โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดสารอดภายใต้กรอบบวร
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษThe Cultural Tourism of Wat Sarod under Bowon Framework
  • ผู้วิจัยนางสาวธัญญาภรณ์ โตชำนาญวิทย์
  • ที่ปรึกษา 1พระเมธีวัชรบัณฑิต, ศ. ดร.
  • ที่ปรึกษา 2พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร.
  • วันสำเร็จการศึกษา21/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
  • ระดับปริญญาปริญญาเอก
  • สาขาวิชาสันติศึกษา
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50836
  • ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 25

บทคัดย่อภาษาไทย

             ดุษฎีนิพนธ์นี้ดำเนินการในรูปแบบอริยสัจจ์โมเดล ภายใต้กรอบการวิจัยตามบันได 9 ขั้น (Action Research) เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบท สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดสารอดภายใต้กรอบบวร  เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดสารอดภายใต้กรอบบวร และเพื่อพัฒนา นำเสนอการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดสารอดภายใต้กรอบบวร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ จัดสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 คน รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการท่องเที่ยวของวัดสารอดในปัจจุบันทางวัดได้จัดการท่องเที่ยวของวัดสารอดโดยความร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชนมีจุดแข็งที่สำคัญคือความร่วมมือกันระหว่างบวร “บ้าน วัด ราชการ” ส่วนสภาพปัญหาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดสารอดมีการบริหารจัดการยังไม่เป็นระบบ ขาดจุดบริการ อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว สำหรับต้องการจำเป็นชุมชนวัดสารอดต้องการให้วัดสารอดเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพราะวัดสารอดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในเขตราษฎร์บูรณะ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถกำหนดแผนการพัฒนาเกี่ยวกับการศึกษาเรียนรู้โดยการให้มีเป้าประสงค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับการเรียนรู้ เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนและการทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม มุ่งรักษาความสงบเรียบร้อยและสร้างสังคมสันติสุข

         2) พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายใต้กรอบบวร คือ หลักอริยสัจ 4 กล่าวคือ 1) ทุกข์ ค้นหาปัญหาที่แท้จริงเกี่ยวการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมว่ามีปัญหาอะไรบ้าง 2) สมุทัย ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงว่าปัญหาที่เกิดนั้นเกิดจากอะไร 3) นิโรธ กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อประโยชน์อะไร และ4) มรรค การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีแนวทางวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร

        3) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดสารอด เรียกว่า BAIPHO Model มีองค์ประกอบอยู่ 6 ประการ คือ 1) B = Boss ผู้นำ ผู้นำมีวิสัยทัศน์มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม2) A = Activity กิจกรรม จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 3) I = Information ข้อมูล จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวจุดต่าง ๆ ให้ชัดเจนสะดุดตาน่าสนใจ 4) P = Peace ความสุข มีมัคคุเทศก์น้อยนำเดินตามเส้นทางท่องเที่ยวสร้างความสุขและความประทับใจในการต้อนรับ 5) H = Highlight โดดเด่น การประชาสัมพันธ์เพื่อปลุกอัตลักษณ์ให้เกิดความโดดเด่นเป็นที่น่าจดจำ 6) O = Owner ความเป็นเจ้าของ ชาวชุมชนมีรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของการท่องเที่ยวและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวละการศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำได้องค์ความรู้ใหม่ เรียกว่า 4 ส ได้แก่ 1. สะอาด 2. สะดวก 3. สงบ 4. สว่าง

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

The study was based on Ariyasacca (the Four Noble Truths) model in accordance with the action research method under the 9-step research framework in order to obtain information that met the research objectives. The study consisted of three objectives: 1) to analyze context, problems, needs, as well as theories on the cultural tourism of Wat Sarod under Bowon framework. 2) to examine the Buddhist peace conducive to the cultural tourism of Wat Sarod under Bowon framework. and 3) to develop and present the cultural tourism of Wat Sarod under Bowon framework. The tools used were questionnaires, in-depth interviews, academic seminars, focus group discussions, non-participant and participant observation. The key informants included 50 persons. The qualitative data were collected and analyzed using content analysis.

From the study, the following results were found: 1) The current tourism context of Wat Sarod involves cooperation between people in the community. The problems in the development of tourism at Wat Sarod include the unsystematic management, lack of service points to provide facilitation to tourists. Wat Sarod is the center on the communties in Rat Burana District. Concepts and theories of participation in the development of tourism activities can help shaping educational development plans by setting goals for tourists to learn, improving people's quality of life, preserving religion, art and culture, maintaining peace and order, and creating a peaceful society.

2) Ariyasacca (the four noble truths) are Buddhist peaceful means that contribute to the development of tourism in temple within the Bowon framework, namely (1) Dukkha refers to the identification of the real problems of tourism development in temples; (2) Samudaya refers to the identification of the real causes of the problems; (3) Nirodha refers to the determination of clear goals and benefits of tourism development in temples; and (4) Magga refers to the guidelines or ways of tourism development in temples in order to achieve the goals.

                3) Tourism development in temple at Wat Sarod is called “Baipho Model” with the following 6 components: (1) “B” stands for Boss, who must have the vision to promote tourism inside the temple; (2) “A” stands for Activity, which must be Buddhism-based; (3) “I” stands for Information, where there are points that provide clear information about tourism which must be intriguing and attractive; (4) “P” stands for Peace, where there are guides who lead the tourism route in order to make the tourists happy and impress them with a warm welcome; (5) “H” stands for "highlight", which refers to publicity that is intended to emphasize identity and exceptionality so that it becomes memorable and creates a positive reputation; (6) “O” stands for ownership, in which community members feel ownership of tourism and engage in its management. The study yielded a new body of knowledge known as the "4C": cleanliness, convenience, calm, and clearness.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ