดชอบในการถ่ายทอดหลักพุทธธรรม ส่งเสริมงบประมาณในการจัดกิจกรรม มีการประเมินผล ทั้งการเรียนการสอน และกิจกรรมวิถีพุทธของครู และนักเรียน จาการสัมภาษณ์พบว่า พระสอนศีลธรรม ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการสอนจากที่ได้รับการอบรมเพื่อปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
สภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย พบว่า ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขาดการบูรณาการสื่อการสอนให้เข้ากับเนื้อหาที่สอน ด้านการเป็นผู้นำนักเรียนเข้าสู่การฝึกสมาธิ พระสอนศีลธรรมขาดทักษะความรู้ความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้แก่เด็กนักเรียน บรรยากาศในการปฏิบัติไม่มีความพร้อม มีเสียงรบกวนสมาธิในการเรียน ผู้สอนขาดเทคนิควิธีการสอนที่สามารถจูงใจเด็กได้ ด้านการเป็นผู้สอนหรือทบทวนธรรมศึกษาให้แก่นักเรียน จำกัดด้านระยะเวลาในการเรียนส่วนใหญ่ทางโรงเรียนจะจัดให้พระเข้าไปสอนเพียงอาทิตย์ละ 1 คาบเท่านั้น ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน การพัฒนาสื่อการสอนของพระสอนศีลธรรมยังไม่ทันสมัย ขาดความน่าสนใจ ขาดการบูรณาการสื่อการสอนอื่น ๆ เข้ามาร่วมในการช่วยสอน
แนวทางการพัฒนาศักยภาพของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย พบว่า 1. ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีการบูรณาการสื่อการสอนให้ทันสมัยกับปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยใช้สื่อออนไลน์ในปัจจุบัน และตรงกับเนื้อหาที่สอนตามหลักสูตร ร่วมทั้งการผลิตสื่อการสอนด้วยการออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด 2. ด้านการเป็นผู้นำนักเรียนเข้าสู่การฝึกสมาธิ ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจใน ความสำคัญของสมาธิ และประโยชน์ของสมาธิ แล้วนำพาทำสมาธิ เป็นลำดับขั้นตอน และจัดกิจกรรมให้เด็กมีการฝึกปฏิบัติอยู่เรื่อย ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจและบรรยากาศในการสอน 3. ด้านการเป็นผู้สอนหรือทบทวนธรรมศึกษาให้แก่นักเรียน มีการจัดเวลาในการสอน ตอบคำถาม และทบทวนในสิ่งที่มีความสำคัญให้มีความเหมาะสม โดยการมีตำรางเวลาของแต่ละชั้นเรียนเพื่อเป็นการบริการเวลา และการสอน ทบทวนอย่างเป็นระบบ 4. ด้านการสอนวิชาพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการเข้ากับชีวิตประจำวัน ผู้สอนได้เน้นในเรื่องของหลักธรรมสำคัญสำหรับบูรณาการกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน พัฒนาสื่อการสอนให้หลากหลายให้เข้ากับผู้เรียน และเข้ากับเนื้อหาในการสอนสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The purposes of this research are (1) to study the potentiality of Buddhist monks teaching morality in schools of Thailand (2) to study the state of Buddhist monks teaching morality in Pho Tak District, Nongkhai Province and 3) to propose the guideline for developing the potentiality of the Buddhist monks teaching morality in schools in Pho Tak District, Nongkhai Province. This research is the qualitative research and the results of research are found that
The development of the potentiality of Buddhist monks teaching morality in schools of Thailand is found that to provide the conference for planning to designate the policy and to make understanding related to carry out the projects clearly by leading the policy to the practice and encourage the learners to develop continuously and regularly and to encourage the Buddhist monks teaching morality to take responsibility for teaching the principle of Buddhadhama, to support the fund for providing activities and evaluation both learning and teaching and Buddhist activities both teachers and students. From interviewing is found that the Buddhist monks teaching morality develop the curriculum for teaching morality from training in order to improve learning activities to be proficient and to promote the students’ learning.
The state of the Buddhist monks teaching morality in schools in Pho Tak District, Nongkhai Province is found that in the aspect of teaching the Buddhist subjects in accordance with the basic of educational curriculum, it lacks the integration of teaching media with the teaching contents. In the aspect of leading the students to practicing meditation, the Buddhist monks still lack of knowledge and ability to motivate students and the atmosphere in practicing is not ready and the sounds interrupting meditation practice in learning. Teachers lack of teaching technique to be able to motivate students. In the aspect of teaching or reviewing Dhamma education for students, the teachers have limitation of the length of time in learning, mostly, the schools provide the subject for the Buddhist monks to teach only one period for each week. While in the aspect of integrative teaching with the daily life, the development of teaching media is not modern, that is, lack of interesting, integration of other teaching medias to apply for teaching.
The way to develop the potentiality of the Buddhist monks teaching morality in schools in Phon Tak District, Nongkhai Province is found that 1) the aspect of Buddhist subject in accordance with the curriculum of the basic education should by ate the teaching medias with contents that are taught as modern in the present and to access easily by using the online medias and identical to the contents taught in accordance with the curriculum including the teaching products by issuing the models of activities for students to participate in a great numbers 2) in the aspect of leading the students to practicing meditation it is created by increasing knowledge and understanding in the significance of meditation and the benefits of meditation and then to practice meditation levelly and provide the activities for students in order to practice regularly in order to motivate and create the atmosphere in teaching 3) in the aspect of teaching or reviewing Dhamma education for students to manage the time table for teaching , answer the questions, and review the important and appropriate things bthings by having the time tables of each class for service of time and teach and review systematically 4) in the aspect of each subject of integration of Buddhist subjects with the daily life, the teachers focus on the important Dhamma for integration in order to use in the present life. Many medias should be produced as appropriate for learners and appropriate contents for teaching and it can be brought for use really.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|