โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: library@mcu.ac.th

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การศึกษาวิเคราะห์พละ ๔ ในพลสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Four Powers (Bala) in the Bala-Sutta
  • ผู้วิจัยพระวุฒิกร รวิวํโส (ระวิพงษ์)
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสิริรัตนบัณฑิต, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา14/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50809
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 357

บทคัดย่อภาษาไทย

          วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญของพลสูตรต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องพละ 4 ในพลสูตร 3) เพื่อวิเคราะห์หลักคำสอนเรื่องพละ 4 ในพลสูตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณาวิเคราะห์

            ผลการศึกษาพบว่า หลักธรรมในหมวดพลธรรมนั้น มีปรากฏอยู่ในพระสูตรหลายแห่งด้วยกัน แต่โดยภาพรวม จะมีความหมายเหมือนกันคือ เป็นหลักปฏิบัติที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดกำลัง เกิดพลัง เพื่อทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถก้าวขึ้นไปสู่ความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ผู้ปฏิบัติตั้งเป้าเอาไว้ ซึ่งมีทั้ง พละ 4,พละ 5 , พละ 6 และพละ 7 ประการ พลธรรมที่มีในพระไตรปิฎกนั้น โดยรวมจะประกอบด้วย ปัญญาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อนวัชชพละ และ สังคหพละ รวมทั้งหมด 8 ประการ (ขาด วิริยะ) หากแต่จะแตกต่างกันตามวัตถุประสงค์การนำไปปฏิบัติใช้ว่า มีเป้าหมายเพื่ออะไร ก็จะนำบางหัวข้อเข้าไปประกอบรวมกันเป็นพลธรรมในพระสูตรเหล่านั้น

ปัญญาในทางพุทธศาสนาหมายรวมทั้งปัญญาที่สร้างประโยชน์ในปัจจุบันชาติ และยังหมายรวมถึงปัญญาที่ใช้ในการปฏิบัติธรรม ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ขจัดกิเลสภายใน เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในภพชาติต่อไปจนถึงภพชาติสุดท้ายคือเข้าพระนิพพาน ส่วนวิริยะในทางพระพุทธศาสนา จะหมายรวมทั้งความเพียรในการประสบความสุข ความสำเร็จในชาติปัจจุบันและยังหมายรวมถึงความเพียรในการปฏิบัติธรรม การพยายามฝึกจิตให้เป็นสมาธิในทุกอิริยาบถ ส่วนของอนวัชชะในทางพระพุทธศาสนา จะหมายรวมทั้งหน้าที่การงานและความประพฤติที่ไม่มีโทษ และยังหมายถึงความประพฤติหรือการปฏิบัติตนให้มีความสุจริต และส่วนสังคหะในทางพระพุทธศาสนา จะหมายรวมทั้ง การช่วยเหลือเกื้อกูล การแบ่งปันเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของชีวิตในด้านปัจจัย 4 เพื่อให้ผู้รับสามารถพึ่งพาตนเองได้ สร้างสังคมแห่งความสุข และยังหมายถึงการแก้ปัญหาที่แท้จริง คือความทุกข์ในจิตใจมนุษย์

            ผู้ปฏิบัติตนตามหลักพละ 4 นอกจากจะเกิดพลังหรือกำลังในการผลักดันตนเองไปสู่ความสุข ความสำเร็จในชีวิตแล้ว ยังสามารถเป็นหลักประกันให้กับชีวิตในปัจจุบันชาตินี้ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติตามหลักพละ 4 จะเกิดพลังที่เป็นเสมือนภูมิต้านทานสิ่งที่จะเป็นภัยอันตรายที่เกิดจากการดำเนินชีวิต ทั้งภัยจากการครองชีพ (อาชีวิตภัย) ภัยจากการเสื่อมเสียชื่อเสียง (อสิโลกภัย) ภัยจากความครั่นคร้ามเก้อเขินในที่ชุมชน (ปริสสารัชชภัย) ภัยจากความตาย (มรณภัย) และภัยจากทุคติภูมิ (ทุคติภัย)

         การประยุกต์ใช้หลักพละ 4 ในการเพิ่มสมรรถนะให้กับผู้ปฏิบัติงาน คือ การบูรณาการหลักธรรมที่นำมาเสริมสร้างสมรรถนะให้กับผู้ปฏิบัติงาน หรือบุคลากรเพื่อประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานนั้น ได้นำหลักพละ 4 อันประกอบไปด้วย หลักปัญญาพละ หลักวิริยะพละ หลักอนวัชชพละ และหลักสังคหพละกับหลักสมรรถนะตามหลักสากล คือ ความรู้ ทักษะ และความสามารถ ซึ่งด้านปัญญา ต้องเป็นผู้มีความรู้ในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้รู้แจ้ง รู้ลึก รู้รอบ ต้องมีปัญญาเป็นหลักในการสังเคราะห์ความรู้ที่ มีความวิริยะ อุตสาหะ และประกอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติงาน มีไมตรีจิตต่อเพื่อนร่วมงาน ด้านทักษะ เป็นความสามารถเฉพาะสายงาน เป็นความชำนาญนี้มีผลเนื่องมาจากปัญญาที่ได้เรียนรู้ ฝึกอบรม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความสามารถ เป็นผู้มีความสามารถทางด้านความคิด ทัศนคติที่ดี และความต้องการส่วนบุคคล หากบุคคลมีลักษณะในด้านบวกเฉพาะตนได้บูรณาการหลักธรรมมาประยุกต์ในการทำงานจะทำให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว ย่อมนำองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างแน่นอน

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis has three objectives namely, 1) to study the structures and essences of the various Bala-Sutta in the Tipiṭaka, 2) to study the doctrine of the four powers in Bala- Sutta, and 3) to analyze the doctrine of the four powers in Bala- Sutta. This is documentary research.

The result of the study found that the principles in the section of Bala appear in various Suttas, but overall, there are the same meanings; it is the practice that strengthens the practitioner, and it enables a practitioner to progress in achieving the settled goals. The Balas have appeared in Tipiṭaka namely, the Four Powers (Bala 4), the Five Powers (Bala 5), the Six Powers (Bala 6), and the Seven Powers (Bala 7), those powers consist of the Principles namely, wisdom (paññā), effort (virya) mindfulness (sati), concentration (samādhi), moral shame (hiri), moral dread (ottappa), faultlessness (anavajja), and sympathy (saṅgaha), totals are eight principles. However, it has depended on the purpose of the implementation, some principles will be combined into Bala-dhamma in various Suttas. 

Wisdom in Buddhism encompasses the wisdom created for usefulness in the present day and also includes wisdom for practicing the Dhamma, purifying the mind, eliminating inner defilements, and for the benefit of the next incarnation until the last life is to attain Nibbāna. Effort (viriya) in Buddhism includes the effort to cultivate happiness and achievement in the current life, and also the effort for Dhamma practice, trying to train the mind to concentrate on every activity. Faultlessness (anavajja) in Buddhism refers to a career or job and behavior that is unexceptionable action and also refers to behavior or practice of oneself with good conduct. Sympathy (saṅgaha) in Buddhism means helping each other, and charity to solve the four fundamental problems of life so that the receiver can be self-reliant, create a society of happiness, and solve the real problem which is the suffering in the human mind.

Those who adhere to the principles of the four powers (Bala) not only generate power or motivation for self-improvement to lead to happiness and success in life, it also can provide security for current life. By following these principles, individuals build resilience against potential dangers arising from fear of troubles about livelihood (ājīvita-bhaya), fear of ill-fame (asiloak-bhaya), fear of embarrassment in assemblies (parissārajja-bhaya), fear of death (maraṇa-bhaya), and fear of a miserable life after life (dugati-bhaya).

         The application of the four powers (Bala) to increase the competency of the operators is the integration of principles that enhance the efficiency of the operators or personnel for applying in their work. It has applied the principle of four powers (Bala) consisting of wisdom (paññā), effort (virya) faultlessness (anavajja), and sympathy (saṅgaha), with the international competency standards, namely, knowledge, skill, and abilities. Intellectual aspects involve knowing the job, being an informed and well-rounded individual, and synthesizing knowledge with wisdom, effort, and integrity in working. Having goodwill towards colleagues in terms of skill which is a specific ability in the field. This expertise is continuously gained through wisdom learned, trained, and developed. Competency is a positive mindset, a good attitude, and personal needs. Applying these positive traits, if individuals have cultivated ethical principles in their work, it will lead to a knowledgeable and morally upright person and inevitably guide the organization towards its goals.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ