โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    วิเคราะห์พุทธวิธีการตอบปัญหาแก่ท้าวสักกะในสักกปัญหสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical of Buddha’s Method in Answering the Sakka’s Questions in the Sakkapañhasutta
  • ผู้วิจัยพระอธิการมานะ ฐิตญาโณ
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาอดิเดช สติวโร, ผศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.สุเทพ พรมเลิศ
  • ที่ปรึกษา 3พระมหายงยุทธ ธีรธมฺโม, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50808
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 331

บทคัดย่อภาษาไทย

   วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญในสักกปัญหสูตร 2) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการตอบปัญหาแก่ท้าวสักกะในสักกปัญหสูตร 3) เพื่วิเคราะห์พุทธวิธีการตอบปัญหาแก่ท้าวสักกะในสักกปัญหสูตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสารโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปวิเคราะห์ เรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า สักกปัญหสูตร เป็นพระสูตรว่าด้วยปัญหาของท้าวสักกะที่ทูลถามพระผู้มีพระภาค ขณะประทับอยู่ในถ้ำอินทสาละ ที่ภูเขาเวทิยกะ ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ชื่ออัมพสัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงราชคฤห์ เป็นการบรรยายโวหารแบบถาม-ตอบ เนื้อหาของพระสูตรนี้มี 2 ภาณวาร ภาณวารที่ 1 แบ่งย่อยเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่เป็นบทนำ ตอนปัญจสิขะ คันธรรพบุตรบรรเลงเพลง ตอนท้าวสักกะเข้าเฝ้า ตอนท้าวสักกะกราบทูลเรื่องโคปกเทพบุตร และภาณวารที่ 2 แบ่งย่อยเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ท้าวสักกะทูลถามปัญหา ตอนที่พระผู้มีพระภาคตรัสถามท้าวสักกะ

พุทธวิธีการตอบปัญหาแก่ท้าวสักกะในสักกปัญหสูตรแบ่งออกเป็น หลักการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กล่าวคือ มีหลักโอวาทปาติโมกข์เช่น การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้ผ่องใส ลีลาการสอนของพระพุทธเจ้ากล่าวคือ พระพุทธองค์มีจุดมุ่งหมายในการสอน มีวิธีที่ทรงสอน มีอุบายประกอบการสอน มีรูปแบบการสอน มีแผนการสอน มีแนวคิดทางการสื่อสารการสอน ส่วนพุทธกิจของพระพุทธเจ้า 5 ประการคือ 1. เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต 2. เวลาเย็นทรงแสดงธรรม 3. เวลาพลบค่ำประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย 4. เวลาเที่ยงคืนตอบปัญหาเทวดา 5. เวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูสัตว์โลก และรูปแบบการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้าโดยพิจารณาถึงลักษณะของปัญหาและวิธีที่เหมาะสมกับการตอบปัญหานั้นๆ แบ่งออกเป็น 4 ประการได้แก่ 1. เอกังสพยากรณียปัญหา คือ ปัญหาที่ตอบแบบตรงไปตรงมา 2. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา คือ ปัญหาที่ย้อนถามให้ชัดเจนก่อนแล้วจึงตอบปัญหานั้น 3. วิภัชชพยากรณียปัญหาคือ ปัญหาที่ควรแยกตอบเป็นประเด็น 4. ฐปนียปัญหาคือ ปัญหาที่ไม่ควรตอบ เพราะไม่มีประโยชน์

            วิเคราะห์พุทธวิธีการตอบปัญหาแก่ท้าวสักกะในสักกปัญหสูตรกล่าวคือ ท้าวสักกะจอมเทพเห็นได้โอกาสตรัสเรียกปัญจสิขะ คันธรรพเทพบุตรมารับสั่งให้กราบทูลขออนุญาตเข้าเฝ้า เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต จึงเสด็จนำเหล่าเทพเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องโคปกเทพบุตรให้ทรงทราบ ทรงสรุปว่า เพราะทรงทราบเรื่องการปฏิบัติธรรม และผลแห่งการปฏิบัติธรรมของโคปกเทพบุตรจึงเสด็จมาเฝ้าเพื่อจะฟังธรรมเช่นนั้นบ้างแล้วทูลขอโอกาสถามปัญหา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจึงทูลถามปัญหามีใจความสรุปได้ 12 ข้อเช่น ถามว่า พวกเทพ มนุษย์จำนวนมากต่างตั้งความปรารถนาว่า ขอพวกเราจงเป็นผู้ไม่มีเวร แต่เพราะอะไรเล่าผูกมัดไว้ พวกเขาจึงยังคงมีเวรอยู่ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า เพราะมีอิสสาคือ ความริษยา และมัจฉริยะคือความตระหนี่ผูกมัดไว้เป็นต้นส่วนผลของการฟังพยากรณ์ปัญหาในครั้งนั้นทำให้ท้าวสักกะและเทวดาผู้เป็นบริวาร 80,000 ตน ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน และละความเป็นท้าวสักกะแก่ถึงความเป็นท้าวสักกะหนุ่ม ด้วยผลของการฟังธรรมดังกล่าวนี้

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          This thesis has three objectives namely; 1) to study the structure and essences of Sakkapañhasutta, 2) to study the Buddha’s method in answering questions in Theravada Buddhist Scriptures, and 3) to analyze the Buddha’s method in answering the Sakka’s questions in Sakkapañhasutta. This research was a documentary research through studying the Theravada Buddhist Scriptures and related documents which were collected for summarizing, analyzing, compiling, and descriptive presentation.

            The findings of this research were as follows:

              Sakkapañhasutta was a sutta on Sakka’s questions asking the Buddha while staying where there is a Brahmin village named Ambasaṇda, north of which on Mount Vediyaka, is Indra’s hill cave, the land of Magadhans, where east of Rājagaha. This sutta was a question-and-answer in a narrative style. The texts of this sutta consisted of two Catubhāṇavāra, the four Recitals; the first one was subdivided into four parts namely, the part of the introduction, the part of Pañcasikha: A Gandhabba playing song, the part of Sakka approaching, and the part of Sakka asking about Gopakadevaputta. The second one was subdivided into two parts; the part of Sakka asking the questions, and the part of the Buddha asking Sakka, the Lord of gods.  

           The Buddha’s methods of answering questions were divided into the principles of propagating Buddhism, namely, the Three Admonitions or Exhortations of the Buddha; not to do any evil, to do good, and to purify the mind. The Buddha’s style of teaching was said there be the target, method, style, plan, and concept of communication of teachings. Then, the Buddha’s daily routine was divided into five parts: 1) the morning session, going to the alms bowl, 2) the afternoon session, giving the sermon, 3) The evening session, giving the admonitions to monks, 4) the midnight session, answering the deities’ questions, and 5) the early morning, observing the whole universe. The Buddha’s style of answering the questions by considering the kinds of questions and the appropriate method to answer those questions, which is divided into four ways; 1) Ekansavyākaraa – one-way answering, 2) Patipucchāvyākaraa – answering through an analytically examining the questions; 3) Vibhajjavyākaraa – answering by posing a counter question; 4) hapanīyapahā – answering by putting the question aside or being in silence. 

                  An analysis of the Buddha’s method of answering Sakka’s questions in Sakkapañhasutta, Sakka, the lord of gods seeing a good opportunity to call Pañcasikha, Gandhabbadevaputta and asked for permission to approach the Lord Buddha, when He allowed them, he led his group of gods to approach the Lord Buddha for asking Gopakadevaputta. It can be concluded that because of practicing meditation and the result of meditation practice of Gopakadevaputta, he knew and approached to listen to some Dhamma like that and asked for an opportunity to ask some questions. Having been granted an opportunity by the Buddha, Sakka asked the questions with a summary of 12 questions for example ‘What fetters bind the gods and humans - so that, though they wish to be free of enmity, they still have enmity. The Lord Buddha answered him that because the fetters of jealousy and stinginess bind the gods and humans, - Jealousy is wanting what others have, while stinginess is not wanting to share what you have. As a result of listening to an answer, the stainless immaculate vision of the Dhamma arose in Sakka, the lord of gods, and also for another 80,000 deities. They also decreased ego as old and young as Sakkahood with the listening of this Dhamma.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ