-
ชื่อเรื่องภาษาไทยบทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในอรรถกถาธรรมบท
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Role of Lord Indra in Buddhism as Reflected in the Commentary of the Dhammapada
- ผู้วิจัยพระมหาสมบูรณ์ ธมฺมทินฺโน (สายวรรณ)
- ที่ปรึกษา 1พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.พูนชัย ปันธิยะ
- วันสำเร็จการศึกษา25/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50827
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 18
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้เรื่อง “บทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในอรรถกถาธรรมบท” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาประวัติของพระอินทร์ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาบทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในอรรถกถาธรรมบท และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระอินทร์ต่อพระพุทธศาสนาที่ปรากฎในอรรถกถาธรรมบท และวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิเคราะห์เอกสาร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้ข้อมูลในอรรถกถา ธรรมบท 8 ภาค ผลการวิจัยพบว่า
พระอินทร์หรือท้าวสักกะเดิมเป็นมาณพ ชื่อว่า มฆะ เป็นผู้มีจิตอาสาสร้างสาธารณะประโยชน์ ด้วยความเสียสละ ต่อมามีผู้เห็นว่าสิ่งที่มฆมาณพทำมีประโยชน์ จึงขอเข้าร่วมกลุ่มรวมกัน 33 คน เริ่มสร้างที่สาธารณะประโยชน์ที่ใหญ่ขึ้นคือ คือถนน เป็นระยะหลายโยชน์ มีผู้ไม่หวังดี แจ้งความแก่พระราชาว่า มฆมาณพกับสหายเป็นกบฏ พระราชามิทันพิจารณารับสั่งให้ประหาร โดยให้ช้างเหยียบ มฆมาณพแผ่เมตตาให้ช้างพระราชาและผู้ที่ให้ร้าย ด้วยอานิสงส์เมตตานี้ ช้างไม่ยอมเหยียบ พระราชาทรงแปลกใจ พอทราบความจริง พระราชาจึงประทานช้าง พร้อมกับผู้ที่ให้ร้ายเป็นทาสของมฆมาณพกับสหาย ต่อมาได้สร้างศาลาที่พักสำหรับคนเดินทางไกล โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ถนนหนทาง ขุดสระโบกขรณี สมาทานประพฤติธรรมคือ วัตตบท ๗ ประการ อย่างบริบูรณ์ สิ้นบุญจากชาตินั้น จึงได้มาเป็นพระอินทร์ราชาแห่งเทพสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามาก พระองค์ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็นโสดาบัน อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าพระสงฆ์สาวก ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระองค์จะร้อนเป็นสิ่งบอกเหตุว่า มีผู้เดือดร้อนที่พระองค์ต้องไปช่วยเหลือ พระอินทร์ปกครองแก้ไขปัญหาให้กับพวกเทวดาที่ได้รับความเดือนร้อน เป็นเทพที่มีจิตอาสาทำคุณงามความดี และเป็นเทพผู้พิทักษ์พระพุทธศาสนาด้วยดีตลอดมา
บทบาทพระอินทร์ในอรรถกถาธรรมบททั้ง 8 ภาค ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยพบบทบาทพระอินทร์ 6 บทบาท คือ 1) บทบาทในฐานะผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ 2) บทบาทในฐานะผู้อุปถัมภ์ช่วยเหลือผู้ประพฤติธรรมบำเพ็ญบุญ 3)บทบาทในฐานะผู้มีจิตอาสา 4) บทบาทในฐานะผู้ใฝ่ธรรม 5) บทบาทในฐานะผู้แสวงหาทางพ้นทุกข์ 6) บทบาทผู้ในฐานะปกป้องพระพุทธศาสนา
จากบทบาทเหล่านี้ของพระอินทร์ ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์เห็นว่า พระอินทร์มุ่งทำคุณงามความดี ด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ทำคุณประโยชน์ รวมจากทุกบทบาทแล้ว พระอินทร์ทำประโยชน์ 2 อย่าง คือ 1. ประโยชน์ส่วนรวม 2. ประโยชน์ส่วนตัว ด้วยประโยชน์ทั้ง 2 นี้ พระอินทร์จึงเป็นเทพที่มีอิทธิพลมาทุกสุด ในฐานะเป็นเทพที่มีผู้เอาแบบอย่าง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis titled "The Role of Lord Indra in Buddhism as Reflected in the Commentary of the Dhammapada" is of three objectives: 1) to examine the history of Lord Indra in Buddhism, 2) to investigate the role of Lord Indra towards Buddhism as presented in Dhammapada Commentaries, and 3) to analyze the role of Indra towards Buddhism as depicted in Dhammapada Commentaries. This qualitative research focuses on document analysis, utilizing data from the eight sections of the Atthakatha Dhammapada.
The research findings reveal that Indra, also known as Sakka, was originally a young man named Magha who volunteered to create public benefits with great sacrifice. Inspired by his deeds, a group of 33 people joined him to build a larger public area, such as a road spanning several yojanas. However, there were those who did not wish him well and informed the king that Magha and his companions were rebels. Without proper consideration, the king ordered their execution by trampling them with an elephant. Magha extended his compassion to the king's elephant and his accusers, which resulted in the elephant refusing to step on them. The king, surprised by this, learned the truth and rewarded Magha with an elephant and those who slandered him as his slaves. Magha and his companions then built amenities for the public, such as a pavilion, hospital, public parks, roads, and a boating pond, while practicing the Dhamma. As a result of his merit, Magha was reborn as Indra, the king of the heavenly gods in the Tavatimsa realm. He became a deity closely related to Buddhism, listened to the Buddha's teachings, and attained Sotapanna (Stream Enterer). Indra assisted those in distress, and the heating of his throne indicated people in need of help. He solved the problems of troubled deities and always acted as a guardian deity of Buddhism.
In the Dhammapada Commentary, Indra's roles were identified in all eight sections analyzed in this research. The six roles of Indra are: 1. Attendant of the Buddha and monks 2. Patron and helper of those practicing Dhamma,3. Volunteer, 4. Pursuer of Dhamma, 5. Seeker of a way out of suffering and 6. Protector of Buddhism.
From these roles, the researcher analyzed and concluded that Indra's aim is to do good deeds selflessly. His actions benefit both the public and himself. Therefore, Lord Indra stands as a highly influential deity and a model of virtue for others to follow.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|