โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    ศึกษาวิเคราะห์อุบายระงับความเศร้าโศกในสัลลสูตร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษAn Analytical Study of the Method of Eliminating Grief in the Salla Sutta
  • ผู้วิจัยนางสาวรวิวรรณ ปุณณาภิรมย์
  • ที่ปรึกษา 1พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ, รศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูสิริรัตนบัณฑิต, ผศ. ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา16/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50822
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 331

บทคัดย่อภาษาไทย

           วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาอุบายระงับความเศร้าโศกในพระไตรปิฎก (2) เพื่อศึกษาโครงสร้างและสาระสำคัญของสัลลสูตร และ (3) เพื่อวิเคราะห์อุบายระงับความเศร้าโศกในสัลลสูตร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์

            ผลการวิจัยพบว่าในพระไตรปิฎกมีบุคคลที่เกิดความเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักมากมาย ดังตัวอย่างที่ปรากฏในพระสูตรต่าง ๆ เช่น ปฏาจาราเถรี, กิสาโคตรมีเถรี,นารทสูตร, วิสาขาสูตร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปรากฏในชาดกต่าง ๆ เช่น อุรคชาดก, มิคโปตกชาดก, มัฏฐกุณฑลีชาดก เป็นต้น พระผู้มีพระภาคทรงเปรียบความทุกข์ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่เกิดความเศร้าโศกจากการสูญเสีย เหมือนถูกลูกศรปักติด ก็จะวิ่งพล่านไปทุกทิศทาง วิ่งจากภพนี้ไปภพหน้า วิ่งจากคตินี้ไปคติหน้า วิ่งจากวัฏฏะนี้ไปวัฏฏะหน้า ต่อเมื่อสัตว์นั้นสามารถถอนลูกศรเหล่านั้นออกได้ จึงไม่ต้องวิ่งพล่านไป ซึ่งลูกศรคือกิเลส ประกอบด้วยลูกศร 7 ชนิด ได้แก่ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ  ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือโสกะ ลูกศรคือความสงสัย

               โครงสร้างและสาระสำคัญของสัลลสูตร เป็นพระสูตรว่าด้วยลูกศรคือกิเลส มีปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 คัมภีร์ขุททกนิกาย สุตตนิบาต หมวดมหาวรรค เป็นพระสูตรที่ 8 มีเนื้อหาสาระที่เป็นประเภทร้อยกรองล้วน (คาถา) จำนวน 20 พระคาถา โดยเนื้อหาและสาระสำคัญกล่าวถึงอุบาสกผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค เกิดความเศร้าโศกด้วยบุตรชายตาย อดอาหาร ๗ วัน เมื่อพระองค์ทรงทราบเรื่องจึงเสด็จไปยังเรือนของอุบาสก เพื่อแสดงธรรมเทศนาเป็นพระคาถา สามารถสรุปได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กล่าวถึงเรื่องความตาย (2) กล่าวถึงเรื่องความเศร้าโศก และ (3) กล่าวถึงการระงับความเศร้าโศก

         อุบายระงับความเศร้าโศกที่ปรากฏในสัลลสูตรถือเป็นพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นพุทธอุบายเพื่อให้อุบาสกคลายความเศร้าโศกคือโสกะออกจากใจเพื่อเป็นเครื่องถอนลูกศรคือกิเลสให้หลุดพ้นจากความเป็น “ปุถุชน” เพื่อความเป็น “อริยบุคคล” โดยวิเคราะห์แยกออกเป็น 2 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1) ผู้วิจัยวิเคราะห์การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก และการยอมรับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยวิเคราะห์พิจารณาตามหลักธรรมอภิณหปัจจเวกขณ์ หรือ ฐานะ 5 อันประกอบด้วย (1) มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ (ชราธัมมตา) (2) มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ (พยาธิธัมมตา) (3) มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ (มรณธัมมตา) (4) ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น (ปิยวินาภาวตา) และ (5) มีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม (กัมมัสสกตา) สรุปได้ว่า อุบาสกในสัลลสูตร เป็น “ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ” เพราะไม่ได้พิจารณาถึงสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อุบาสกยังเกิดความคร่ำครวญ เศร้าโศกถึงบุตรชายอยู่ ความตายนั้นไม่ใช่ของเราคนเดียว แต่เป็นของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ตายไปทั้งสิ้น หลังได้ฟังพระคาถาแล้ว ย่อมสามารถคลายความเศร้าโศกได้ ยอมรับการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยสามารถมองเห็นสัจธรรมที่ว่า “เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้” และ เนื้อหาประเด็นที่ 2 วิเคราะห์ด้านการระงับความเศร้าโศก โดยพิจารณาจากหลักธรรม 3 อย่าง คือ (1) ระงับด้วยหลักโยนิโสมนสิการ (2) ระงับด้วยหลักไตรลักษณ์ และ (3) ระงับด้วยหลักอริยสัจ 4 เมื่ออุบาสกน้อมนำไปปฏิบัติ ย่อมเป็นผู้ระงับความเศร้าโศก ถอนลูกศร คือ โสกะได้ และถอนลูกศรคือกิเลส ได้ด้วย

 

 

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

This thesis has three objectives namely, 1) to study the method of eliminating grief in the Tipiṭaka, 2) to study the structures and essences of Salla-Sutta, and 3) to analyze the method of eliminating grief in the Salla-Sutta. This study used documentary research by content analysis of data and descriptively presented.

The result of the study found that Tipiṭaka, many people who were grieving the loss of a beloved person appeared in various suttas i.e., Paṭācārā, Kīsāgotamī, Nārada-Sutta, Visākha-Sutta. It also appeared in various Jātakas such as Uraga-jātaka, Migapotaka-jātaka, Maṭṭhakualī-jātaka, etc. The Lord Buddha compared the suffering occurring to a person who is grieving a loss like when stuck by that dart, he runs around in all directions, running from this life to the next life.  But when that simply on pulling it out, he neither run around nor sink down. The darts mean defilements which consist of seven kinds; sensual pleasures, anger, deluded, conceit, view, grieve, and doubt.

The structure and essence of Salla-Sutta is the discourse on the simile of allow, it is found in the 8th sutta of the Mahāvagga of the Suttanipāta in the Tipitaka Vol. 25 (MCU version). There are 20 verses (gatha) in the contents and essences, which mention a householder whose son had recently died who could not abandon his grief, and who never meals for 7 days. When the Lord Buddha knew that going to his house to give him the sermon with the verses, it can be summarized into 3 groups; (1) verse on death, (2) verse on grief, and (3) Verse on Eliminating grief.

The method for overcoming grief is mentioned in the Salla-Sutta, where the Lord Buddha teaches how to let go of grief by likening it to removing an arrow of defilement from the mind. This practice leads the ordinary person to become a Noble Person. The analysis is divided into 2 issues: 1) the loss of a beloved person and acceptance of losing a beloved person by considering the recollection to be frequently practiced which consists of 5 things; (1) it is our nature to grow old and we cannot bypass the condition of old age, (2) it is our nature to feel pain and we cannot bypass the condition of painful feeling, (3) it is our nature to die and we cannot bypass the condition of death, (4) we are bound to be parted from all things which we love and all things which make us happy and contented, and (5) We have Kamma as our own possession, if we do good we will receive good, if we do evil we will receive evil. In conclusion, the layman in the Salla-Sutta is an ordinary one, because he hasn’t considered nature to die, he still mourning and grieving for his son. Death does not belong to us but belongs to all living beings who came by birth, and finally dead. After listening to the verses of the Lord Buddha, he can be relieved of grief and accept losing the beloved person. It can be seen that “it is our nature to die and we cannot bypass the condition of death”. And 2) the analysis of eliminating grief by considering the 3 principles: (1) Eliminating grief by Yonisomanasikāra: critical thinking, (2) Eliminating grief by the Three Characteristics, and (3) Eliminating grief by the Four Noble Truths. When a householder practiced and abandoned his grief by removing an arrow of grief and defilement from the mind.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ