โทรศัพท์: 035-248000 ต่อ 8176 | อีเมล: [email protected]

  • ชื่อเรื่องภาษาไทย
    การประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
  • ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษApplication of Buddhism Principles for Promoting Environmental Management of Mueang Kai Subdistrict Administrative Organizational, Mae Taeng District, Chiang Mai Province
  • ผู้วิจัยนางเสาวนีย์ ผางมาลี
  • ที่ปรึกษา 1ผศ. ดร.นพดณ ปัญญาวีรทัต
  • ที่ปรึกษา 2รศ. ดร.อภิรมย์ สีดาคำ
  • วันสำเร็จการศึกษา11/05/2024
  • ส่วนงานจัดการศึกษา:
  • ชื่อปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
  • ระดับปริญญาปริญญาโท
  • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/50849
  • ปรากฏในหมวดหมู่วิทยานิพนธ์
  • ดาวน์โหลด 0
  • จำนวนผู้เข้าชม 82

บทคัดย่อภาษาไทย

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับการประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3. เพื่อเสนอแนวทางการประยุกต์หลักพระพุทธศาสนากับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 311 คน สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

               ผลการวิจัยพบว่า     

           1. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในแต่ละด้านพบว่า ด้านการประเมินผลโครงการอยู่ระดับสูงสุด ด้านการกำหนดนโยบาย ด้านการวางแผนดำเนินงาน ด้านการกำหนดองค์กรรับผิดชอบ และด้านการบริหารโครงการ อยู่ในระดับมาก

         2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับการประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมบทบาทการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก ในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง  (r = 0.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านวิมังสา และด้านวิริยะ  ระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านฉันทะและด้านจิตตะ 

        3. แนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า หลักฉันทะ (ความพอใจ) ประชาชนสร้างความรู้ความเข้าใจในรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน เพื่อให้เข้าใจถึงแผนงานหรือโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองก๋าย หลักวิริยะ (ความเพียร) ภาครัฐและภาคประชาชนควรร่วมกันเสนอปัญหา คิดวิธีการแก้ไขปัญหา วางแนวทางการแก้ไขปัญหา และถ่ายทอดไปยังประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง หลักจิตตะ (ความเอาใจใส่) สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการลงมือปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มจากตนเอง หลักวิมังสา (ปัญญา) เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนนำไปสู่การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และนำไปปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน ต่อไป

บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

          This research has the objectives: 1. To study the level of environmental management of the Muang Kai Subdistrict Administrative Organization. 2. To study the relationship between the principles of Iddhipatthamma and the application of Buddhist principles to promote environmental management of the Subdistrict Administrative Organization. Mueang Kai Subdistrict, Mae Taeng District, Chiang Mai Province 3. To propose guidelines for applying Buddhist principles to environmental management of the Mueang Kai Subdistrict Administrative Organization. The research is a combined method research. Between quantitative research methods using a sample group of 311 people, statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation. and use statistics to test hypotheses by finding coefficients Pearson correlation and qualitative research methods The key informants were 10 persons or tools used to collect data were interviews. Interview data were analyzed using content analysis techniques.

             The results of the research found that:

           1. Environmental management of the Mueang Kai Subdistrict Administrative Organization found that people's opinions regarding overall environmental management were at a high level. In each area, project evaluations were found to be at the highest level. policy setting operational planning Defining responsible organization and high level project management.

       2. The relationship between the principles of Iddhipatthamma and the application of Buddhist principles to promote the role of environmental management of the Mueang Kai Subdistrict Administrative Organization, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, found that overall there is a positive relationship. In the same direction was at a high level (r = 0.75) with statistical significance at the 0.01 level. When classified into each aspect, it was found that there was a high level of positive relationship. There are positive relationships at a high level in two areas: vimansa and viriya, and at a moderate level in two areas: chanda and citta.

           3. Guidelines for applying Buddhist principles to promote environmental management of of the Mueang Kai Subdistrict Administrative Organization, Mae Taeng District, Chiang Mai Province, found that the principle of Chantha (satisfaction) of the people creates knowledge and understanding in preserving the environment for the people. In order to understand the environmental management plan or project at the Mueang Kai Subdistrict Administrative Organization, the principle of viriya (perseverance) of the government and public sectors should jointly propose problems. Think of ways to solve problems. Set guidelines for solving problems and correctly transmit to the people in the community. Chitta principle (caring) creates common consciousness in taking action to preserve the environment, starting with oneself. Vimansa principle (panya) results in learning together to find ways to Community environmental conservation leads to good environmental management. and can be implemented in a sustainable manner.

รายการไฟล์

ชื่อ ไฟล์ ขนาด ประเภทไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่ทำรายการ