-
ชื่อเรื่องภาษาไทยผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปรับตัว ในผู้ป่วยมะเร็ง
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษEffect of Individual Buddhist Counseling Psychological on Adaptation of Cancer Patients
- ผู้วิจัยนางสาวสุพรรษา กุลวรรณ
- ที่ปรึกษา 1รศ. ดร.กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
- วันสำเร็จการศึกษา09/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50820
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 817
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียว (One-group pretest -posttest design) วัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการให้การปรึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่ 1-2 มีอายุระหว่าง 40-70 ปี การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 ราย โดยให้การปรึกษา คนละจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้คือ แบบบันทึกการให้การปรึกษารายบุคคล และแบบประเมินการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบเครื่องหมายของวิลคอกซัน เพื่อทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ผลคะแนนการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งหลังการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยามากกว่าก่อนการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนรายด้าน พบว่า ด้านความต้องการด้านร่างกาย ด้านความต้องการด้านอัตมโนทัศน์ ด้านความต้องการด้านบทบาทหน้าที่ และด้านความต้องการด้านการพึ่งพาอาศัย หลังการทดลองมีมากกว่าก่อนการทดลองในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า การให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาช่วยส่งเสริมการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งให้เข้าใจตนเองและเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น จากการศึกษาในครั้งนี้ควรนำแนวทางการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาลและการให้การปรึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความเครียดหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถปรับตัวยอมรับโรคที่เป็นอยู่ และการรักษาได้ดียิ่งขึ้น
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objective of this research aimed to study the effects of providing individual counseling based on Buddhist Psychology on coping in cancer patients.The research utilized a one-group pretest-posttest design and employed a quasi-experimental research method. The sample group consisted of 10 cancer patients diagnosed at stage 1-2, aged between 40-70 years old selected by a purposive sampling method with 5 counseling sessions for 45-60 minutes each. The tools for data collection were the individual counseling form based on Buddhist Psychology and the assessment form for cancer patient adaptation. For quantitative data analysis, the statistics including the mean () and standard deviation (SD) and the Wilcoxon matched pairs signed rank test to prove the hypothesis comparing the mean levels of individual counseling based on Buddhist psychology before and after the counseling was employed. For analyzing qualitative data, a content analysis was used.
The findings of the study revealed that the adaptation scores of cancer patients after receiving individual counseling based on Buddhist Psychology were statistically significant at the .05 level. When analyzing the scores in different aspects, including physical needs, self-concept needs, role and responsibility needs, and dependence needs, it was found that after the experiment, the adaptation scores of cancer patients were higher than before the experiment in all aspects with statistical significance at the .05 level. And the results of the interview data analysis revealed that providing individual counseling based on Buddhist Psychology helped promote the understanding of oneself and the selection of appropriate problem-solving methods in cancer patients. Therefore, from the study results, the individual counseling approach based on Buddhist Psychology should be applied for the nursing process and counseling in cancer patients to encourage patients to deal with stress or problems to enhance their mental resilience so that they can accept what serious hardships they have faced, resulted in more effective treatment.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|