-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Cultivating Service Mind by Buddhist Psychology for Volunteer’s Life Quality
- ผู้วิจัยนางสาวอโนทัย สินตระการผล
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
- วันสำเร็จการศึกษา09/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50818
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 1,445
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันด้านคุณลักษณะจิตบริการและคุณภาพชีวิตของจิตอาสา 2) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา ๓) นำเสนอแนวทางการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันด้านคุณลักษณะจิตบริการของจิตอาสาวัดป่าเจริญราช พบว่า จิตอาสามีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีหลักธรรมประจำใจที่ใช้ในการดำเนินชีวิต มีจิตบริการ คือ เอาใจใส่ มีเมตตากรุณา เห็นใจผู้อื่น กระตือรือร้นช่วยเหลืออำนวยความสะดวก ยิ้มแย้ม จริงใจ มีไมตรีจิต มีความพร้อมเป็นผู้ให้ด้วยใจโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และการได้ช่วยเหลือผู้อื่น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของจิตอาสานั้นมีความสุขคลายความทุกข์ มีเมตตาอันเป็นสิ่งช่วยฟอกจิตใจให้กิเลส และอัตตาตัวตนลดลงด้วย อีกทั้งยังมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิต มีเหตุผล และมองโลกในแง่ดี
2. องค์ประกอบการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ต้นแบบจิตอาสา ซึ่งเป็นบุคคลต้นแบบที่มีหลักธรรมประจำใจ เป็นกัลยาณมิตร และเป็นปรโตโฆษะ 2) คุณลักษณะสำคัญของจิตอาสา คือ มีศรัทธาและมีแรงจูงใจที่ดี มีจิต มีศีลมีธรรม มีความพร้อมในการพัฒนากายใจ 3) หลักธรรมประจำใจจิตอาสา ได้แก่ สติ ขันติธรรม อิทธิบาทสี่ พรหมวิหารสี่ 4) แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง คือ หมั่นฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ ใช้ประสบการณ์สอนตนเอง ปฎิกรรมกรรมฐาน และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ จริงใจ
3. แนวทางการพัฒนาจิตบริการตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อคุณภาพชีวิตของจิตอาสา พบว่า มีแนวทางที่สำคัญ คือ 1) การมีต้นแบบของจิตอาสา ต้นแบบในการทำความดี และจิตอาสาเพื่อส่วนรวม 2) การมีคุณลักษณะที่สำคัญของจิตอาสา ทั้งภายใน เช่น ทัศนคติที่ดี ตลอดจนบุคลิกภาพ การแสดงออกที่ดีและชัดเจน ภายนอก คือ ความรอบรู้ มีไหวพริบ สามารถแก้ไขปัญหา และควบคุมอารมณ์ได้ 3) หลักธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตและในการทำงานจิตอาสา 4) แนวทางปฏิบัติในการทำงานจิตอาสาเพื่อให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากความใส่ใจ การฝึกฝนตนเอง เพื่อสั่งสมประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์สร้างความชำนาญ ปฏิบัติกรรมฐานฝึกจิตใจ และความอดทนอยู่เสมอ มีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างไม่ย่อท้อ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของจิตอาสา มี 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านกาย เกิดความแข็งแกร่งทางกาย ด้วยการทุ่มเทแรงกายแรงใจในงานจิตอาสา 2) ด้านศีล จิตอาสามีความศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา มีหลักธรรมประจำใจดำเนินชีวิตอยู่บนทางธรรม เช่น ฝึกสติโดยการเข้ากรรมฐานอยู่เสมอ 3) ด้านจิต เป็นผู้ที่มีสติ รู้คิด มีความอดทนอุตสาหะ รู้จักควบคุมอารมณ์ 4) ด้านปัญญา มีสติในการดำเนินชีวิต รู้เท่าทันตนเอง และมีความเข้าใจสิ่งรอบข้างมากขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research are 1) to study the current state of service mentality and the quality of life of volunteers; 2) to study the components of service mental development according to Buddhist psychology for the quality of life of volunteers; 3) to present guidelines for developing service mentality according to Buddhist principles. Psychology for the quality of life of volunteers By means of qualitative research (Qualitative Research), data were collected using in-depth interviews (In-Depth Interview) from 25 key informants/people using purposive sampling. The research tools included semi-structured interviews. and analyze the data using content analysis.The findings of the study were as follows:
1.The current state of service characteristics of volunteers at Wat Pa Charoenrat found that volunteers have faith in Buddhism. Have moral principles that are used in living life, have a service mind, that is, be attentive, benevolent, and sympathize with others. Be eager to help and facilitate, smile, be sincere, have goodwill, be ready to be a giver with your heart without expecting anything in return. and helping others As a result, the quality of life of the volunteers will be happy and relieved of suffering. Have kindness which helps purify the mind of defilements. and the ego is reduced as well They also have a good attitude to life, are reasonable and optimistic.
2. Components of developing a service mind by Buddhist psychology for Volunteer’s life quality are 4 components: 1) a model of volunteer spirit who is a role model with moral principles in mind Be a good friend and is Paratokosha. 2) The important characteristics of the volunteer spirit are having faith and good motivation, having the mind, morality, and dharma, and being ready to develop the body and mind. 3) The dhamma principles of the volunteer spirit include mindfulness, tolerance, and the four Iddhipāda. Four brahmavihāra 4) Continuous practice is to constantly train oneself. Use experience to teach yourself meditation and have determination and sincerity.
3. Guidelines for developing a service mind by Buddhist psychology for volunteer’s life quality. It was found that there are important guidelines: 1) having a model of volunteer spirit. A role model for doing good and volunteering for the public 2) Having important characteristics of volunteering, both internally, such as a good attitude, as well as personality. Good and clear expression on the outside is knowledgeable, witty, and able to solve problems. and can control emotions 3) Dhamma principles used in living life and in volunteer work. 4) Guidelines for practicing volunteer work so that it continues from care and self-training. To accumulate experience to benefit and create expertise Practice meditation to train the mind And always be patient. Have determination and determination without giving up. This will affect the development of the quality of life of volunteers in 4 areas as follows: 1) Physical aspect, creating physical strength. By dedicating physical and mental strength to volunteer work. 2) In terms of morality, volunteers have faith and adore Buddhism. Have principles in your heart to live your life on the Dhamma path, such as practicing mindfulness by regularly meditating. 3) Mentally, being a person who is mindful, knows how to think, and has patience and diligence. Know how to control your emotions. 4) Intellectual aspect: Be mindful in living life. Know yourself and have a greater understanding of the surroundings
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|