-
ชื่อเรื่องภาษาไทยพุทธบูรณาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับพระสงฆ์ ในจังหวัดเชียงใหม่
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษBuddhist Intergration to Oral Health Promotion for Sangha in Chiang Mai Province
- ผู้วิจัยนางเพ็ญพิชชา วนจันทรรักษ์
- ที่ปรึกษา 1พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์
- วันสำเร็จการศึกษา25/05/2024
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพระพุทธศาสนา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50841
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 0
- จำนวนผู้เข้าชม 36
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของพระสงฆ์ 2) เพื่อศึกษาการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับพระสงฆ์ตามหลักทันตกรรมและพระพุทธศาสนา 3) นำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เชิงเอกสารจากข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ เชิงปริมาณมีประชากรตัวอย่างพระสงฆ์นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ จำนวน 179 รูป สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถาม ค่าความสอดคล้องอยู่ที่ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.8 ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.7 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบสถิติไคสแควร์ เชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ พระสงฆ์และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 รูป/คน เครื่องมือได้แก่ การสนทนากลุ่ม แบบสอบถามปลายเปิด ตรวจสอบโดยที่ปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหลักการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
(1) สภาพปัญหาและอุปสรรคของการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากของพระสงฆ์ จากความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพของพระสงฆ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามหลักอายุสสธรรม
(2) การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับพระสงฆ์ตามหลักทันตกรรมและพระพุทธศาสนา ใช้หลักอายุสสธรรมในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพของพระสงฆ์ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามหลักทันตกรรมและหลักอายุสสธรรม พบว่า ด้านข้อมูลทั่วไป มีเพียงภาวะเสี่ยงเกิดโรคสุขภาพในช่องปาก ด้านปัจจัยนำ ทัศนคติในการดูแลสุขภาพช่องปาก และค่านิยมการบริโภคอาหาร ส่วนด้านปัจจัยเอื้อ ด้านปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามหลักทันตกรรมและหลักอายุสสธรรม และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามหลักทันตกรรมความสัมพันธ์กับหลักอายุสสธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับพระสงฆ์ พบว่า การประยุกต์ใช้หลักอายุสสธรรมสู่การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับพระสงฆ์ โดยองค์ความรู้ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นเครื่องมือจัดการและการตัดสินใจ 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลลัพธ์ และใช้หลักอายุสสธรรม คือ ธรรมที่ช่วยให้อายุยืน 5 ประการ ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The objectives of this research were 1) to analyze the problem and the obstacle of oral health promotion for Sangha, 2) to study oral health promotion for Sangha according to the principles of dentistry and Buddhism, 3) to propose Buddhist integration of oral health promotion for Sangha in Chiang Mai province. This study used mixed methods. The document was based on primary and secondary data. The quantitative research had the population including 179 Bachelors' degree monk students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Chiang Mai Campus by Taro Yamane’s the calculation formula. The tools used include a questionnaire with a validity value of an average 0.07 and a reliability value of an average 0.08. Analyzes were performed using the chi-square statistical test. The qualitative had important informants, including six monks and experts. The tools used include an interview group with an open-ended questionnaire that was verified by a consultant. Data were analyzed using content analysis principles
The results of the study found that
(1) The problem and the obstacle of the oral health promotion for Sangha, showed that the relationship between the general information and the monks' health information did not the oral health behavior of Sangha, according to the five principles of Àyussadhammas.
(2) The oral health behavior of Sangha, and principles of Buddhism were according to the five principles of Àyussadhammas. The relationship between the general information, the monks' health information, the leading factors, the conducive factors and reinforcing factors, the oral health behavior of Sangha, and according to the five principles of Àyussadhammas were as follows. The general information was only the risk of developing oral health diseases. The leading factors were the attitudes to oral health care and the food consumption values. The conducive factors and reinforcing factors were correlated with the oral health behavior of Sangha, according to the five principles of Àyussadhammas. Then, the oral health behavior of Sangha was correlated with the five principles of Àyussadhammas. The data was statistically significant at 0.05.
(3) The guidelines for applying Buddhist integration to oral health promotion for Sangha showed that the application of the five principles of Àyussadhammas was important to the oral health behavior of Sangha in CIPP Model. It was a management and decision-making tool in four aspects: context, input factor, process, and results.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ |
---|