-
ชื่อเรื่องภาษาไทยการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Propagation of Buddhism Through Social Media of Buddhist Monks in Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยSONETHAVY THOUMPASEUTH
- ที่ปรึกษา 1พระครูประวิตรวรานุยุต, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์, ดร.
- วันสำเร็จการศึกษา25/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)
- ระดับปริญญาปริญญาโท
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50828
- ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 23
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักการ และวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ (3) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า
หลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล ได้แก่ แบบแสดงธรรม แบบสนทนา แบบตอบปัญหาและแบบวางกฎข้อบังคับ พุทธวิธีการสอนมีเทคนิควิธีการที่หลากหลายเหมาะสมแก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงทำให้พระพุทธศาสนามั่นคงยั่งยืนมาถึงปัจจุบัน
บริบทและสภาพปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า องค์กรสงฆ์ คณะสงฆ์ และพระสงฆ์ภายในจังหวัดเชียงใหม่ มีการเผยแผ่หลักธรรม ประชาสัมพันธ์กิจกรรม และเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ Facebook อย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยส่งเสริมการเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น แต่ถึงกระนั้น กระนั้น หลักธรรมและกิจกรรมของพระพุทธศาสนาจำนวนหนึ่งก็ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ เพราะพระสงฆ์ยึดติดกับรูปแบบการเผยแผ่เดิม ๆ บางกลุ่มคนยังที่ไม่เข้าใจคำศัพท์ทางพุทธศาสนา และการนำเสนอธรรมะไม่ตรงกับความสนใจต่อกลุ่มเป้าหมาย
การวิเคราะห์หาแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อออนไลน์ของพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า (1) พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่ ควรมีภูมิธรรมในหลักพระพุทธศาสนาแม่นยำ รู้ถึงพุทธวิธีการนำเสนออธิบายให้เห็นชัดเจน (2) หลักธรรมที่นำไปเผยแผ่ ควรทำให้สามารถนำเอาไปปฏิบัติได้จริงในชีวิต และเหมาะกับจริตหรือความต้องการของบุคคลนั้น (3) รูปของแบบการเผยแผ่ ควรมีการปรับใช้กลวิธีการนำเสนอธรรมะให้เข้ากับสื่อออนไลน์ในแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ และ (4) ผู้เรียนหรือผู้ฟังธรรม ควรเข้าใจในหลักธรรมและเชื่ออย่างมีเหตุมีผล ไม่งมงาย เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The thesis titled “The Propagation of Buddhism through Social Media by Buddhist Monks in Chiang Mai Province” is of three objectives: (1) to examine the concept and methods of propagating Buddhism, (2) to explore the context and challenges of propagating Buddhism through social media by Buddhist monks in Chiang Mai Province, and (3) to analyze the methods of propagating Buddhism through social media by Buddhist monks in Chiang Mai Province.
This research employs a qualitative methodology, with data collected from relevant documents and in-depth interviews using question-based techniques. Purposive sampling was used to identify 15 interviewees. The data were analyzed using content analysis, and the results were utilized to develop methods for the propagation of Buddhism through social media by Buddhist monks in Chiang Mai Province.
From the research, it was found that the concepts and methods of propagating Buddhism during the Buddha's time included sermons, discussions, question-answer sessions, and the establishment of rules and regulations. Buddhist teaching methods were diverse and adapted to suit all target groups, which contributed to the stability and sustainability of Buddhism to the present day.
The context and problems of propagating Buddhism through online media by Buddhist monks in Chiang Mai Province were examined. It was found that monastic organizations, groups, and individual monks in Chiang Mai Province engage in the propagation of Dhamma principles and public relations activities, widely disseminating Buddhist teachings through online platforms like Facebook. This has facilitated easier access to Buddhism. However, several Buddhist principles and activities remain inaccessible to the masses due to the adherence to traditional propagation methods by some monks. Additionally, some people do not understand Buddhist terminology, and the presentation of Dhamma often does not align with the interests of the target audience.
The analysis of methods for propagating Buddhism through online media by monks in Chiang Mai Province revealed several key guidelines: 1. Monks responsible for propagation should have a clear understanding of Dhamma principles based on Buddhist teachings and should be proficient in presenting and explaining these principles clearly. 2. The Dhamma principles to be propagated should be practical and applicable to real-life situations, and they should be suitable for the temperament and needs of the individuals. 3. The form of propagation should involve adaptive strategies for presenting Dhamma that are compatible with various online media platforms. 4. Learners or Dhamma listeners should understand the principles of Dhamma and believe in them reasonably, without falling into superstition, to gain practical benefits in their daily lives.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|